· ค่าเงินดอลลาร์ปรับแข็งค่าขึ้น ท่ามกลางกระแสคาดการณ์การปรับลดดอกเบี้ยอย่างรุนแรงของเฟดที่ลดลง ประกอบกับความตึงเครียดในพื้นที่ตะวันออกกลาง ส่งผลให้นักลงทุนหันเข้าถือครอง Safe-haven มากขึ้น
ตลาดจะจับตาการประชุมของบรรดาธนาคารกลางต่างๆในช่วงสัปดาห์ถัดๆไป รวมถึงความคืบหน้าของการเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐฯ-จีน และการประกาศผลประกอบการของบริษัทสหรัฐฯ
ค่าเงินดอลลาร์ปรับแข็งค่าขึ้นเหนือระดับ 108 เยน/ดอลลาร์ ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่วันพุธที่ผ่านมา แต่ยังคงเป็นการเคลื่อนไหวในกรอบ 107 – 109 เยน/ดอลลาร์ ซึ่งเป็นกรอบที่ดอลลาร์เคลื่อนไหวมาตลอด 1 เดือน
ขณะที่ดัชนีดอลลาร์ค่อนข้างทรงตัวแถว 97.179 จุด หลังแข็งค่าขึ้น 0.35% เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา
· นักวิเคราะห์จาก XChainge ประเมินว่า มีปัจจัยที่ไม่แน่นอนอยู่หลายปัจจัย ส่งผลให้เกิดกระแสเข้าซื้อสินทรัพย์ปลอดภัยกลับเข้าหาดอลลาร์ และดอลลาร์มีแนวโน้มที่จะแข็งค่าขึ้นได้อีก หากเฟดตัดสินใจลดดอกเบี้ยลงเพียง 0.25% ในการประชุมเดือนนี้ตามที่คาด
· ค่าเงินยูโรทรงตัวใกล้แนวรับสำคัญแถว 1.12 ดอลลาร์/ยูโร หากหลุดระดับนี้ลงมา ค่าเงินจะมีโอกาสอ่อนค่าลงต่อ
· ตลาดจะจับตาการประชุมนโยบายการเงินของอีซีบีในคืนวันพฤหัสบดีสัปดาห์นี้ ท่ามกลางกระแสคาดการณ์ว่าอีซีบีจะมีการส่งสัญญาณผ่อนคลายนโยบายการเงินที่ชัดเจนที่สุด หลังจากที่ตลาดคาดการณ์กับมาเป็นระยะเวลาหลายสัปดาห์
แบบสำรวจโดย Reuters เชื่อว่า อีซีบีจะส่งสัญญาณผ่อนคลายนโยบายการเงินที่ชัดเจนในการประชุมสัปดาห์นี้ และจะปรับลดดอกเบี้ยในเดือน ก.ย.
ขณะที่ทาง UBS คาดว่า อีซีบีจะประกาศลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.10% ในเดือน ก.ย. เพื่อลดแรงกดดันทางเศรษฐกิจต่อภาคธนาคารพาณิชย์ นอกจากนี้ตลาดจะจับตาการเปิดเผยคาดการณ์เศรษฐกิจของอีซีบีอย่างเป็นทางการในเดือน ก.ย. อีกด้วย
· รายงานจาก DailyFX ระบุว่า ทางการจีนกำลังพิจารณษจะทำการเพิ่มการเข้าซื้อถั่วเหลืองจากสหรัฐฯ
· แหล่งข่าววงใน 2 ราย กล่าวกับสำนักข่าว Reuters โดยระบุว่า นายแลรี คุดโลว์ ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจประจำทำเนียบขาวจะเป็นเจ้าภาพจัดประชุมฝ่ายบริหารด้านเซมิคอนดักเตอร์ และซอร์ฟแวร์ในวันนี้ เพื่อหารือถึงกรณีการแบนบริษัท Huawei อย่างบริษัท Intel Corp และ Qualcomm Inc
นอกจากนี้ อาจจะมีการเชิญ Google และ Micron ตามมา
· ราคาน้ำมันปรับสูงขึ้นท่ามกลางสัญญาณความตึงเครียดในพื้นที่ตะวันออกกลาง หลังกองทัพอิหร่านเข้ายึดเรือบรรทุกน้ำมันของอังกฤษในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา จึงอาจเป็นชนวนก่อให้เกิดการชะงักของการขนส่งน้ำมันในเส้นทางสำคัญ แต่ราคาน้ำมันถูกจำกัด หลังมีรายงานว่าลิเบียกลับมาขุดเจาะน้ำมันในแหล่งน้ำมันที่ใหญ่ที่สุดของพวกเขา
ทั้งนี้ ราคาสัญญาน้ำมันดิบ Brent ปรับสูงขึ้น 1.4% บริเวณ 63.35 เหรียญ/บาร์เรล ขณะที่ราคาสัญญาน้ำมันดิบ WTI ปรับสูงขึ้น 1% แถว 56.21 เหรียญ/บาร์เรล
สำหรับภาพรวมรายสัปดาห์ที่ผ่านมา WTI ปิด -7% ส่วน Brent ปิด -6%
· นักวิเคราะห์จาก OANDA ระบุว่า ภาพรวมของราคาน้ำมันเป็นขาลง เนื่องจากถูกกดดันจากปริมาณอุปสงค์น้ำมันที่อ่อนแอและการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของการผลิตน้ำมันสหรัฐฯ แต่ทิศทางขาลงอาจคงอยู่ต่อได้ไม่นาน เนื่องจากความตึงเครียดในตะวันออกกลางยังคงอยู่ในระดับสูง
· มุมมองของตลาดน้ำมันเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยยะสำคัญในช่วงไม่กี่วันมานี้ ท่ามกลางบรรดากองทุน นักลงทุนทั่วไป และผู้ผลิตน้ำมัน ต่างเพิ่มการถือครองสถานะ Short ในน้ำมัน สะท้อนถึงภาวะอุปสงค์น้ำมันทั่วโลกที่อ่อนแอ เป็นเหตุที่กดดันราคาน้ำมันลง
ปัจจัยที่ควรหนุนราคาน้ำมัน อย่างการปรับลดกำลังการผลิตน้ำมันของกลุ่มโอเปกที่ขยายเวลาออกไปถึงปี 2020 หรือการคว่ำบาตรน้ำมันเวเนซุเอลาของสหรัฐฯ ซึ่งลดปริมาณน้ำมันในตลาดลงไปกว่า 1.5 ล้านบาร์เรล กลับไม่สามารถช่วยหนุนให้ราคาน้ำมันปรับขึ้นมาได้เท่าที่คาดหวัง
ข่าวความขัดแย้งระหว่างสหรัฐฯ-อิหร่านในพื้นที่ช่องแคบฮอร์มุซ ที่สหรัฐฯพร้อมด้วยประเทศพันธมิตรต่างมีการเคลื่อนไหวเพื่อคุ้มครองเรือขนส่งน้ำมันจากอิหร่าน ก็หนุนให้ราคาน้ำมันปรับขึ้นมาได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น
ปัจจัยที่กดดันให้ราคาน้ำมันปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง คือการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของปริมาณการผลิตน้ำมันในสหรัฐฯ และสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ-จีน จึงทำให้ตลาดมีปริมาณอุปสงค์ในน้ำมันที่อ่อนแอลง โดยองค์กร IEA ได้ปรับลดคาดการณ์ปริมาณอุปสงค์น้ำมันทั่วโลกในปี 2019 – 2020 ลง และส่งสัญญาณว่ามีแนวโน้มที่จะปรับลดลงอีก หากเศรษฐกิจหลายๆประเทศ โดยเฉพาะจีน ส่งสัญญาณอ่อนแอเพิ่มเติม
· นักวิเคราะห์จาก DailyFX มีมุมมองต่อราคาน้ำมันดิบที่ยังคงยืนได้ดีเหนือแนวรับ 54.84 เหรียญ/บาร์เรล ซึ่งหากปิดต่ำกว่าระดับดังกล่าวเมื่อใดมีโอกาสดิ่งลงสู่ 50.60 - 49.41 เหรียญ/บาร์เรล ในทางกลับกัน หากราคายืนเนหือแนวต้าน 58.19 เหรียญ/บาร์เรลได้ มีลุ้นกลับทดสอบบริเวณ 60.04-60.84 เหรียญ/บาร์เรล