ตลาดกระทิงคือ?
ตลาดกระทิงกระทิง (ตลาดขาขึ้น) ถือภาวะที่ราคาปรับสูงขึ้นพร้อมกับปัจจัยต่างๆที่เป็นผลบวกต่อเศรษฐกิจ โดยหลักการที่ใช้วิเคราะห์ตลาดแบบกระทิงคือ การที่ราคาปรับสูงขึ้นมา 20% จากระดับต่ำล่าสุด โดยภาวะตลาดกระทิงอาจคงอยู่ได้ตั้งแต่หลายเดือนจนถึงหลายปี
ตลาดหมีคือ?
ตลาดหมีคือภาวะที่ตรงกันข้ามกับตลาดกระทิง (ตลาดขาลง) หมายถึงภาวะที่ราคามปรับร่วงลงอย่างต่อเนื่องท่ามกลางปัจจัยพื้นฐานที่เป็นลบต่อเศรษฐกิจ โดยปกติแล้ว ภาวะตลาดหมีมักจะมีการแกว่งของราคาที่รุนแรง และอาจคงอยู่เป็นเวลาหลายเดือนหรือหลายปี แต่มักจะเกิดขึ้นเร็วกว่าภาวะตลาดกระทิง
ความแตกต่างของตลากระทิงและตลาดหมี
- เทรดเดอร์ควรรู้จังหวะที่เหมาะสมในการ เข้าและออก ทั้งตลาดขาขึ้นและขาลง
- ปัจจัยพื้นฐานที่เป็นสัญญาณการเคลื่อนไหว เปลี่ยนแปลงของตลาด
- ความเชื่อมั่นเชิงบวกจะเป็นปัจจัยกระตุ้นตลาดกระทิง และความชื่อมั่นเชิงลบสะท้อนตลาดหมี
- การวิเคราะห์ทางเทคนิคจะช่วยให้คุณหาจุดเข้าและออกของตลาดได้
ปัจจัยบ่งชี้ถึงภาวะตลาดขาขึ้น VS ขาลง
การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานจะช่วยให้เหล่าเทรดเดอร์สามารถจับทิศทางตลาดการเงิน และนำมาประกอบกับเครื่องมือการวิเคราะห์อื่นๆหรือในทางเทคนิค ซึ่งโดยปกติธนาคารกลางถือเป็นปัจจัยที่ตลาดการเงินค่อนข้างให้ความสำคัญเพราะจะเป็นปัจจัยชี้วัดอย่างใกล้ชิดว่าเศรษฐกิจในอนาคตเป็นเช่นไร รวมทั้งแนวโน้มของดอกเบี้ยในอนาคตด้วย
อัตราดอกเบี้ยและตลาดอัตราแลกเปลี่ยน
หากธนาคารกลางใดๆมีการประกาศถึงการเปลี่ยนแปลงท่าทีการดำเนินนโยบายการเงินหรือแนวโน้มทางเศรษฐกิจ จะเป็นตัวบ่งชี้ถึงภาวะการขยายตัวหรือหดตัว และอัตราแลกเปลี่ยนรวมทั้งตราสารหนี้ก็จะผันแปรมูลค่าสะท้อนต่อสภาวะนั้นๆ
นอกจากนี้ ยังหมายรวมถึงผลกระทบจากสภาวะทางการเมือง ควบคู่กับข้อขัดแย้งทางการค้าหรือข้อขัดแย้งใดๆทั้งภายในและภายนอกประเทศด้วย
ทั้งนี้ ปัจจัยพื้นฐานของตลาดหุ้นก็จะแตกต่างกันไปจากมุมมองของภาคบริษัทต่างๆ โดยจะสะท้อนจาก เม็ดเงิน, เงินปันผล, ผลประกอบการ, การกลับเข้าลงทุน ควบคู่กับการบริหารจัดการต่างๆ และการวางกลยุทธ์หรือการตัดสินใจต่างๆ
แรงขับเคลื่อนสำคัญคือ "ความเชื่อมั่น"
ความเชื่อมั่นถือเป็นปัจจัยสำคัญมากๆต่อการตัดสินใจลงทุน และหากภาพรวมตลาดมีสภาวะความเชื่อมั่นสูงก็จะเป็นปัจจัยบวกหรือมุมมองบวกในการขับเคลื่อนตลาดกระทิง แต่หากภาพรวมความเชื่อมั่นขณะนั้นเป็นลบก็จะส่งผลกดดันให้ราคาในตลาดเป็นขาลงหรือปรับลงต่อได้
“Greed” และ “Fear” หรือ “ความโลภ” และ “ความกังวล” จะเป็นตัวบ่งชี้ภาวะขาขึ้นหรือลงของทองคำ โดยหากนักลงทุนมองเป็นขาขึ้นก็จะมีการเข้าซื้อและดันราคาให้ปรับขึ้นตามเทรน แต่หากตลาดกลับเป็นขาลง ก็มีโอกาสจะเห็นกลุ่มนักลงทุนปรับลดความเสี่ยง ทำให้เกิดแรงดึงดูดในการทำสถานะ Short และเข้าทำกำไรเมื่อราคาอ่อนตัวลง และความเชื่อมั่นนี้ถือเป็นเครื่องมือชี้วัดที่ค่อนข้างใช้ประเมินการเคลื่อนไหวของตลาด
ตลาดขาลงผันผวนมากกว่า
ในภาวะตลาดกระทิงหรือขาขึ้น บรรดาเทรดเดอร์จะค่อนข้างมั่นใจและมีการเตรียมพร้อมที่จะลงทุนหรือเข้าถือครองสถานะในระยะยาว
ในขณะที่ตลาดหมีหรือขาลง มักจะมีความไม่แน่นอนและความเป็นกังวลค่อนข้างมาก และทำให้ราคาถูกดันให้ปรับตัวลงมา
ดังนั้น หากคุณทำสถานะ Short ในตลาดหมี ก็อาจเป็นการยากที่คุณจะถือครองสถานะได้อย่างต่อเนื่อง เพราะคุณจะค่อนข้างเป็นกังวลต่อภาวะความไม่แน่นอนและความกังวลที่กำลังดำเนินไป และนั่นจะยิ่งกดดันให้ตลาดมีความผันผวนมากยิ่งขึ้น และอาจทำให้นักลงทุนมีการเข้าซื้อและขายเพราะไม่อาจตัดสินใจได้จากความไม่แน่ไม่นอนของราคา
เพราะในหลายๆครั้งการที่ราคาปรับตัวลงมาก็อาจทำให้เกิดการเข้าซื้อกลับเป็นการชั่วคราวได้ในลักษณะ “Buy the Dip” ขณะที่ผู้ถือ Short ก็ค่อนข้างจะทำกำไรเมื่อราคาปรับตัวลง และนั่นก็จะยิ่งเพิ่มความเชื่อมั่นต่อตลาดเชิงลบ ทำให้เราเห็นความไม่แน่ไม่นอนของราคา
ดังนั้นในการลงทุนขาลง จึงเปรียบกับสุภาษิตที่ว่า “Don’t Try to Catch a Falling Knife” หรือไม่ควรพยายามคว้ามีดที่กำลังตกลงมา เพราะระยะสั้นก็มีโอกาสเป็นขาขึ้น และระยะยาวก็มีโอกาสเป็นขาลงได้ อยู่ที่สภาวะรอบตัวต่างๆ
การวิเคราะห์ทางเทคนิค
ในเชิงเทคนิคจะวิเคราะห์ควบคู่กับสถิติที่มาช่วยประเมินราคาตลาด ณ ขณะนั้น โดยอ้างอิงการเคลื่อนไหวของราคาในอดีต ประกอบด้วยราคาและวอลลุมซื้อขาย เพื่อประเมินว่าตลาด ณ ขณะนั้น เป็นลักษณะ Undervalued หรือ Overvaluedโดยจะใช้กรอบเวลาการซื้อขายมาเป็นเงื่อนไขในการพิจารณาควบคู่ว่าราคาจะลงต่อหรือปรับขึ้นไปจากกราฟราคา ไม่ว่าจะเป็นช่วงเวลา 1 นาที หรือจะใช้ระดับวันหรือสัปดาห์แบบนักลงทุนระยะยาวก็ได้
ความแตกต่างของแนวโน้มราคาอาจช่วยให้เทรดเดอร์สามารถทำนายการเคลื่อนไหวในอนาคตได้ ดังนี้
- การบอกทิศทาง: ทิศทางขาขึ้น ที่มักจะมาควบคู่กับระดับราคาที่ทำ Higher Highs และ Higher Lows เพื่อยืนยันภาวะตลาดขาขึ้น ขณะที่ขาลงจะมีการทำ Lower Highs และ Lower Lows ก็จะเป็นตัวยืนยันภาวะตลาดขาลง
- การเคลื่อนไหวของราคาในอดีต: ในการวิเคราะห์ทางเทคนิคหลายๆครั้งในอดีตที่ผ่านมาก็ช่วยทำนายอนาคตได้ ว่าราคาในลักษณะเดียวกันนี้มีแนวโน้มจะขึ้นต่อหรือปรับตัวลง รวมทั้งภาวะปรับฐานที่เกิดขึ้นที่นำมาพิจารณาประกอบกัน
- ปริมาณการซื้อขายที่เป็นตัวบอกการเปลี่ยนแปลงของตลาด: หากมีการกลับทิศทางหรือวอลลุมซื้อขายจำนวนมากในเวลานั้น จะทำให้เหล่าเทรดเดอร์เริ่มระวังถึงการเปลี่ยนแปลงของแนวโน้มที่อาจเกิดขึ้นได้ หากมีการเคลื่อนไหวเป็นปกติหรือค่อนข้างน้อย ก็ดูจะไม่มีแนวโมของการกลับทิศทางใดๆ แต่หากปริมาณการซื้อขายที่เคยเพิ่มขึ้นกำลังอ่อนตัวลงก็มีแนวโมจะเห็นราคาค่อยๆ ปรับลง
ที่มา: DailyFX