· เฟดตัดสินใจปรับลดดอกเบี้ยลง 0.25% สู่กรอบ 2.00-2.25% ในการประชุมเดือนนี้ และไม่ได้มองว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯในเวลานี้ขยายตัวไปอย่างผิดทาง แต่อาจได้รับผลกระทบในอนาคตได้ จึงนำมาสู่การตัดสินใจลดดอกเบี้ยลงเป็นครั้งแรกในรอบกว่า 10 ปี ท่ามกลางแรงกดดันจากนายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯที่ต้องการจะเห็นเฟดดำเนินนโยบายลดดอกเบี้ยอย่างแข็งกร้าว
ทั้งนี้ การตัดสินใจปรับลดดอกเบี้ยดังกล่าวมาจากผลกระทบของสถานการณ์ต่างๆของโลกที่มีผลต่อแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯ เช่นเดียวกับแรงกดดันเงินเฟ้อ แม้ว่าบรรดาสมาชิกเฟดจะมองว่าการขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯในเวลานี้เป็นไปในระดับปานกลาง และตลาดแรงงานยังแข็งแกร่ง แต่เฟดก็ตัดสินใจที่จะผ่อนคลายางการเงิน
นอกจากนี้ เฟดยังตอกย้ำถึงการตัดสินใจผ่อนคลายนโยบายการเงินทั่วทุกขอบเขต โดยเฟดยังเปิดเผยถึงการจะหยุดลดการถือครองพันธบัตร ตั้งแต่ 1 ส.ค.นี้เป็นต้นไป ซึ่งถือเป็นการหยุดการลดการถือครองพันธบัตรก่อนกำหนดเดิมถึง 2 เดือน
· รายงานจาก CNBC แสดงให้เห็นว่า การที่หุ้นปรับตัวลง ดอลลาร์กลับแข็งค่าทำ High รอบกว่า 2 ปี และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่เพิ่มสูงขึ้น มาจากการทราบผลประชุมเฟด หลังนายเจอโรม โพเวลล์ ประธานเฟด สะท้อนถึงการทำงานของเฟดที่ไม่ได้เข้าสู่วัฏจักรใหม่ในการปรับลดดอกเบี้ย แม้ว่าเฟดจะตัดสินใจหั่นดอกเบี้ยลง 0.25% ในการประชุมเมื่อวานนี้
ตลาดมีมุมมองว่าน่าจะเห็นเฟดลดดอกเบี้ยได้ 3 ครั้งในปีนี้ แม้ว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯจะมีสัญญาณการฟื้นตัว แต่เฟดก็กำลังเผชิญกับความไม่แน่นอนของปัจจัยต่างๆในเวลาเดียวกัน นั่นจึงกลายมาเป็นเหตุผลว่าทำไมเฟดต้องทำการปรับลดดอกเบี้ยในขณะที่ข้อมูลเศรษฐกิจมีความแข็งแกร่ง
บรรดาเทรดเดอร์ มีท่าทีผิดหวังต่อถ้อยแถลงของประธานเฟด ที่ดูจะเป็นกลางมากกว่าผ่อนคลาย แต่การที่ประธานเฟดยังส่งสัญญาณในช่วงแถลงสื่อสั้นๆถึงการจะปรับนโยบายตามความเหมาะสมก็ดูจะช่วยให้ตลาดผ่อนคลายลงไปบ้าง
· นักกลยุทธ์จาก BMO กล่าวว่า ถ้อยแถลงประธานเฟดหมายถึงเฟดไม่จำเป็นที่จะต้องปรับลดดอกเบี้ยในเร็วๆนี้ แต่ก็อาจไม่ได้สะท้อนว่าจำเป็นจะต้องลดดอกเบี้ยเพียงครั้งเดียว และเฟดก็ไม่ได้สื่อถึงการจะเร่งลดดอกเบี้ยใดๆ อันจะเห็นได้จากที่ประธานเฟดไม่ได้ย้ำถึงการจะใช้เวลานานในการปรับลดดอกเบี้ย และยังมีการอธิบายถึงนโยบายเปลี่ยนผ่านของเฟดที่ได้เริ่มใช้การปรับขึ้นดอกเบี้ยมาตั้งแต่ปลายเดือนธ.ค. ที่ผ่านมา ก่อนจะหยุด และมาใช้การลดดอกเบี้ยลง 0.25% สู่กรอบ 2-2.25%
อย่างไรก็ดี ประชุมเฟดวานนี้ส่งผลให้หลายฝ่ายค่อนข้างรู้สึกถึงความชัดเจนมากขึ้นว่าการเริ่มใช้นโยบายลดดอกเบี้ยจะไม่กินเวลาที่มากเกินไป แม้ว่าประธานเฟดจะไม่ได้กล่าวถึงการจะลดดอกเบี้ยจำนวนหนึ่งครั้งหรือมากกว่านั้น และสมาชิกเฟดบางส่วนก็ไม่ได้พิจารณาต่อการปรับลดระยะยาว แต่พวกเรากลับมองว่าหากข้อมูลเศรษฐกิจมีการอ่อนตัวลงจริง เฟดจำเป็นที่จะต้องลดดอกเบี้ยมากขึ้น ซึ่งก็เห็นแล้วว่าทั้งหมดนี้ไม่เป็นอย่างที่เราคิดเอาไว้
· หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์จาก Jefferies กล่าวว่า ประธานเฟดไม่ได้ยกกรณีใหญ่ใดๆต่อการปรับลดดอกเบี้ยครั้งนี้ เพียงแต่ระบุถึง Trade War ที่กำลังระอุว่าอาจส่งผลกระทบได้ ขณะที่ประธานเฟดสาขาบอสตันและสาขาแคนซัสซิตี้ คัดค้านให้เฟดคงดอกเบี้ยมากกว่า
· BMO เผย เครื่องมือ Fed Funds Futures ขณะนี้สะท้อนถึงการจะเห็นเฟดค่อยๆลดดอกเบี้ย โดยมองว่ามีโอกาส 60% ที่เฟดจะลดดอกเบี้ย 0.25% ในการประชุม ก.ย. และโอกาส 100% ที่จะลดดอกเบี้ยอีก 0.25% ในเดือน พ.ย นี้
· หัวหน้านักกลยุทธ์จาก Bank of America Merrill Lynch ระบุว่า ถ้อยแถลงของประธานเฟดยังสร้างความสับสนอยู่มาก และไม่คิดว่าครั้งนี้คือสารที่ชัดเจนอย่างที่ควรจะเป็นต่อทิศทางการดำเนินนโยบายผ่อนคลายทางการเงิน และนี่น่าจะเป็นสาเหตุที่ตลาดหุ้นตอบรับในเชิงลบ
· นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานเฟด ทวิตเตอร์ข้อความแสดงความผิดหวังต่อการลดดอกเบี้ยของเฟดในครั้งนี้ แต่อย่างน้อยเฟดก็สิ้นสุดการเข้มงวดต่อการใช้นโยบายผ่อนคลายทางการเงิน
· ดัชนีดอลลาร์ปรับขึ้นทำระดับสูงสุดรอบ 2 ปี ท่ามกลางเฟดที่ปรับลดดอกเบี้ยหลังจากที่ นายเจอโรม โพเวลล์ ประธานเฟด ระบุว่าการลดดอกเบี้ย 0.25% ไม่ได้เป็นการเริ่มต้นเข้าสู่วัฎจักรของการปรับลดดอกเบี้ย
ดัชนีดอลลาร์ปรับขึ้น 0.42% ที่ระดับ 98.46 จุด หลังไปทำระดับสูงสุดตั้งแต่ พ.ค. ที่ระดับ 2017 บริเวณ 98.891 จุด
อย่างไรก็ดี นักลงทุนบางส่วนก็คาดหวังต่อการที่เฟดยังคงเปิดกว้างต่อการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในอนาคตหรือเห็นการลดดอกเบี้ยมากถึง 0.50% แม้ว่ามีท่าทีผ่อนคลายทางการเงินน้อยลง
ค่าเงินยูโรปรับแข็งค่าขึ้น 0.4% แถวระดับ 1.111 ดอลลาร์/ยูโร ซึ่งถือเป็นระดับแข็งค่ามากสุดตั้งแต่พ.ค. ปี 2017
ค่าเงินเยนอ่อนค่าทำระดับสูงสุดรอบ 3 สัปดาห์เมื่อเทียบดอลลาร์ จากการที่บีโอเจยังคงดอกเบี้ยนโยบาย และอาจดำเนินการใดๆมากขึ้นอย่างไม่ลังเลหากจำเป็น
ค่าเงินปอนด์ร่วงลงทำระดับต่ำสุดในสัปดาห์นี้ จากกลุ่มนักลงทุนที่กังวลต่อความเป็นไปได้มากขึ้นที่จะเห็นอังกฤษก้าวออกจากอียูโดยปราศจากข้อตกลงการค้าใดๆ โดยค่าเงินปอนด์วานนี้รีบาวน์ได้ 0.59% ที่ระดับ 1.222 ดอลลาร์/ปอนด์ หลังไปทำต่ำสุดรอบ 28 เดือน ตั้งแต่ 1.212 ดอลลาร์/ปอนด์ เมื่อวันอังคาร
· อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯปรับตัวลงวานนี้หลังประธานเฟดหั่นดอกเบี้ยลงสู่ 0.25% แต่ก็จะดำเนินนโยบายผ่อนคลายอย่างเหมาะสม โดยอัตราผลตอบแทนอายุ 10 ปีปรับลงมาที่ 2.013% ขณะที่อัตราผลตอบแทนระยะสั้นอายุ 2 ปีที่ค่อนข้างอ่อนไหวกับเฟดปรับขึ้น 0.2% ที่ระดับ 1.872%
· รายงานจาก CNBC ระบุว่า สหรัฐฯและจีนจะกลับมาเจรจาการค้ากันอีกครั้งในช่วงต้นเดือนก.ย. ณ กรุงวอชิงตัน หลังจากที่ทั้งสองประเทศต่างหารือถึงการที่จะจีนจะเพิ่มการเข้าซื้อสินค้าเกษตรของสหรัฐฯ ในการเจรจาล่าสุดที่เซี่ยงไฮ้ ที่ผ่านมา
สำนักข่าวซินหัว รายงานว่า การเจรจาที่เพิ่งจบไปนั้นเป็นไปอย่างเปิดเผย มีประสิทธิภาพ และมีความก้าวหน้า โดยมีการหารือเรื่องที่จีนจะรับซื้อสินค้าการเกษตรจากสหรัฐฯ เพิ่มด้วย
· การเติบโตทางเศรษฐกิจของยูโรโซนลดลงครึ่งหนึ่งในช่วงไตรมาสที่ 2 ท่ามกลางอัตราเงินเฟ้อประจำเดือนก.ค.ที่ชะลอตัวลงอย่างมาก แม้ว่าอัตราการว่างงานจะลดลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 11 ปีก็ตาม
การคาดการณ์เบื้องต้นของ Eurostat เกี่ยวกับการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศใน 19 ประเทศที่ใช้เงินยูโรแสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจขยายตัว 0.2% ในไตรมาสต่อไตรมาสลดลงจาก 0.4% ในช่วง 3 เดือนก่อนหน้านี้ตามที่นักเศรษฐศาสตร์คาดไว้
· ราคาน้ำมันดิบปรับขึ้นติดต่อกัน 5 วันทำการ หลังสต็อกน้ำมันดิบสหรัฐฯปรับลงมากขึ้นกว่าที่คาด ขณะที่เฟดปรับลดดอกเบี้ยเป็นครั้งแรกในรอบกว่า 10 ปี
น้ำมันดิบ Brent ปิดปรับขึ้น 45 เซนต์ ที่ระดับ 65.17 เหรียญ/บาร์เรล ภาพรวมเดือนก.ค. ปรับลง 2.1% ทางด้านน้ำมันดิบ WTI ปิดปรับขึ้น 53 เซนต์ ที่ระดับ 58.58 เหรียญ/บาร์เรล ภาพรวมเดือนก.ค. ปรับขึ้นได้ประมาณ 0.2%
รายงานจาก EIA เผย สต็อกน้ำมันดิบสหรัฐฯปรับลงติดต่อกัน 7 สัปดาห์ โดยเมื่อวานปรับลง 8.5 ล้านบาร์เรลในสัปดาห์ที่แล้ว จากที่คาดว่าจะปรับลง 2.6 ล้านบาร์เรล