· ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวลดลง เนื่องจากประเด็นความไม่แน่นอนสหรัฐฯ-อิหร่านและความกังวลเกี่ยวกับการเจรจาทางการค้าระหว่างสหรัฐฯกับจีน ขณะที่หุ้นสหรัฐฯเพิ่มขึ้นได้จากกระแสคาดการณ์ที่ว่าเฟดจะปรับลดดอกเบี้ยในการประชุมเดือนหน้า
โดยความกังวลต่อการเผชิญหน้าทางทหารในอ่าวตะวันออกกลางเกิดขึ้นหลังมีรายงานว่า โดรนสำรวจของกองทัพสหรัฐฯถูกขีปนาวุธที่ต้องสงสัยว่าเป็นของอิหร่าน ยิงตกลงในพื้นที่ใกล้ช่องแคบฮอร์มุซที่เกิดเหตุโจมตีเรือบรรทุกน้ำมันจำนวน 2 เมื่อสัปดาห์ก่อน
ขณะที่รายงานได้ระบุว่าทางกองทัพได้ยิงทำลายโดรนสำรวจของสหรัฐฯที่ต้องสงสัยว่าถูกส่งเข้ามาสอดแนมพื้นที่ทางตอนใต้ของจังหวัดฮอร์มุซกาน ขณะที่หนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทม์สรายงานว่า นายโดนัมด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ออกคำสั่งให้ใช้กำลังทหารโจมตีอิหร่าน แต่ในเวลาต่อมาไม่นานได้ยกเลิกคำสั่งนี้ โดยทางหนังสือพิมพ์ได้อ้างแหล่งข่าวเป็นเจ้าหน้าที่ระดับสูงในชุดรัฐบาลทรัมป์
ด้านเหล่านักลุงทุนคาดหวังว่าจะมีการประนีประนอมเกิดขึ้นเมื่อ นายโดนัลด์ ทรัมป์ และนายสี จิ้นผิง จะพบกันระหว่างการประชุม G20 ในญี่ปุ่นระหว่างวันที่ 28-29 มิ.ย.นี้
ทั้งนี้ ดัชนี MSCI ที่ไม่รวมหุ้นญี่ปุ่น ลดลง 0.15% สำหรับภาพรวมรายสัปดาห์ยังคงเพิ่มขึ้นเกือบ 4% ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 8 พ.ค.
· ตลาดหุ้นญี่ปุ่นปรับตัวลดลง เนื่องจากเหล่านักลงทุนที่รอคอยการเจรจาทางการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีน ขณะที่หุ้นน้ำมันและเหมืองแร่ได้รับความต้องการ ท่ามกลางความเสี่ยงทางการเมืองที่เพิ่มขึ้นในตะวันออกกลาง
โดยดัชนี Nikkei ลดลง 1% ที่ระดับ 21,258.64 จุด สำหรับภาพรวมรายสัปดาห์เพิ่มขึ้น 0.7% ติดต่อกันเป็นสัปดาห์ที่ 3 ซึ่งได้รับแรงหนุนจากความหวังที่ว่าเฟดอาจจะปรับลดดอกเบี้ยในการประชุมเดือนหน้า
· ตลาดหุ้นจีนปิดปรับตัวสูงขึ้น ด้านภาพรวมรายสัปดาห์เพิ่มขึ้น 4.2% มากที่สุดนับตั้งแต่ต้นเดือนเม.ย.ที่ผ่านมา เนื่องจากสหรัฐฯและจีนเตรียมที่จะมีการเจรจาทางการค้าครั้งใหม่และหน่วยงานกำกับดูแลที่เพิ่งเริ่มต้นการเข้าถึงเงินทุนได้ง่ายขึ้น
โดยดัชนี Shanghai Composite เพิ่มขึ้น 0.5% ที่ระดับ 3,001.98 จุด ซึ่งสามารถปิดเหนือระดับ 3,000 จุด ได้เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่วันที่ 30 เม.ย.
· ตลาดหุ้นยุโรปเปิดผสมผสาน ท่ามกลางความกังวลที่ทวีความรุนแรงขึ้นจากการเผชิญหน้าทางทหารในตะวันออกกลาง โดยดัชนี Stoxx600 ทรงตัว ขณะที่ตลาดภูมิภาคส่วนใหญ่เคลื่อนไหวในทิศทางที่แตกต่างกัน
ทั้งนี้ ตลาดให้ความสนใจไปยังประเด็นความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯและอิหร่าน หลังรายงานจากนิวยอร์กไทม์ส ระบุว่า นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ออกคำสั่งให้ใช้กำลังทหารโจมตีอิหร่าน แต่ในเวลาต่อมาไม่นานได้ยกเลิกคำสั่งนี้
· ตลาดหุ้นอนุพันธ์สหรัฐฯปรับอ่อนตัวลงท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับความตึงเครียดอิหร่าน โดยดัชนีดาวโจนส์ฟิวเจอร์ส ปรับตัวลงไป 67 จุด หลังจากที่ช่วงต้นตลาดปรับลงไปกว่า 58 จุด ขณะที่ S&P 500 และ Nasdaq เปิดปรับลง
· ตลาดกำลังให้ความสนใจไปยังความตึงเครียดทางการค้าระหว่างสหรัฐฯและอิหร่าน หลังมีรายงาน New York Times ระบุว่า ผู้นำสหรัฐฯมีการลงนามอนุมัติคำสั่งโจมตีอิหร่าน หลังอิหร่านยิงโดรนสหรัฐฯร่วงไป 2 ลำในวันก่อนหน้าที่เมืองออมุส
· อ้างอิงจากสำนักข่าวอินโฟเควสท์
- สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์ แถลงตัวเลขการค้าระหว่างประเทศของไทยในเดือนพ.ค. 62 โดยระบุว่า การส่งออกมีมูลค่า 21,017.9 ล้านเหรียญ หดตัว -5.79% จากตลาดคาด -5% ส่วนการนำเข้า มีมูลค่า 20,836.4 ล้านเหรียญหดตัว -0.64% ดุลการค้า พ.ค. เกินดุล 181.5 ล้านเหรียญ
ขณะที่ภาพรวมภาวะการค้าระหว่างประเทศของไทยในช่วง 5 เดือนปีนี้ (ม.ค.-พ.ค.) การส่งออกมีมูลค่า 101,561.3 ล้านเหรียญ หดตัว -2.70% ส่วนการนำเข้ามีมูลค่า 100,830.3 ล้านเหรียญ หดตัว -0.99% ดุลการค้าเกินดุล 731.0 ล้านเหรียญ
· สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย
- เงินบาทแข็งค่าสุดรอบ 6 ปี รับแนวโน้มดอกเบี้ยโลกขาลง นักวิเคราะห์มองกดดันกำไร กลุ่มชิ้นส่วนฯ เกษตรและอาหาร ตั้งแต่ 4-8% ขณะที่หุ้นพลังงาน-สายการบิน ได้อานิสงส์
- บล.เอเซียพลัส ระบุในบทวิเคราะห์ ว่าวัฎจักรดอกเบี้ยโลกที่เป็นขาลงชัดเจน เห็นได้จากตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมาธนาคารกลางต่างๆทั่วโลก ได้ส่งสัญญาณมีโอกาสลดดอกเบี้ยฯในปีนี้ชัดเจน อาทิ Fed ส่งสัญญาณลดดอกเบี้ยในปีนี้ราว 1-2 ครั้ง หรือ 0.25-0.5% ทำให้ดอกเบี้ยสหรัฐปลายปีจะอยู่ที่ราว 2-2.25% ตามมาด้วยธนาคารกลางยุโรป(ECB) ประธาน ECB ส่งสัญญาณจะกลับมาใช้นโยบายการเงินผ่อนคลายครั้งแรก อาทิ กลับมาเดินหน้า QE อีกครั้ง (หลังจากได้หยุดQE ไปในเดือน ธ.ค. 2561) และวานนี้ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ -0.1% และคงวงเงิน QQE ที่ระดับ 80 ล้านล้านเยนต่อปี