· ค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่าลงเมื่อเทียบค่าเงินเยนหลังจากที่นายทรัมป์ ประกาศจะขึ้นภาษีสินค้านำเข้าสหรัฐฯจีนเพิ่มขึ้นในวันที่ 1 ก.ย.นี้ หลังจากที่สหรัฐฯและจีนยังไม่มีความคืบหน้าในการเจรจามากนักที่ผ่านมา ประกอบกับการที่จีนยังผิดสัญญาที่จะเข้าซื้อสินค้าเกษตรสหรัฐฯเพิ่ม
ค่าเงินเยนกลับแข็งค่าลง 1.32% ที่ระดับ 107.31 เยน/ดอลลาร์ ซึ่งเป็นระดับแข็งค่ามากที่สุดรอบ 2 เดือน ในฐานะ Safe-Haven ขณะที่ดัชนีดอลลาร์อ่อนค่าลง 0.2% มาที่ 98.325 จุด
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปีปรับลงต่ำกว่า 2% เป็นครั้งแรกรอบ 2 ปีกว่า แตะระดับ 1.878% ซึ่งเป็นต่ำสุดตั้งแต่พ.ย. ที่ 2016
· นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ สร้างเซอร์ไพร์สตลาดด้วยการประกาศขึ้นภาษีสินค้านำเข้าจีนมูลค่า 3 แสนล้านเหรียญ จึงยิ่งตอกย้ำความระอุของข้อขัดแย้งทางการค้าระหว่าง 2 ชาติมากยิ่งขึ้น
และการประกาศของนายทรัมป์ สร้างความผันผวนให้แก่ตลาดการเงินต่อจากความน่าผิดหวังของเฟดที่ไม่ได้ผ่อนคลายนโยบายการเงินมากกว่าที่คาด ขณะที่ประเด็น Trade War ก็ยังเป็นประเด็นกดดันเฟด
การเคลื่อนไหวล่าสุดของนายทรัมป์ คือการสื่อว่าสินค้านำเข้าของจีนทั้งหมดจะถูกเรียกเก็บภาษีเป็นมูลค่า 3 แสนล้านเหรียญ หรือคิดเป็นร้อยละ 0.14 ของจีดีพี และนั่นอาจเป็นปัจจัยที่ส่งผลร้ายในอนาคตตามมาได้
นอกจากนี้ ผลสำรวจภาคธุรกิจก็ค่อนข้างชัดเจนว่าบรรดาบริษัทธุรกิจต่างๆของสหรัฐฯมีความกังวลต่อเรื่องดังกล่าว โดยผลสำรวจล่าสุดของสถาบันจัดการด้านอุปทาน (ISM) ปรับตัวลงอีกครั้งในเดือนก.ค.และดูจะขยับใกล้ภาวะหดตัวมากยิ่งขึ้น
· นักกลยุทธ์จาก Morgan Stanley กล่าวว่า การขึ้นภาษีสินค้าจีนรอบล่าสุด หากเป็นเช่นนั้นจะเข้าสู่ยุค Slowbalization ต่อไป หรือการเข้าสู่ยุคที่ปราศจากการขยายตัว และนั่นก็จะส่งผลให้เศรษฐกิจสหรัฐฯเองเข้าสู่ภาวะถดถอยอย่างเร็วที่สุดในไตรมาสที่ 3 นี้ โดยหนึ่งในเหตุผลสำคัญนั่นคือ ประมาณ 68% จากการขึ้นภาษีครั้งต่อไปจะกระทบต่อกลุ่มผู้บริโภค, สินค้าต่างๆ ที่รวมไปถึงรถยนต์หรือชิ้นส่วนต่างๆ และนั่นจะไปนำไปสู่ผลกระทบทางเศรษฐกิจ
นอกจากนี้ หากเศรษฐกิจสหรัฐฯได้รับผลกระทบ ก็จะกระทบกลุ่มการค้าไปทั่วโลกด้วยเช่นกัน ซึ่งการเพิ่มภาษีสินค้านำเข้าล่าสุดมีแนวโน้มที่จะก่อให้เกิดกำแพงภาษีที่สูงขึ้นตามมา
และผลกระทบที่จะเพิ่มขึ้นตามมาจากการขึ้นภาษีสินค้านำเข้า คือจะกระทบกับเงินเฟ้อและรายได้ให้พลาดเป้า ดังที่เห็นได้จากการขยายตัวเพียง 2.5% ในไตรมาสที่ 2/2019 ซึ่งเป็นระดับการขยายตัวที่ต่ำสุดในรอบเกือบ 2 ปี รวมไปถึงการอุปโภคบริโภค โดยเฉพาะกลุ่มผู้ส่งออกที่น่าจะได้รับผลกระทบอย่างหนัก และจะเห็นได้ถึงผลประกอบการภาคบริษัทในกลุ่ม S&P500 ที่มียอดขายนอกประเทศเกินกว่าครึ่งไม่สดใสเท่าที่ควร โดยผลประกอบการภาคบริษัทสหรัฐฯลดลงไป 13.6% เมื่อเทียบรายปี
· สถาบัน Moody’s Investors Service แสดงความคิดเห็นเสริมว่า การอ่อนตัวของเงินเฟ้อจะกระทบกับภาคอิเล็กทรอนิกส์, เสื้อผ้า, รองเท้า และของเล่น รวมทั้งกระทบต่อความน่าเชื่อถือของภาคบริษัทต่างๆ ควบคู่กับภาคการผลิตด้วยเช่นกัน รวมไปถึงเครื่องแต่งกายและเครื่องหนัง และความตึงเครียด Trade War จะกระทบต่อภาคพลังงาน ราคาน้ำมัน อุปกรณ์การขนส่ง และเซมิคอนดัคเตอร์สด้วย และหากจีนตอบกลับด้วยจำนวนที่เท่าๆกัน ก็จะยิ่งกดดันต่อกลุ่มสินค้าของสหรัฐฯ และการจัดการของภาคบริษัทต่างๆของสหรัฐฯด้วยเช่นกัน
· รายงานจาก NBC News เผยว่า เช้านี้เกาหลีเหนือมีการยิงมิสไซน์พิสัยระยะสั้นไปยังทะเล โดยมิสไซน์ดังกล่าวนั้นยังไม่ปรากฎว่ามีขึ้นเพื่อข่มขู่สหรัฐฯหรือประเทศพันธมิตรในภูมิภาค
· นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ไม่ได้แสดงความกังวลต่อรายงานที่ว่าเกาหลีเหนืออาจมีการยิงทดสอบขีปนาวุธเป็นครั้งที่ 3 ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยระบุว่า ขีปนาวุธเหล่านั้นมีพิสัยระยะใกล้และอยู่ในระดับ “มาตรฐาน” และจะไม่ส่งผลกระทบต่อความต้องการที่จะเจรจาร่วมกับเกาหลีเหนือแต่อย่างใด
รายงานจากกองทัพเกาหลีใต้ระบุว่า ในช่วงเช้าวันนี้ ตรวจสอบพบวัตถุที่ต้องสงสัยว่าเป็นขีปนาวุธถูกยิงออกจากฐานทัพทางตอนใต้ของเกาหลีเหนือทั้งหมด 2 ครั้งลงสู่ทะเลฝั่งตะวันออก
· รายงานการประชุมบีโอเจครั้งที่ผ่านมา ระบุว่า บรรดาคณะกรรมการบีโอเจกำลังพิจารณาถึงความเป็นไปได้ของการผ่อนคลายนโยบายการเงินเพิ่มเติม โดยมีคณะกรรมการรายหนึ่งเสนอความเห็นว่า ทางธนาคารกลางต้องคงการใช้นโยบายผ่อนคลายการเงินเพื่อหนุนเศรษฐกิจให้พ้นจากภาวะเงินฝืด และพร้อมที่จะเข้าช่วยเหลือเศรษฐกิจหากจำเป็น
การประชุมบีโอเจเดือน มิ.ย. ที่ผ่านมา ทางธนาคารมีมติคงอัตราดอกเบี้ย พร้อมส่งสัญญาณจะผ่อนคลายนโยบายเพิ่มเติม “โดยไม่ลังเล” หากเศรษฐกิจญี่ปุ่นได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก
· น้ำมันดิบปิดร่วงลงจากความกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจโลกที่อ่านอ่อนตัวลงไปอีก หลังจากที่ผู้นำสหรัฐฯ ขู่จะขึ้นภาษีสินค้าจากจีนอีก 10% ที่มีผลบังคับใช้ ก.ย. นี้
น้ำมันดิบ WTI ปิด -7.9% ที่ 53.95 เหรียญ/บาร์เรล โดยปรังตัวลงหลังจากที่ปรับขึ้นมาอย่างต่อเนื่องในช่วง 5 วันทำการก่อนหน้า และภาพรวมปรับลงระดับวันที่แย่ที่สุดในรอบกว่า 4 ปี
น้ำมันดิบ Brent ปิดร่วงกว่า 6% ที่ 60.67 เหรียญ/บาร์เรล หลังนายทรัมป์ทวิตข้อความ จึงทำให้ภาพรายวันเป็นการร่วงลงมากสุดตั้งแต่ ก.พ. ปี 2016