· ตลาดหุ้นสหรัฐฯปิดปรับขึ้นในคืนวันศุกร์ และทำให้ภาพรวมรายสัปดาห์เป็นสัปดาห์ที่แข็งแกร่ง จากข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯที่อ่อนแอกับโอกาสที่จะเห็นเฟดใช้นโยบายผ่อนคลายมากขึ้นเพื่อช่วยพยุงการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
ดัชนีดาวโจนส์ปิดปรับขึ้น 263.28 จุด ที่ระดับ 25,983.94 จุด อันได้รับอานิสงส์จากการปิดบวกของหุ้นบริษัทไมโครซอฟต์และแอปเปิ้ล ด้านดัชนี S&P500 ปิด +1% ที่ 2,873.34 จุด จากหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีที่ฟื้นตัวต่อ และดัชนี Nasdaq Composite ปิด +1.7% ที่ 7,742.1 เหรียญ
ข้อมูลการจ้างงานสหรัฐฯที่ออกมาแย่ลงแตะระดับ 75,000 ตำแหน่ง ถือเป็นเดือนที่ 2 ในรอบ 4 เดือนที่การจ้างงานขยายตัวต่ำกว่า 100,000 ตำแหน่ง ซึ่งน้อยกว่าที่ผลสำรวจนักเศรษฐศาสตร์จาก Dow Jones คาดหวังว่าจะเห็นการจ้างงานแถว 180,000 ตำแหน่ง ในขณะที่ข้อมูลค่าจ้างก็ดูชะลอตัวลงตาม และนั่นนำมาซึ่งผลสำรวจล่าสุดของเครื่องมือ FedWatch ของ CME Group ที่สะท้อนว่ามีโอกาส 27.5% จาก 16.7% ที่จะเห็นเฟดลดดอกเบี้ยในการประชุมเดือนนี้ ขณะที่ 79% มองโอกาสการลดดอกเบี้ยของเฟดไว้ในการประชุมเดือนก.ค.
· รายงานจาก CNBC ระบุว่า ดัชนีดาวโจนส์มีโอกาสเปิดตลาดปรับพุ่งไปกว่า 100 เหรียญ จากการที่สหรัฐฯตัดสินใจจะไม่ทำการขึ้นภาษีสินค้านำเข้าเม็กซิโก โดยเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ประกาศว่า จะยังไม่ขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าเม็กซิโกอีก 5% หลังเม็กซิโกสามารถบรรลุข้อตกลงในการดำเนินการเรื่องกลุ่มผู้อพยพเป็นที่เรียบร้อย
· หุ้นยุโรปปิดปรับขึ้นในคืนวันศุกร์จากข้อมูลเศรษฐกิจที่น่าผิดหวังของสหรัฐฯที่หนุนกระแสคาดการณ์เกี่ยวกับโอกาสการลดดอกเบี้ยของเฟด โดยดัชนี Stoxx 600 ปิดปรับขึ้นประมาณ 0.9% ท่ามกลางหุ้นภูมิภาคอื่นๆที่ปิดไปเกือบ 2%และมีการเคลื่อนไหวแดนบวก
สำหรับตลาดหุ้นยุโรปหลักๆในวันนี้จะปิดทำการเนื่องในวันจันทร์ศักดิ์สิทธิ์ (Whit Monday)
· หุ้นเอเชียเปิดปรับขึ้นหลังจากที่นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯประกาศไม่ขึ้นภาษีสินค้านำเข้าเม็กซิโกที่จะมีผลในวันนี้ โดยดัชนีนิกเกอิเปิดปรับขึ้นมาแถว 21,215 จุด จากระดับปิด 20,884.71 จุด ขณะที่ตลาดออสเตรเลียปิดทำการในวันนี้เนื่องในวันหยุดประจำชาติ (Whit Monday)
· อ้างอิงจากสำนักข่าวอินโฟเควสท์
- นักบริหารการเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวค่าเงินบาทสัปดาห์นี้ไว้ที่ระหว่าง 31.20 - 31.45 บาท/ดอลลาร์
- สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ในปี 2562 สนค. ได้ยกเครื่องพัฒนากระบวนการจัดทำดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างใหม่ เพื่อให้ครอบคลุมพื้นที่และสะท้อนภาวะเศรษฐกิจได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น