· ตลาดหุ้นสหรัฐฯปิดปรับขึ้นรับข่าวที่สหรัฐฯและจีนจะหันหน้ากลับมาสู่โต๊ะเจรจาทางการค้ากันอีกครั้ง โดยจะเริ่มต้นขึ้นในสัปดาห์หน้า นอกจากนี้ตลาดยังตอบรับกับรายงานผลประกอบการที่แข็งแกร่งเกินคาด จึงช่วยหนุนความเชื่อมั่นกลุ่มนักลงทุน
ดัชนีดาวโจนส์ปิด +177.29 จุด หรือ +0.7% ที่ระดับ 27,349.19 จุด ขณะที่ดัชนี S&P500 ปิด +0.7% ที่ 3,005.47 จุด และ Nasdaq ปิด +0.6% ที่ระดับ 8,251.4 จุด
นอกจากรายงานของ CNBC ที่จะบ่งชี้ว่า การเจรจาแบบตัวต่อตัวของสหรัฐฯและจีนกลับมาอีกครั้ง และทางเจ้าหน้าที่ทำเนียบขาจับตาดู Timeline ระยะยาวสำหรับข้อตกลงแล้ว
รายงานจาก Bloomberg ก็ยังยืนยันว่าการพบกันของตัวแทนเจรจาสหรัฐฯและจีนจะเริ่มต้นในวันจันทร์นี้ หลังจากที่ผู้แทนสหรัฐฯเดินทางเยือนจีน นำโดย นายโรเบิร์ต ไลท์ไธเซอร์ ที่คาดว่าจะอยู่เจรจาจนถึงวันพุธหน้า
· หุ้นยุโรปปิดบวกจากนักลงทุนที่ตอบรับรายงานผลประกอบการแข็งแกร่ง ประกอบกับรอคอยผลประชุมอีซีบีในวันพฤหัสบดีนี้ โดยดัชนี Stoxx 600 ปิด +1% ท่ามกลางหุ้นหลักส่วนใหญ่ที่เคลื่อนไหวแดนบวก
· หุ้นเอเชียเปิดผสมผสานกันในเช้านี้ตามความคืบหน้าการกลับมาเจรจาทางการค้าของสหรัฐฯและจีน โดยดัชนีนิกเกอิเปิด +0.41% และ Topix เปิด +0.34% และ Kospi เปิด -0.21%
สำหรับดัชนี S&P/ASX200 ปิด +0.47%
· อ้างอิงจากสำนักข่าวอินโฟเควสท์
-นักบริหารเงิน คาดว่า วันนี้เงินบาทยังมีทิศทางอ่อนค่า มองกรอบเคลื่อนไหวระหว่าง 30.85 - 31.08 บาท/ดอลลาร์
-รมว.คลัง โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว ระบุว่า ได้ร่วมหารือกับผู้บริหารและกระทรวงการคลัง เรื่องนโยบายรัฐบาลที่จะมีการแถลงต่อรัฐสภาในวันที่ 25 ก.ค.นี้ โดยเรื่องแผนปรับโครงสร้างภาษี ได้มอบหมายให้สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ทำการพิจารณาแล้ว ด้านนโยบาย มีทั้งระยะสั้นที่ใช้งบประมาณในปี 62 และแผนระยะยาวที่ต้องใช้งบปี 63 เพื่อเป้าหมายของการลดความเหลื่อมล้ำทั้งระบบ
-รองอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยถึงการยื่นจดทะเบียนธุรกิจในเดือนมิ.ย.62 และช่วงครึ่งปีแรกว่า ในส่วนของธุรกิจจัดตั้งใหม่ มีผู้ประกอบธุรกิจยื่นขอจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนบริษัทใหม่ทั่วประเทศในเดือนมิ.ย.62 จำนวน 5,586 ราย เมื่อเทียบกับเดือนพ.ค.62 จำนวน 5,942 ราย ลดลง 356 ราย คิดเป็น 6% และเมื่อเทียบกับเดือนมิ.ย.61 จำนวน 6,514 ราย ลดลง 928 ราย คิดเป็น 14%
-ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุว่าจากที่ประเทศไทยจะเกิดภาวะฝนทิ้งช่วงราว 2 เดือน (มิ.ย.-ก.ค.) ซึ่งนับเป็นสถานการณ์ภัยแล้งนอกฤดูกาลนั้น คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อความสูญเสียทางเศรษฐกิจไม่ต่ำกว่า 15,000 ล้านบาท โดยเป็นความเสียหายของข้าวนาปีเป็นหลัก คิดเป็น 0.1% ของจีดีพี