• สรุปข่าวเศรษฐกิจ (ภาคค่ำ) ประจำวันที่ 17 กรกฎาคม 2562

    17 กรกฎาคม 2562 | Economic News

· ค่าเงินดอลลาร์ทรงตัวในทิศทงแข็งค่าต่อ หลังเมื่อวานนี้ขานรับกับข้อมูลยอดค้าปลีกสหรัฐฯ ที่ดูจะช่วยคลายท่าทีเข้มงวดในการเดินหน้าลดดอกเบี้ย โดยดัชนีดอลลาร์ปรับขึ้น 0.5% ที่ 97.365 จุด


นักกลยุทธ์ค่าเงินอาวุโสจาก IG Securities กล่าวว่า ข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯที่แข็งแกร่งดูจะหนุนดอลลาร์อยู่ในเวลานี้ แต่ข้อมูลที่อ่อนแอในแถบยุโรปดูจะกดดันปอนด์และยูโรในเวลานี้ โดยจะเห็นได้ว่าค่าเงินปอนด์ดิ่งลงทำต่ำสุดรอบ 27 เดือนที่ 1.2396 ดอลลาร์/ปอนด์ หลังจากที่รายชื่อผู้ท้าชิงเก้าอี้นายกรัฐมนตรีอังกฤษ อย่างนายบอริส จอห์นสัน และเจเรมี ฮันท์ ดูจะทำให้เกิด Hard Brexit

วันนี้ปอนด์ทรงตัวที่ 1.2411 ดอลลาร์/ปอนด์ ทางด้านยูโรทรงตัวที่ 1.1212 ดอลลาร์/ปอนด์




· นักวิเคราะห์จาก FXStreet ระบุว่า ค่าเงินเยนซื้อขายใกล้แนว 108.15 เยน/ดอลลาร์ หลังจากที่ไม่สามารถผ่าน MA ราย 200 ชั่วโมงที่ 108.33 เยน/ดอลลาร์ได้ โดยที่ค่าเงินเยนมีโอกาสแข็งค่าต่อในตลาดหุ้น หลังจากสถาบันจัดอันดับ Fit Ratings ยังยืนยันเรทติ้งส์ค่าเงินเยนที่ระดับ "A"

ค่าเงินเยนกลับแข็งค่าขึ้นแตะระดับเส้น Fibonacci Retracement 50% โดยไปทำ High เมื่อวันศุกร์ที่ 108.38 เยน/ดอลลาร์ ขณะที่กราฟราย 4 ชั่วโมงจะเห็นค่าเงินเคลื่อนไหวเหนือเส้นค่าเฉลี่ยทั้งหมด โดยทางเทคนิคค่าเงินเยนมีโอกาสที่จะอ่อนค่าต่อได้ในระยะกลาง แต่หากผ่าน 108.6 เยน/ดอลลาร์ไปได้มีโอกาสเห็นค่าเงินเยนอ่อนค่าอีกครั้ง

แนวรับ: 108.05 107.70 107.35


แนวต้าน: 108.60 108.95 109.20



· เมื่อวานนี้ นายเจอโรม โพเวลล์ ประธานเฟด กล่าวย้ำถึงการจะดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจอย่างเหมาะสมเพื่อสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ในขณะที่นายชาร์ล อีวานส์ ประธานเฟดสาขาชิคาโก ระบุว่า เฟดอาจปรับลดดอกเบี้ยลง 0.5% ในการประชุม 30-31 ก.ค.นี้ เพื่อเร่งเงินเฟ้อให้ถึงเป้าหมายที่เฟดกำหนด




· นายเดวิด ลิปตัน รักษาการแทนตำแหน่งประธาน IMF ระบุว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯในปัจจุบันถือว่าอยู่ในระดับที่แข็งแกร่ง แม้เศรษฐกิจทั่วโลกกำลังชะลอตัว อย่างไรก็ตาม สหรัฐฯก็ไม่ได้ปลอดภัยจากปัจจัยจากภายนอกประเทศ ที่อาจทำให้เศรษฐกิจสหรัฐฯชะลอตัวลงเช่นกัน

ทั้งนี้ ในมุมมองของทาง IMF ไม่ได้มองว่าเศรษฐกิจจะเข้าสู่ภาวะชะลอตัวในอนาคตอันใกล้นี้แต่อย่างใด แต่เนื่องด้วยปัจจัยจากสงครามการค้าและความขัดแย้งทางด้านเทคโนโลยี รวมถึงความผันผวนของตลาดการเงิน เศรษฐกิจจึงมีความเสี่ยงที่จะเข้าสู่ภาวะชะลอตัวมากขึ้นเรื่อยๆ

ทาง IMF ยังได้ระบุว่า การขึ้นภาษีมีส่วนช่วยเพียงเล็กน้อยเท่านั้นสำหรับการช่วยปรับดุลการค้าระหว่างสหรัฐฯ-จีน หนำซ้ำในปี 2018 สหรัฐฯกลับมียอดขาดดุลการค้ากับจีนเพิ่มสูงขึ้นเสียอีก ส่วนมุมมองของ IMF ต่อการเติบโตของเศรษฐกิจโลก มองว่า เศรษฐกิจโลกจะชะลอการเติบโตลงจากระดับ 3.6% ในปี 2018 สู่ระดับ 3.3% ในปี 2019 ก่อนที่จะกลับไปขยายตัวได้ 3.6% ในปี 2020 สำหรับเศรษฐกิจจีน คาดว่าจะขยายตัวได้ 6.3% ในปี 2019 และ 2.3% สำหรับสหรัฐฯ

หากเศรษฐกิจโลกเข้าสู่ภาวะชะลอตัวจริง บรรดาธนาคารกลางจำเป็นต้องพร้อมที่จะตอบสนองและออกนโยบายที่เหมาะสมเพื่อมาช่วยเกื้อหนุนเศรษฐกิจอยู่เสมอ แต่ทาง IMF ไม่ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับทิศทางต่อไปของภาพรวมนโยบายการเงินทั่วโลกแต่อย่างใด แต่ตลาดกำลังจับตาการประชุมของเฟดปลายเดือนนี้ เพื่อดูว่าเฟดจะมีการดำเนินการเช่นไรกับนโยบายดอกเบี้ย



· รายงานจาก CNBC สะท้อนว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯและจีนมีการกลับมาเจรจาทางการค้ากันใหม่อีกครั้ง แต่ก็ดูจะมีสัญญาณที่ข้อตกลงทางการค้าระหว่างสองประเทศจะชะงักงันได้ ท่ามกลางสัญญาณจากนายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯที่ระบุถึงการเจรจาของสองประเทศมีท่าทียืดเยื้อ พร้อมขู่จะขึ้นภาษีจีนอีก 3.25 แสนล้านเหรียญ

ขณะที่ีจีนเพิ่มเจ้าหน้าที่เจรจาทางการค้า อย่างรัฐมนตรีกระทรวงการคลังจีนเข้าไป ซึ่งดูเหมือนเขาจะเป็นผู้ที่มีท่าทีแข็งกร้าวต่อจุดยืนของจีน และเขาก็เป็นคนนึงที่ได้ร่วมเจรจาผ่านทางโทรศัพท์กับสหรัฐฯ โดยการที่เขาได้รับบทบาทเป็นหนึ่งในตัวแทนเจรจาครั้งนี้ก็ดูจะสะท้อนว่า นายสี จิ้นผิง ประธานาธิบดีจีน ก็ยังคงมีท่าทีแข็งกร้าวและไม่ยอมอ่อนข้อให้สหรัฐฯเช่นเดียวกัน



นอกจากนี ้นายทรัมป์ ยังกล่าวอ้างถึงการชะลอตัวทางเศรษฐกิจนั้นเป็นหลักฐานที่แสดงว่า จีนกำลังพ่ายแพ้จาก Trade War ในครั้งนี้ และเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมจีนจึงต้องการข้อตกลงการค้ากับสหรัฐฯ



· รายงานจาก CNBC ระบุว่า นักวิเคราะห์บางส่วน มองการเติบโตของเศรษฐกิจจีนชะลอตัว และอาจทำให้ต้องกลับไปใช้นโยบายเก่าบางอย่าง อาทิ การเพิ่มค่าใช้จ่ายโครงสร้างพื้นฐาน รวมทั้งการผ่อนคลายการควบคุมภาคอสังหาริมทรัพย์ และอาจรวมไปถึงเรื่องการจัดการกับหนี้สินระดับสูง

อย่างไรก็ดี หลังจากที่ข้อมูลจีดีพีจีนไตรมาสสองหดตัวลงสู่ 6.2% ซึ่งเป็นการขยายตัวต่ำสุดรอบ 27 ปี ก็ดูเหมือนจะยิ่งตอกย้ำการชะลอตัวทางเศรษฐกิจโลก จากปัญหาความขัดแย้งทางการค้าของสหรัฐฯและจีนที่กำลังเผชิญกับความท้าทายที่เพิ่มมากขึ้น ในขณะที่จีนกำลังพยายามลดระดับหนี้สินที่ขยายตัว ด้วยการกระตุ้นการอุปโภคบริโภค และการฟื้นตัวของการใช้จ่ายภาคบริษัทฯ แต่การชะลอตัวทางเศรษฐกิจดังกล่าว ก็ดูจะส่งผลให้นักวิเคราะห์หลายฝ่าย คาดหวังว่าจะเห็นจีนจำเป็นต้องเพิ่มมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงสิ้นปีนี้ เพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มค่าใช้จ่ายโครงสร้างพื้นฐาน หรือแม้แต่การกลับมาเพิ่มกำลังการกู้ยืมเงิน




· กรณีที่จีนประกาศเพิ่มนายจง ซาน (Zhong Shan) รัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์จีน ลงในรายชื่อสมาชิกหลักของทีมตัวแทนการเจรจากับสหรัฐฯ โดยนายซานเป็นผู้ที่ยึดมั่นในหลักการอย่างแข็งกร้าว จึงสร้างความกังวลให้กับตลาดว่า การเจรจาของทั้งประเทศอาจยืดเยื้อออกไปอีก

อย่างไรก็ตาม นาย Clete Willems อดีตนักเจรจาประจำทำเนียบขาว ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรองประธานสถาบัน National Economic Council (NEC) ระบุว่า นี่อาจเป็นเรื่องที่ดีสำหรับผลลัพธ์ของการเจรจาก็เป็นได้ เนื่องจากจะเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่า ประธานาธิบดีจีนต้องการบรรลุข้อตกลงการค้าที่ยุติธรรมกับจีน และการยึดมั่นในจุดยืนของฝ่ายตนเอง ถือเป็นหนึ่งในหัวใจสำคัญของการเจรจา



· องค์การการค้าโลก (WTO) ระบุว่า สหรัฐฯกำลังละเมิดข้อตกลงกับทาง WTO และอาจถูกจีนคว่ำบาตรได้ หากสหรัฐฯไม่ยกเลิกมาตรการขึ้นภาษีสินค้าบางกลุ่มที่ละเมิดข้อตกลงของ WTO

ทั้งนี้ หากรัฐบาลจีนต้องการที่จะประกาศมาตรการคว่ำบาตรสหรัฐฯ จำเป็นต้องนำเรื่องไปหารือทางกฏหมายและได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมของ WTO เสียก่อน



· รายงานจาก Reuters ระบุว่า สหรัฐฯและญี่ปุ่นกำลังร่วมกันเจรจาเพื่อร่างข้อตกลงทางการค้าที่เกี่ยวข้องกับสินค้าในกลุ่มการเกษตรและรถยนต์ ซึ่งข้อตกลงดังกล่าวมีแนวโน้มจะได้รับการลงนามร่วมกันระหว่างนายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ และนายชินโซ อาเบะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ในระหว่างที่ทั้งสองผู้นำจะมาพบกันในเดือน ก.ย. ณ เมืองนิวยอร์ก



· นักการทูตอาวุโสของสหรัฐฯระบุว่า สหรัฐฯจะพยายามดำเนินการทุกวิถีทาง เพื่อช่วยแก้ไขความขัดแย้งทางการค้าระหว่างญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ ท่าอาจกลายเป็นปัจจัยกดดันการเติบโตของเศรษฐกิจโลกได้




· น้ำมันดิบรีบาวน์กลับจากที่ดิ่งลงเมื่อคืนก่อน โดยน้ำมันดิบ WTI ปรับขึ้น 6 เซนต์ ที่ระดับ 57.68 เหรียญ/บาร์เรล หลังจากที่ปิดปรับลงไป 3.3% ในวันก่อน ขณะที่ Brent ปรับขึ้น 25 เซนต์ ที่ระดับ 64.60 เหรียญ/บาร์เรล หลังดิ่งลงไป 3.2% เมื่อวาน

สถาบัน API กล่าวว่า สต็อกน้ำมันดิบปรับลง 1.4 ล้านบาร์เรลในสัปดาห์ที่สิ้นสุดเมื่อ 12 ก.ค. แตะระดับ 460 ล้านบาร์เรล ขณะที่นักลงทุนรอการประกาศจากกระทรวงพลังงาน EIA ซึ่งหากภาพรวมสต็อกน้ำมันดิบยังปรับตัวลงติดต่อกันเป็นสัปดาห์ที่ 5 ก็จะถือเป็นรายสัปดาห์ที่ปรับลงยาวนานที่สุดนับตั้งแต่เริ่มต้นปี 2018


บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com