· ค่าเงินเปโซของเม็กซิโกปรับแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับค่าเงินดอลลาร์หลังจากที่สหรัฐฯและเม็กซิโกสามารถบรรลุข้อตกลงกลุ่มผู้อพยพร่วมกันได้ในการหลีกเลี่ยงการเผชิญการขึ้นภาษีครั้งล่าสุด และนั่นช่วยลดความอ่อนไหวของตลาดลงไปบางส่วน และนับตั้งแต่ปีที่ผ่านมา ข้อขัดแย้งทางการค้าของสหรัฐฯและจีนที่มีมาอย่างยาวนานก็ดูจะเป็นปัจจัยที่เข้ากดดันการเติบโตทางเศรษฐกิจโลก รวมทั้งตลาดการเงินด้วย
· ค่าเงินเปโซแข็งค่าขึ้น 2% แตะ 19.2275 ดอลลาร์/เปโซ โดยกลับมาแข็งค่าเป็นครั้งแรกหลังจากที่เม็กซิโกบรรลุข้อตกลงกับทางสหรัฐฯได้ ในเรื่องการยกระดับการป้องกันกลุ่มผู้อพยพเข้าสู่สหรัฐฯ
· ค่าเงินเยนปรับอ่อนค่าลง 0.25% มาที่ 108.475 เยน/ดอลลาร์ ด้านดัชนีดอลลาร์ปรับแข็งค่าขึ้น 0.2% ที่ระดับ 96.750 จุด หลังจากที่สัปดาห์ที่แล้วอ่อนค่าไป 1.2% ซึ่งเป็นระดับอ่อนค่ามากที่สุดตั้งแต่ 16 ก.พ. ปี 2018
· ค่าเงินหยวนปรับอ่อนค่าลง 0.3% ที่ี 6.9336 หยวน/ดอลลาร์ หลังจากไปทำระดับอ่อนค่ามากที่สุดตั้งแต่ช่วงปลายเดือนพ.ย. ท่ามกลางข้อมูลยอดนำเข้าที่ออกมาอ่อนแอ
· ค่าเงินยูโรอ่อนตัวลง 0.2% แถว 1.1313 ดอลลาร์/ยูโร จากระดับสูงสุดรอบ 11 สัปดาห์ที่ระดับ 1.1348ดอลลาร์/ยูโร ซึ่งเป็นระดับแข็งค่าที่สุดเมื่อศุกร์ที่ผ่านมา
· บรรดาผู้นำการเงิน G20 กล่าวว่า ความตึงเครียดทางการค้าและสภาวะทางการเมืองดูจะมีความรุนแรงมากขึ้น และดุจะเพิ่มความเสี่ยงให้แก่เศรษฐกิจโลก แต่พวกเขาจะพยายามเรียกร้องทางแก้ไขจากปัญหาขัดแย้งทางการค้าที่ดิ่งลึกของทางสหรัฐฯและจีน
· นายสตีเวน มนูชิน รัฐมนตรีกระทรวงการคลังของสหรัฐฯ กล่าวว่า ยังไม่มีสัญญาณว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯเข้าสู่ภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจ โดยเศรษฐกิจสหรัฐฯยังเติบโตได้ค่อนข้างสดใส แม้ว่าข้อมูลจ้างงานล่าสุดที่ออกมาไม่ค่อยดีนัก แต่เราก็ไม่ได้มุ่งเป้าไปที่ข้อมูลดังกล่าวเพราะอาจเป็นความผันผวนของข้อมูล และเขายังคงเล็งเห็นว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯมีการเติบโตที่ค่อนข้างแข็งแกร่งด้วยซ้ำ
· รายงานอย่างเป็นทางการจากรัฐบาลจีน พบว่า ยอดเกินดุลการค้าของประเทศขยายตัวสู่ระดับ 4.165 หมื่นล้านเหรียญในเดือน พ.ค. มากกว่าที่คาดการณ์ไว้ที่ 2.05 หมื่นล้านเหรียญ ท่ามกลางภาวะสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ-จีนที่ยังดำเนินต่อไป
สาเหตุที่ยอดเกินดุลเพิ่มขึ้นอย่างมากในเดือนที่ผ่านมา เกิดจากยอดส่งออกที่ปรับสูงขึ้น ขณะที่ยอดนำเข้าปรับลดลง ในเดือน พ.ค. โดยยอดส่งออกเพิ่มขึ้นในเดือนดังกล่าว 1.1% ในภาพรวมรายปี ขณะที่ยอดนำเข้าลดลง 8.5% ในช่วงเดือนเดียวกัน
ถ้อยแถลงของนายสตีเว่น มนูชิน รัฐมนตรีกระทรวงการคลังสหรัฐฯ ได้ระบุว่า นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ จะมีการออกนโยบายขึ้นภาษีจีนเพิ่มเติมอาจตามมา และนายทรัมป์ก็มี “ความยินดี” อย่างยิ่งที่จะขึ้นภาษีจีน หากการพบกันระหว่างเขาและนายสี จิ้นผิง ประธานธิบดีจีน ภายในช่วงปลายเดือนนี้ ไม่เป็นไปด้วยดี
นักวิเคราะห์ส่วนมากเชื่อว่า เศรษฐกิจจีนจะเผชิญแรงกดดันที่สาหัสยิ่งกว่าปัจจุบัน หากสงครามการค้ายืดเยื้อ ซึ่งเริ่มเห็นสัญญาณดังกล่าวได้จากตัวเลขทางเศรษฐกิจที่บ่งชี้ถึงภาวะกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ชะลอตัว รวมถึง องค์กรระดับโลกอย่าง IMF รวมถึงบรรดาธนาคารแนวหน้าอย่าง Morgan Stanleyได้ปรับคาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจจีนเมื่อไม่นานมานี้
· ยอดส่งออกแร่หายากหรือ Rare Earth ของสหรัฐฯตกลงในเดือนพ.ค. ท่ามกลางจีนที่ข่มขู่จะยุติการส่งแร่ดังกล่าวให้แก่สหรัฐฯที่จำเป็นต้องใช้ในการผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์แก่กลุ่มผู้บริโภค โดยยอดส่งออกแร่หายากปรับลงมาที่ 3,639.5 เมตริกตัน จากระดับ 4,329 เมตริกตันในเดือนเม.ย. ขณะที่ภาพรวมยอดส่งออกของจีนในเดือนพ.ค.ปรับขึ้นไป 1.1% และยอดนำเข้าปรับลง 8.5% และมีภาพรวมยอดเกินดุลสูงที่ 4.165 หมื่นล้านเหรียญฯ
ทั้งนี้ จีนถือเป็นผู้นำด้านการผลิตแร่หายากที่ทั่วโลกนิยมนำไปใช้ได้กับการผลิตทุกสิ่งตั้งแต่รถยนต์ ลแะสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ตลอดจนการกลั่นน้ำมัน จวบจนถึงกระบวนการทำอาวุธ และระบบความมั่นคงของสรหัฐฯ ตั้งแต่เลเซอร์และเรดาร์ เป็นต้น
อย่างไรก็ดี ผลสำรวจจาก The United States Geological Survey ระบุว่า จีนสามารถผลิตแร่ดังกล่าวได้จำนวน 120,000 เมตริกตัน หรือคิดเป็น 70% ของแร่หายากทั้งหมดในปี 2018 เมื่อเท่ียบกับสหรัฐฯที่มีเหมืองแร่หายากและใช้ได้จำนวน 15,000 เมตริกันในเดียวกัน
ผู้เชี่ยวชาญหลายรายก็ยังมองว่า แร่หายากของจีนอาจเป็นตัวที่ทำให้เกมของสงครามการค้าเปลี่ยนไปได้ ขณะที่บางรายมองว่าการที่จีนจำกัดการส่งออกแร่หายากก็ดูจะส่งผลกระทบเชิงลบให้แก่ภาคอุตสาหกรรมของอเมริกาได้ตลอดจนกลุ่มยนตกรรม
· ในการพบกันสัปดาห์ที่แล้วของนายสี จิ้นผิง ประธานาธิบดีจีน และนายวลาดิเมียร์ ปูติน ประธานาธิบดีรัเสเซียดุูจะมีความสัมพันธ์ที่ดีและนายสี ระบุว่ารัสเซียคือมิตรที่ดี โดยตลอดช่วง 6 ปีที่ผ่านมาจากการพบกันเกือบ 30 ครั้ง รัสเซียก็ยังคงให้การต้อนรับอย่างดีเยี่ยม และนายปูตินถือเป็นเพื่อนที่ดีที่สุดและเพื่อนร่วมมงานที่ดีมากเช่นกัน ซึ่งดูเหมือนทั้ง 2 ประเทศมีความตั้งใจจะสานสัมพันธ์กันอย่างแข็งแกร่งท่ามกลางการเผชิญกับภาวะความตึงเครียดทางการเมืองเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้นจากสหรัฐฯ
· นายลุยจิ ดิ ไมโอ รองนายกรัฐมนตรีอิตาลี กล่าวว่า ทางอียูควรยอมให้อิตาลีสามารถปรับลดภาษีและสามารถลงทุนยกระดับคุณภาพความเป็นอยู่ของประชาชน (Green Economy) ได้
ขณะที่นายลุยจิ จะมีการประชุมร่วมกับรองนายกฯอิตาลีอีกคน และนายมัตเตโอ ซัลวินี หัวหน้าพรรค ภายในวันนี้ เกี่ยวกับภัยคุกคามจากอียูที่มีต่อระดับหนี้สาธารณะที่สูงกว่ากำหนดของอิตาลี ซึ่งนายลุยจิคาดว่า ทั้ง 3 คน จะสามารถหาข้อตกลงกันเกี่ยวกับ การกำหนดค่าแรงขั้นต่ำ การปรับลดภาษี และการจำกัดสิทธิ์ของนักการเมืองภายในการประชุมวันนี้ได้
· รัฐมนตรีกระทรวงการคลังและเศรษฐกิจของฝรั่งเศส ออกโรงเตือนว่า ความตึงเครียดทางการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีนนั้นอาจส่งผลโดยตรงและค่อนข้างเป็นผลเสียต่อภาพรวมทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุโรปและยูโรโซน และการที่ยุโรปสูญเสียภาพการขยายตัวในเวลานี้ก็มีผลมาจากสงครามการค้าของสรหัฐฯและจีนด้วย หรือพูดให้ชัดเจนว่า "Trade War อาจเป็นวิกฤตทางเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะในยุโรป" นั่นเอง
ขณะที่การทีสหรัฐฯขึ้นบัญชีดำหัวเว่ยเพื่อเป็นส่วสนหนึ่งในการเจรจากับทางจีน นายเลอ แมร์ รัฐมนตรีกระทรวงการคลังและเศรษฐกิจท่านี้ก็ยังคงมองว่ารัฐบาสหรัฐฯไม่ควรนำทั้งประเด็นการค้าและไม่ใช่ประเด็นการค้าผสมผสานกันในโต๊ะเจรจา และเราควรสร้างความชัดเจนของข้อแตกต่างระหว่างอำนาจอธิปไตย, ความสำคัญของเทคโนโลยีระหว่างกัน และการค้าระหว่างกันมากกว่า โดยสงครามการค้านั้นไม่ควรเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นร่วมกับด้านเทคโนโลยี เมื่อเราต้องการความยุติธรรมทางการค้า เราควรสร้างการค้าที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นเพื่อให้เศรษฐกิจเติบโตได้ในอนาคตและหลีกเลี่ยงการกระทบต่อประเทศอื่นๆจากการขึ้นภาษีนำเข้าเพื่อให้ก้าวสู่สงครามการค้า
ด้านนายมนูชิน รัฐมนตรีกระทรวงการคลังสหรัฐฯ กล่าวปกป้องผู้นำสหรัฐฯ เมื่อถูกถามถึงประเด็นการค้าที่นำสิ่งที่ไม่เกี่ยวข้องด้านการค้ามาเป็นอาวุธในการเจรจา โดยเขาระบุว่า ค่อนข้างเป็นสิ่งสำคัญที่เรามีทางเลือกทั้งหมดและเราต้องนำเครื่องมือเหล่านี้มาใช้ต่อรอง
· นายฟิลลิป แฮมมอนด์ รัฐมนตรีกระทรวงการคลังของอังกฤษ กล่าวว่า ความเป็นไปได้ที่อังกฤษจะออกจากอียูโดยปราศจากข้อตกลงค่อนข้างเป็นไปได้น้อย ท่ามกลางกลุ่มนักวิเคราะห์และนักลงทุนที่มองว่ามีความเป็นไปได้มากขึ้นที่จะเห็นอังกฤษออกจากอียูแบบ No-Deal หลังนางเทเรซ่า เมย์ นายกรัฐมนตรีอังกฤษประกาศลาออกจากตำแหน่งทางการเมืองและหัวหน้าพรรคเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา และนายกฯคนใหม่ต้องรอจนกว่าพรรคอนุรักษ์นิยมจะสามารถเลือกผู้นำพรรคคนใหม่ได้
· รัฐมนตรีกระทรวงการคลังของออสเตรเลีย แสดงความต้องการว่า ออสเตรเลียอยากให้สงครามการค้าระหวา่งสหรัฐฯ-จีนนั้น ทุกฝ่ายยอมถอยให้แก่กันท่ามกลางภาพรวมที่ดูจะยังไม่มีสัญญาณยุติแต่อย่างใด ซึ่งจีนถือเป็นหนึ่งในประเทศคู่ค้าของทางออสเตรเลีย ขณะท่ีสหรัฐฯเป็นหนึ่งในประเทศขนาดใหญ่ของกลุ่มนักลงทุน และเราต้องการให้ทุกฝ่ายผ่อนคลายความตึงเครียดที่เกิด และภาพรวมจะเห็นได้ว่า ความตึงเครียดทางการค้าที่เกิดขึ้นนั้นได้กดดันต่อแนวโน้มการขยายตัวทางเศรษฐกิจโลก
· รายงานจาก DailyFX ระบุว่า นายฮารุฮิโกะ คุโรดะ ผู้ว่าการบีโอเจ มีมุมมองว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นยังไม่จำเป็นที่จะต้องใช้นโยบายผ่อนคลายทางการเงินฉบับพิเศษ แต่บีโอเจก็ยังเปิดกว้างสำหรับการกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งใหญ่ และการกระตุ้นดังกล่าวจำเป็นต้องแข็งแกร่งพอหากดัชนีราคาอ่อนตัว ซึ่งทางบีโอเจจะพิจารณาหาแนวทางเพื่อลดผลกระทบจากการใช้นโยบายสนับสนุนฉบับพิเศษดังกล่าวหากจำเป็น
· ราคาน้ำมันปรับสูงขึ้น หลังมีข่าวว่าซาอุดิอาระเบียซึ่งเป็นผู้นำกลุ่มโอเปกและรัสเซียจะยังคงปริมาณการผลิตน้ำมันไว้ที่ระดับต่ำต่อไป รวมถึงแรงหนุนจากข่าวที่สหรัฐฯยกเลิกการขึ้นภาษีเม็กซิโก อย่างไรก็ตาม ความกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ยังเป็นปัจจัยที่จำกัดความเคลื่อนไหวของราคาน้ำมันและความเชื่อมั่นของตลาด
โดยราคาสัญญาน้ำมันดิบ Brent ปรับสูงขึ้น 0.5% บริเวณ 63.61 เหรียญ/บาร์เรล ขณะที่ราคาสัญญาน้ำมัน WTI ปรับสูงขึ้น 0.6% บริเวณ 54.32 เหรียญ/บาร์เรล
นักวิเคราะห์จากสถาบัน FXTM มีความคิดเห็นว่า ราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นได้ จากข่าวที่ว่าซาอุดิอาระเบียจะขยายระยะเวลาของการปรับลดกำลังการผลิตน้ำมันออกไปหลังช่วงครึ่งหลังของปี 2019