· ตลาดหุ้นยุโรปปรับตัวสูงขึ้น ท่ามกลางเหล่านักลงทุนที่รอคอยผลการประชุมบีโออี ขณะที่โพลล์สำรวจนักเศรษฐศาสตร์จาก Reuters คาดว่า จะคงดอกเบี้ยไว้ที่ระดับ 0.75% โดยดัชนี Stoxx600 เพิ่มขึ้น 0.7% ด้านหุ้นกลุ่มน้ำมันและแก๊สเพิ่มขึ้น 1.5% เนื่องจากหุ้นภูมิภาคเคลื่อนรไหวในแดนบวก
· ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวสูงขึ้น ขณะที่ค่าเงินดอลลาร์ปรับอ่อนค่าลงและภาพรวมผลตอบแทนอัตราพันธบัตรทั่วโลกก็ลดลง ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปี ร่วงลงต่ำว่า 2% หลังจากที่เฟดส่งสัญญาณถึงความเป็นไปได้ที่จะปรับลดดอกเบี้ยในปีนี้
โดยดัชนี MSCI ที่ไม่รวมหุ้นญี่ปุ่น เพิ่มขึ้น 0.92% ท่ามกลางสัญญาณเชิงบวกเกี่ยวกับการเจรจาทางการค้าระหว่างสหรัฐฯกับจีนที่ช่วยหนุนความเชื่อมั่นของแก่เหล่านักลงทุน
ขณะที่บีโอเจมีมติคงนโยบายผ่อนคลายทางการเงิน เพื่อรอดูการขยายตัวของเศรษฐกิจ แต่ก็มีการส่งสัญญาณว่าอาจจะดำเนินนโยบายแบบผ่อนคลายยิ่งขึ้นไปอีกหากจำเป็น
· ตลาดหุ้นญี่ปุ่นปิดปรับตัวสูงขึ้นทำระดับสูงสุดใหม่ในรอบ 6 สัปดาห์ หลังจากที่เฟดส่งสัญญาณที่จะปรับลดดอกเบี้ยในปีนี้ ขึ้นอยู่กับสภาวะของเศรษฐกิจเป็นหลัก อย่างไรก็ดี การเพิ่มขึ้นเป็นไปได้อย่างจำกัดเนื่องจากการแข็งค่าของค่าเงินเยน
โดยดัชนี Nikkei เพิ่มขึ้น 0.6% ที่ระดับ 21,462.86 จุด
· ตลาดหุ้นจีนปรับตัวสูงขึ้นปิดทำระดับสูงสุดในรอบ 8 สัปดาห์ เนื่องจากเหล่านักลงทุนได้รับแรงหนุนจากประเด็นการเจรจาทาวการค้าระหว่างสหรัฐฯกับจีน นวมทั้งการที่เฟดดำเนินนโยบายเชิงผ่อนคลาย พร้อมทั้งส่งสัญญาณความเป็นไปได้ที่จะปรับลดดอกเบี้ยในปีนี้
โดยดัชนี Shanghai Composite เพิ่มขึ้น 2.4% ที่ะรดับ 2,987.12 จุด
อ้างอิงจากสำนักข่าวอินโฟเควสท์
· นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยดัชนีความเชื่อมั่นหอการค้าไทย (TCC CONFIDENCE INDEX) เดือนพ.ค.62 จากการสำรวจความคิดเห็นของประธานหอการค้า และกรรมการหอการค้าของแต่ละจังหวัดทั่วประเทศ รวม 370 ตัวอย่าง ในระหว่างวันที่ 29 พ.ค.- 5 มิ.ย.62 พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นหอการค้าไทย เดือนพ.ค.62 อยู่ที่ระดับ 47.4 ปรับตัวลดลงจากเดือนเม.ย.62 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 47.8
· โดยปัจจัยลบที่ส่งผลต่อดัชนีความเชื่อมั่นของหอการค้าไทย ได้แก่ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยเศรษฐกิจไทยไตรมาส 1/2562 ขยายตัว 2.8% ลดลงจากไตรมาสก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ 3.6% จากการส่งออกลดลง และปัญหาสงครามการค้าระหว่างสหรัฐ-จีน, ความกังวลต่อการจัดตั้งรัฐบาล และสถานการณ์ทางการเมืองมีความไม่แน่นอน และขาดเสถียรภาพ, การส่งออกของไทยเดือนเม.ย.62 ลดลง 2.57% ที่มูลค่า 18,555 ล้านดอลลาร์, SET Index ในเดือนพ.ค.62 ปรับตัวลดลง 53.30 จุด, ความกังวลต่อปัญหาสงครามการค้าระหว่างสหรัฐกับจีนที่มีแนวโน้มรุนแรงขึ้น ซึ่งอาจส่งผลกระทบเชิงลบต่อเศรษฐกิจไทย, ความกังวลเกี่ยวกับค่าครองชีพและราคาสินค้า-บริการทรงตัวอยู่ในระดับสูง และรายได้ไม่สมดุลกับค่าครองชีพในปัจจุบัน
· ขณะที่ปัจจัยด้านบวก คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 1.75% เนื่องจากเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้, เงินบาทปรับตัวแข็งค่าขึ้นเล็กน้อย จากระดับ 31.860 บาท/ดอลลาร์ ณ สิ้นเดือนเม.ย.62 เป็น 31.796 บาท/ดอลลาร์ ณ สิ้นเดือนพ.ค.62 ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่ามีเงินทุนจากต่างประเทศไหลเข้ามา, ธุรกิจด้านการท่องเที่ยวมีแนวโน้มดีขึ้น จากการจัดงานเทศกาลวันหยุดต่างๆ, ปริมาณผลผลิตภาคเกษตรขยายตัวจากความต้องการของตลาดที่เพิ่มขึ้น อีกทั้งนโยบายภาครัฐในการสนับสนุนและส่งเสริมเกษตรกรในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร
อ้างอิงจากสำนักข่าวThaiPR.net
· บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น โดย นายภัคพงศ์ พัฒนมาศ รองผู้อำนวยการธุรกิจโมบายล์ และคณะกรรมการยุทธศาสตร์ 5G ผสานความร่วมมือกับ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อเดินหน้าศึกษาและร่วมพัฒนาเทคโนโลยี 5G โดยกลุ่มทรูจะสนับสนุนทั้งทางด้านเทคโนโลยี อุปกรณ์เครื่องมือ และความเชี่ยวชาญของบุคลากร รวมทั้งการสนับสนุนทุนวิจัยให้แก่นักวิจัยและนักศึกษา เพื่อช่วยขับเคลื่อนประเทศไทยเข้าสู่ยุคดิจิทัลเต็มรูปแบบ นอกจากนี้ ยังเตรียมหารือความร่วมมือกับ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เพื่อศึกษาและพัฒนาเทคโนโลยี 5G ร่วมกันอีกด้วย