· ตลาดหุ้นยุโรปฟื้นตัวขึ้น หลังอีซีบีไม่ได้กล่าวย้ำถึงโอกาสที่จะทำการปรับลดดอกเบี้ย และสวนทางกับที่กลุ่มนักลงทุนคาดหวังจะเห็นอีซีบีใช้นโยบายผ่อนคลายที่มากขึ้น รวมทั้งอาจปล่อยเงินกู้ให้ธนาคารด้วยอัตรา 0.1% สูงกว่าระดับเงินฝากที่อยู่ระดับ -0.4% สำหรับเป้าหมายระยะยาวครั้งใหม่สำหรับโครงการ TLTRO ขณะที่เหล่านักลงทุนให้ความสนใจไปยังการประกาศตัวเลขข้อมูลภาคแรงงานสหรัฐฯและการเจรจาทางการค้าระหว่างสหรัฐฯกับเม็กซิโก โดยดัชนีStoxx600 เพิ่มขึ้น 0.6%
· ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อย ท่ามกลางกระแสคาดการณ์ที่ว่าธนาคารกลางทั่วโลกจะเริ่มดำเนินนโยบายเชิงผ่อนคลายในเร็วๆนี้ ท่ามกลางความตึงเครียดและความหวาดกลัวต่อเศรษฐกิจโลก
สำหรับวันนี้ตลาดหุ้นจีนและฮ่องกงปิดทำการเนื่องในเทศกาลไหว้บ๊ะจ่าง
ตลาดการเงินประเมินว่ามีโอกาส 67% ที่เฟดจะทำการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในการประชุมวันที่ 31 ก.ค. ขณะที่มีโอกาส 60% ที่ธนาคารกลางนิวซีแลนด์และออสเตรเลียจะผ่อนคลายนโยบายในเดือนหน้า
ทั้งนี้ เหล่านักลงทุนให้ความสนใจไปยังข้อมูลภาคแรงงานสหรัฐฯที่จะประกาศในคืนนี้ โดยตลาดคาดว่าการจ้างงานนอกภาคเกษตรประจำเดือนพ.ค.จะปรับลดลงที่ระดับ 185,000 ตำแหน่ง และอัตราการว่างงานยังคงอยู่ที่ระดับ 3.6% แม้ว่าจะมีข้อสงสัยมากมายหลังจากข้อมูลการจ้างงานภาคเอกชนออกมาน่าผิดหวังเปิดเผยในวันพุธที่ผ่านมา
· ตลาดหุ้นญี่ปุ่นปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากสหรัฐฯรายงานว่ากำลังพิจารณาเลื่อนเวลาการปรับขึ้นภาษีสินค้านำเข้าจากเม็กซิโกออกไปก่อน ทำให้ผ่อนคลายความกังวลเกี่ยวกับการค้าโลกที่อ่อนแอลง
โดยดัชนี Nikkei เพิ่มขึ้น 0.5% ที่ระดับ 20,884.71 จุด สำหรับภาพรวมรายสัปดาห์เพิ่มขึ้น 1.4%
ทั้งนี้ ความเชื่อมั่นของเหล่านักลงทุนดีขึ้นเล็กน้อย หลังจากที่เม็กซิโกและสหรัฐฯเจรจาทางการค้ากันเป็นวันที่ 2 ท่ามกลางรายงานที่กว่านายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯอาจจะเลื่อนการปรับภาษีขึ้นสินค้า
ขณะที่มีการซื้อขายที่เบาบางเนื่องจากเหล่านักลงทุนยังคงชะลอการลงทุน ก่อนหน้าการประกาศข้อมูลภคแรงงานสหรัฐฯที่จะเปิดเผยในคืนนี้ น่าจะไม่ส่งผลมากนักต่อกระแสคาดการณ์การปรับจะลดอัตราดอกเบี้ยของเฟดในปีนี้
อ้างอิงจากสำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย
- ม.หอการค้าไทย เผยดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค พ.ค.62 ทุกรายการปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 และอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 19 เดือนนับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2560 เป็นต้นมา เนื่องจากผู้บริโภคมีความกังวลเกี่ยวกับเสถียรภาพทางการเมืองในอนาคต นอกจากนี้ผู้บริโภคยังมีความกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจไทยที่ยังฟื้นตัวช้าและกำลังซื้อของประชาชนยังไม่ฟื้นตัวขึ้นมากนัก ประกอบกับสถานการณ์ ไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลกเนื่องจากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนที่มีความรุนแรงมากขึ้น
- นายวิวัฒน์ เตชะพูลผล รองกรรมการผู้จัดการและหัวหน้าฝ่ายวิเคราะห์ทางเทคนิค บล.ทิสโก้ ประเมินว่าดัชนีหุ้นไทยในเดือนมิถุนายนในช่วงต้นเดือนจะแกว่งตัวในกรอบ 1,620 - 1,630 จุด จากนั้นจะค่อยๆ ปรับตัวขึ้นไปซื้อขายอยู่ในกรอบ 1,680 - 1,690 จุด โดยมีปัจจัยบวกจากการจัดตั้งรัฐบาลที่มีความชัดเจนมากขึ้น อีกทั้งประเมินว่าภายหลังการจัดตั้งรัฐบาลจะเห็นการเร่งอัดฉีดเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจผ่านโครงการต่างๆ อย่างรวดเร็ว เพื่อสร้างความมั่นใจ หลังหลายฝ่ายมองว่ารัฐบาลชุดนี้ไม่มีเสถียรภาพและอาจอยู่ในวาระได้ไม่นาน