· ค่าเงินดอลลาร์ทรงตัวใกล้ระดับสูงสุดในรอบ 3 สัปดาห์ ท่ามกลางกระแสคาดการณ์เกี่ยวกับโอกาสเฟดลดดอกเบี้ยที่ลดลง ขณะที่นักลงทุนให้ความสนใจไปยังการกล่าวรายงานต่อสภาคองเกรสของประธานเฟด
· นายเจอโรม โพเวลล์ ประธานเฟด จะขึ้นการกล่าวถ้อยแถลงการดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจต่อสภาคองเกรสเป็นจำนวน 2 วันเพื่อจับตาดูท่าทีการปรับลดดอกเบี้ย โดยจะเริ่มขึ้นในคืนวันพุธนี้
ดัชนีดอลลาร์ทรงตัวแถว 97.374 จุด ใกล้ระดับสูงสุดในรอบ 3 สัปดาห์ที่ 97.443 จุด ซึ่งขึ้นไปได้เมื่อวันศุกร์ผ่านมา
ด้านค่าเงินดอลลาร์เมื่อเทียบกับเงินเยนทรงตัวแถว 108.75 เยน/ดอลลาร์ ใกล้ระดับสูงสุดในรอบ 6 สัปดาห์ที่ 108.81 เยน/ดอลลาร์ ซึ่งขึ้นไปได้เมื่อวานนี้
การประกาศข้อมูลการจ้างงานนอกภาคการเกษตรเดือน มิ.ย. ที่ออกมาสูงขึ้นผิดคาดเมื่อคืนวันศุกร์ ส่งผลให้กระแสคาดการณ์ว่าเฟดจะปรับลดดอกเบี้ยลง 0.50% ในการประชุมปลายเดือนนี้ลดน้อยลงไป
· ทั้งนี้ เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา เครื่องมือ FedWatch tool ของ CME Group คาดโอกาส 80.1% ที่เฟดจะปรับลดดอกเบี้ยลง 0.25% ในการประชุมเดือนนี้ และ 19.9% สำหรับโอกาสลดดอกเบี้ยลง 0.50% ล่าสุดในสัปดาห์นี้ โอกาสดังกล่าวขยับมาเป็น 98% และ 2% ตามลำดับ
· ค่าเงินปอนด์อังกฤษทรงตัวใกล้ระดับต่ำสุดในรอบ 6 สัปดาห์เมื่อเทียบกับดอลลาร์ ท่ามกลางกระแสคาดการณ์ว่า บีโออี หรือธนาคารกลางอังกฤษ จะคล้อยตามทิศทางดำเนินนโยบายของธนาคารกลางส่วนใหญ่ และปรับลดดอกเบี้ยลง ท่ามกลางสัญญาณการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกและความเสี่ยงจากภาวะ Brexit
โดยค่าเงินปอนด์ทรงตัวแถว 1.2515 ดอลลาร์/ปอนด์ ใกล้ระดับต่ำสุดของวันที่ 3 ม.ค. ที่ 1.2481 ปอนด์/ดอลลาร์
· ส่วนค่าเงินยูโรทรงตัวแถว 1.1216 ดอลลาร์/ยูโร ใกล้ระดับต่ำสุดในรอบ 3 สัปดาห์ที่ 1.1207 ดอลลาร์/ยูโร
· ค่าเงินดอลลาร์ยังคงเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบเมื่อเทียบกับเงิยสกุลหลักส่วนใหญ่ โดยปัจจัยที่ตลาดกำลังจับตากคือการรายงานตนต่อสภาคองเกรสของนายเจอโรม โพเวลล์ ประธานเฟด ซึ่งอาจมีการส่งสัญญาณถึงการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือน ก.ค.
เมื่อพิจารณาจากถ้อยแถลงหลังการประชุมเฟดเดือนที่ผ่านมา นักวิเคราะห์จาก FX Street เชื่อว่า นายโพเวลล์จะใช้เวลาในการรายงานต่อสภา ค่อยๆอธิบายถึงความจำเป็นของการปรับลดดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา
การปรับลดดอกเบี้ยในเดือนนี้ แม้ตลาดจะลดกระแสคาดการณ์ลงไป แต่การเคลื่อนไหวของค่าเงินดอลลาร์ บ่งชี้ว่านักลงทุนไม่ได้เตรียมพร้อมสำหรับสัญญาณเชิงลบจากนายโพเวลล์ โดยตลาดคาดหวังว่า การที่ตัวเลขจ้างงานออกมาแข็งแกร่งกว่าคาดเมื่อสัปดาห์ก่อน อาจหนุนความเชื่อมั่นของเฟดให้ส่งสัญญาณจะปรับอัตราดอกเบี้ยในเดือน ก.ค. และจะเป็นการปรับลดดอกเบี้ยเพียงครั้งเดียวสำหรับปี 2019
หากถ้อยแถลงของนายโพเวลล์ เต็มไปด้วยมุมมองเชิงบวกต่อเศรษฐกิจ ค่าเงินดอลลาร์เมื่อเทียบกับเยนมีแนวโน้มจะแข็งค่า Break แนวต้าน 109 เยน/ดอลลาร์ ขณะที่ค่าเงินยูโรจะอ้อนค่าหลุด 1.12 ดอลลาร์/ยูโร
ในทางกลับกัน หากถ้อยแถลงส่งสัญญาณไปถึงปัจจัยเสี่ยงต่อเศรษฐกิจในภาคภาคหน้า หรือการชะลอตัวของเศรษฐกิจในปัจจุบัน ก็มีโอกาสที่จะเห็นค่าเงินดอลลาร์กลับตัวอ่อนค่าหลุดระดับ 107.50 เยน/ดอลลาร์ ขณะที่ค่าเงินยูโรแข็งค่ากลับขึ้นมาแถว 1.13 ดอลลาร์/ยูโร
· นักวิเคราะห์จาก FXStreet ระบุว่า ภาพรายวันของค่าเงินเยนกลับมาเป็นทิศทางอ่อนค่าอีกครั้ง โดยค่าเงินเมื่อวานนี้ปิดแถว 108.72 เยน/ดอลลาร์ จึงเป็นการยืนยันสัญญาณ Head and Shoulders แบบกลับหัว และแพทเทิร์นนี้ค่อนข้างยืนยันความสมบูรณ์ในการเปลี่ยนเทรนจากแข็งค่าเป็นอ่อนค่าอีกครั้ง โดยจะเห็นได้ถึง Higher Lows และ Higher Highs อีกครั้ง
ทั้งนี้ แนวต้านด้านบนของค่าเงินเยนมีการยกตัวขึ้น และมีโอกาสกลับทดสอบเส้นค่าเฉลี่ย MA ราย 50 วันที่ 108.97 เยน/ดอลลาร์ได้ ขณะที่แรงหนุนทางเทคนิคที่ยังคงสะท้อนภาวะอ่อนค่า คือการที่ค่าเงินเยนยืนเหนือเส้นค่าเฉลี่ย RSI บริเวณ 50 และ 14 วันได้
ณ ขณะที่ค่าเงินเยนเคลื่อนไหวแถว 108.83 เยน/ดอลลาร์ เราวิเคราะห์ว่า หากราคาปิดต่ำกว่า 108.44 เยน/ดอลลาร์ลงมา จะเป็นการ Breakout ออกจากภาพ Head and Shoulders กลับหัวที่เกิดขึ้น
· นางแครี่ ลาม ผู้นำรัฐบาลฮ่องกง ประกาศยกเลิกร่างกฏหมายส่งผู้ร้ายข้ามแดนไปยังประเทศจีนอย่างเป็นทางการ พร้อมระบุว่า การผลักดันร่างกฏหมายดังกล่าวเป็นความผิดพลาดครั้งใหญ่ และทางรัฐบาลไม่มีแนวคิดที่จะนำร่างกฏหมายนั้นกลับมาอีกครั้งแน่นอน
นอกจากนี้ เธอยังระบุว่า เหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดจากประท้วงร่างกฏหมายของประชาชนฮ่องกงนั้น เป็นผู้รับผิดชอบของเธอทั้งหมด
· สหรัฐฯและจีนจะกลับมาเจรจาการค้ากันอีกครั้งภายในสัปดาห์นี้ โดยจะเป็นการเจรจาผ่านทางโทรศัพท์ระหว่างนายโรเบิร์ต ไรท์ไฮเซอร์ ตัวแทนการค้าสหรัฐฯ นายสตีเว่น มนูชิน รัฐมนตรีการคลังสหรัฐฯ และ นายหลิว เฮ่อ รองนายกรัฐมนตรีจีน
อย่างไรก็ตาม การเจรจามีแนวโน้มจะดำเนินไปท่ามกลางกรณีที่ทั้ง 2 ประเทศยังมีความแตกต่างกันอย่างมาก นับตั้งแต่ที่การเจรจาล้มเหลวลงในเดือน พ.ค. และไม่มีท่าทีจะลดความต่างนั้นได้เลย แม้ทางผู้นำประเทศได้ตกลงจะกลับมาเจรจาหลังการประชุม G20 ก็ตาม
· รัฐบาลสหรัฐฯ ระบุว่า อุตสาหกรรมโลหะในประเทศกำลังถูกกดดันจากการนำเข้าโครงสร้างเหล็กจากจีนและเม็กซิโก จึงกำลังพิจารณาสั่งการให้หนวยงานด้านศุลกากรทำการเก็บภาษีจากผู้นำเข้าเหล็กเหล่านี้
นอกจากนี้ ทางสำนักงานตัวแทนการค้าแห่งสหรัฐฯก้ได้ระบุว่า การนำเข้าเหล็กจากแคนาดาก็มีการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมต่อสหรัฐฯเช่นกัน
ทางด้านรัฐบาลเม็กซิโกระบุว่า การส่งสัญญาณจะเก็บภาษีโครงสร้างเหล็ก ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการร่วมลงนามข้อตกลง United States-Mexico-Canada ระหว่างทั้ง 3 ประเทศแต่อย่างใด
· ดอยซ์แบงก์ เริ่มเดินหน้าแผนปรับลดพนักงานแล้ววันนี้ ภายหลังจากที่ได้ประกาศปรับโครงสร้างองค์กรและปรับลดพนักงาน 18,000 ราย
โดยพนักงานที่ทำหน้าที่ดูแลการซื้อขายหุ้นในลอนดอน นิวยอร์ก และโตเกียว ได้รับคำสั่งให้ทำหน้าที่ต่อไป ขณะที่พนักงานบางส่วนในลอนดอนได้รับแจ้งว่า ช่วงเวลาการทำงานของตนเองนั้นจะสิ้นสุดลงในเวลา 11.00 น.
โฆษกของดอยซ์แบงก์ กล่าวว่า เป้าหมายของการเปลี่ยนแปลงต่างๆนั้นก็เพื่อที่จะทำให้ธนาคารแข็งแกร่งขึ้น ด้วยการปรับลดขนาดธุรกิจ
· ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลง เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับอุปสงค์หลังสัญญาณล่าสุดของสงครามการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐฯกำลังฉุดรั้งเศรษฐกิจโลก แม้ว่าจะได้รับแรงหนุนจากความไม่แน่นอนทางตะวันออกกลางก็ตาม
น้ำมันดิบ Brent ลดลง 0.2% ที่ระดับ 63.97 เหรียญ/บาร์เรล ขณะที่ราคาน้ำมันดิบ WTI ลดลง 0.4% ที่ระดับ 57.46 เหรียญ/บาร์เรล
โดยราคาน้ำมันดิบยังถูกกดดันจากความกังวลเกี่ยวกับอุปสงค์เนื่องจากสงครามทางการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีน ซึ่งก้าวเข้าสู่ปีที่สอง กดดันการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก