รายงานจาก BBC ระบุว่า การกลับมาเจรจาการค้าสหรัฐฯ-จีนเป็นครั้งแรกในรอบ 3 เดือนเพื่อพยายามหาข้อตกลง ขณะที่มีกระแสคาดหวังต่อการเจรจาครั้งนี้จะบรรลุผลร่วมกันได้อยู่ในระดับ “ต่ำ”
และ ณ ขณะนี้ก็คงปฏิเสธไม่ได้มีหลักฐานใหม่ๆต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจสหรัฐฯและจีนนั้นกำลังได้รับผลกระทบจาก Trade War และ 3 ประเด็นที่ยังคงมีความซับซ้อนต่อการเจรจาในเวลานี้คือ
1. ข้อพิพาท Huawei
ในเดือนพ.ค. สหรัฐฯมีการแบนการส่งออกของบริษัท Huawei โดยห้ามมิให้บริษัทในสหรัฐฯทำการขายสินค้าให้แก่บริษัทดังกล่าว เนื่องในกรณีความมั่นคงแห่งชาติ และนี่ไม่เพียงแต่เป็นการคุกคามบริษัท Huawei เท่านั้น แต่ได้ส่งผลกระทบไปทั่วภาคเทคโนโลยีทั่วโลก
หลายบริษัทในญี่ปุ่นและสหรัฐฯ มีความกังวลต่อผลกระทบจากการแบนดังกล่าว รวมทั้งกรณีห่วงโซ่อุปทาน เนื่องจากพวกเขาก็ต้องพึ่งพาสินค้าของ Huawei ร่วมกับชิ้นส่วนของสหรัฐฯ
2. สัญญากับสงครามด้านการเกษตร
อีกหนึ่งในปัจจัยหลักในการเจรจาการค้ายังคงเป็นเรื่องของสินค้าเกษตร โดยที่จีนพุ่งเป้าไปที่เกษตรกรของสหรัฐฯ ที่จะกระทบไปยังห่วงโซ่อุปทานด้านสินค้าการเกษตร ตั้งแต่เนื้อสัตว์, ธัญพืช และถั่วเหลือ ขณะที่สหรัฐฯตอบโต้จีนด้วยการขึ้นภาษีสินค้าจากจีนเช่นกัน
แต่ก็ดูจะมีท่าทีที่ดีขึ้นในสัปดาห์ที่ผ่านมาก่อนที่ทั้ง 2 ฝ่ายจะกลับมาเจรจาการค้ากันอีกครั้ง ด้วยการที่จีนให้สัญญาจะเข้าซื้อถั่วเหลืองจากสหรัฐฯเพิ่มขึ้นหลายล้านตัน นับตั้งแต่ที่ผู้นำสหรัฐฯและจีนเข้าพบกันในการประชุม G20 เมื่อเดือนมิ.ย.
และถือเป็นสัญญาณที่ชัดเจนมากขึ้นว่าจีนมีความตั้งใจที่จะเข้าซื้อสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้นจากสหรัฐฯที่อาจถือเป็นสัญญาณที่ดี แต่ก็เชื่อว่าในการเจรจา 2-3 วันนี้ น่าจะมีการตกลงกันในประเด็นดังกล่าวด้วย
3. สัญญาณเตือนต่างๆ
การปราศจากความเชื่อมั่นระหว่างสหรัฐฯและจีนดูจะเป็นความจริง และในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาข้อมูลล่าสุดต่างๆก็ดูจะเห็นได้ถึงการที่เศรษฐกิจโลกได้รับผลกระทบจาก Trade War และยอดส่งออกจากจีนรวมทั้งประเทศที่เหลือในเอเชียก็มียอดตกลงจากประเด็นดังกล่าว
ส่วนหนึ่งที่เศรษฐกิจจีนชะลอตัวลง ก็ต้องยอมรับว่ามีเหตุผลหลักมาจาก Trade War และหลายๆบริษัทมีการชะลอแผนการขยายกิจการหรือตัดสินใจที่ย้ายออกจากจีน ซึ่งนี่สะท้อนถึงการไม่มีกระบวนการด้านอุตสาหกรรมใหม่ที่ขยายตัวหรือแม้แต่การจ้างงานที่เพิ่มขึ้นในจีน
และยังมีสัญญาณเสี่ยงอื่นๆเกี่ยวกับความเสี่ยงของ Trade War ที่ดูจะกระทบกับเศรษฐกิจโลก นับตั้งแต่การเตือนของสถาบันนานาชาติ ตลอดจน IMF
ล่าสุดนี้ IMF มีการหั่นคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจโลกปีนี้และปีหน้า พร้อมย้ำว่า Trade War เป็นหนึ่งเหตุผลสำคัญ
ขณะที่วันศุกร์ที่ผ่านมาจีดีพีสหรัฐฯไตรมาสที่ 2 พบว่า ประมาณการณ์ล่าสุดยังคงแย่กว่าผลการประกาศจีดีพีไตรมาสแรก โดยได้รับผลกระทบจากการซื้อขายของต่างชาติและการลงทุนในภาคธุรกิจหดตัว ท่ามกลาง Trade War ของสหรัฐฯและจีน และทั้งหมดนี้เป็นส่วนสำคัญที่สหรัฐฯและลจีนต้องหาทางแก้ไขข้อขัดแย้งทางการค้า
ที่มา: BBC