• สรุปข่าวเศรษฐกิจ (ภาคค่ำ) ประจำวันที่ 6 สิงหาคม 2562

    6 สิงหาคม 2562 | Economic News


· ค่าเงินหยวนแข็งค่าลงเล็กน้อยจากระดับอ่อนค่าที่สุดเป็นประวัติการณ์ หลังรัฐบาลออกมาตรการป้องกันไม่ให้ค่าเงินหยวนอ่อนค่าไปมากกว่านี้

โดยทางการจีนระบุว่า การอ่อนค่าลงเงินหยวนอย่างฉับพลันเมื่อวานนี้ เกิดจากการที่ภาครัฐเทขายค่าเงินหยวนในตลาดฮ่องกง

นอกจากนี้ ธนาคารกลางจีนยังได้ปรับค่ากลางของเงินหยวนใหม่ที่ระดับ 6.9683 หยวน/ดอลลลาร์ แข็งค่ากว่าคาดการณ์ของตลาดที่ 6.9871 หยวน/ดอลลาร์ และแข็งค่ากว่าระดับสำคัญที่ 7 หยวน/ดอลลาร์ ที่อ่อนค่าหลุดไปเมื่อวานนี้

· นักวิเคราะห์จาก Mizuho Securities ระบุว่า การฟื้นตัวของค่าเงินหยวนเกิดจากการปรับค่ากลางใหม่ของธนาคารกลาง จึงลดความกังวลเกี่ยวกับโอกาสเกิดการแข่งขันกันลดค่าเงินเพื่อต่อสู้ในสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ-จีน

ทั้งนี้ ค่าเงินหยวนนอกประเทศปรับแข็งค่า 0.4% แถว 7.0677 หยวน/ดอลลาร์ หลังอ่อนค่าไปมากถึงระดับ 7.14 หยวน/ดอลลาร์เมื่อวานนี้ ขณะที่เงินหยวนในประเทศเปิดตลาดที่ 7.0699 หยวน/ดอลลาร์ และปิดตลาดที่ 7.0498 หยวน/ดอลลาร์

· นักวิเคราะห์จาก BMO Capital Markets มีมุมมองว่า เมื่อใดที่ธนาคารกลางจีนปรับค่ากลางเงินหยวนอ่อนค่ามากกว่า 7 หยวน/ดอลลาร์ขึ้นไป นั่นจะเป็นสัญญาณว่าพวกเขาพร้อมแล้วที่จะปล่อยให้ค่าเงินหยวนอ่อนค่าลงอย่างจริงจัง

การแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยของเงินหยวนได้ดึงดูดความสนใจของนักลงทุนออกจากค่าเงิน Safe-haven ส่งผลให้เงินเยนอ่อนค่า 0.6% แถว 106.56 เยน/ดอลลาร์ อ่อนค่าลงจากระดับแข็งค่าที่สุดในรอบ 16 เดือนที่ 105.52 เยน/ดอลลาร์

· ขณะที่ค่าเงินยูโรทรงตัวแถว 1.1208 หยวน/ดอลลาร์ หลังทำระดับสูงสุดในรอบ 18 วัน เมื่อเทียบกับดอลลาร์ในช่วงก่อนหน้า ส่วนดัชนีดอลลาร์ทรงตัวที่ระดับ 97.57 จุด



· นักวิเคราะห์จาก FXStreet ระบุว่า ข้อมูลคำสั่งซื้อสินค้าสินค้าภาคโรงงานอุตสาหกรรมเยอรมนีออกมาดีเกินคาด หนุนความเชื่อมั่นในยูโรโซนกลับมาอีกครั้ และทำให้ค่าเงินยูโรทรงตัวแถว 1.12 ดอลลาร์/ยูโร ท่ามกลางความตึงเครียดทางการค้าและค่าเงินหยวนแข็งค่า

ในเชิงเทคนิคค่าเงินยูโรทรงตัวใกล้ระดับเส้นค่าเฉลี่ย EMA 100 วัน ซึ่งหากราคาผ่าน 1.1275 ดอลลาร์/ยูโรไปได้ก็มีโอกาสกลับขึ้นบริเวณ 1.1300 ดอลลาร์/ยูโร และอาจกลับทดสอบแนวต้านแถว 1.1330 - 1.1340 ดอลลาร์/ยูโร

ในทางกลับกันหากหลุดแนวรับ 1.1175 ดอลลาร์/ยูโร ก็มีโอกาสกลับทดสอบ 1.1100 ดอลลาร์/ยูโรได้ แต่แนวรับถัดไปจะมาอยู่ที่ 1.1130 - 1.1125 ดอลลาร์/ยูโร



· นักวิเคราะห์จาก FXStreet กล่าวว่า แม้ว่าตลาดยังกังวลต่อภาวะ Hard Brexit ค่าเงินปอนด์ก็สามารถปรับแข็งค่าขึ้นได้ ท่ามกลางการตอบรับของตลาดต่อนายกรัฐมนตรีอังกฤษที่ไม่ล้มเหลวในการยุติการสนับสนุนการออกจากอียูแบบ No-Deal และทุกสายตาจับตาไปยังข่าวเศรษฐกิจที่จะมาเป็นประเด็นกับตลาดอีกครั้ง

ดังนั้น จึงแนะนำให้รอดูสถานการณ์และหาจังหวะเข้าซื้อหาก Break เหนือ 1.2250 ดอลลาร์/ปอนด์ได้ ก็จะมีเป้าหมายต่อไปที่ 1.2300 ดอลลาร์/ปอนด์ อย่างไรก็ดี หากค่าเงินอ่อนตัวจาก 1.2385-1.2382 ดอลลาร์/ปอนด์ ก็มีโอกาสกลับลงมาทำต่ำสุด 1.2080 ดอลลาร์/ปอนด์ และมีโอกาสปรับลงสู่ระดับ 1.2000 ดอลลาร์/ปอนด์

· Daily FX มีมุมมองว่า ค่าเงินดอลลาร์อาจมีการเคลื่อนไหวผันผวนระหว่างถ้อยแถลงของนายเจมส์ บูลลาร์ด ประธานเฟดสาขาเซนหลุยส์ ที่มีกำหนดกล่าวถ้อยแถลงในคืนนี้ รวมถึงในช่วงการประกาศตัวเลขเศรษฐกิจภาคอุตสาหกรรมของเยอรมนีที่ถูกคาดการณ์ว่าจะออกมาอ่อนแอ ทั้งนี้ ค่าเงินดอลลาร์มีโอกาสแข็งค่าขึ้นหากถ้อยแถลงออกมาในเชิงผ่อนคลายทางการเงิน แต่หลังจากการประกาศนโยบายของเฟดหลังการประชุมครั้งล่าสุด บ่งชี้ว่าถ้อยแถลงคืนนี้มีแนวโน้มออกมาในเชิง Neutral

· หลังจากที่เงินหยวนอ่อนค่าอย่างหนักเมื่อวานนี้ ทางธนาคารกลางจีนก็มีการกำหนดค่าเงินหยวนมาในระดับแข็งค่ามากขึ้นวันนี้แตะระดับ 6.9683 หยวน/ดอลลาร์ โดยหลังจากที่หยวนทรงตัวบริเวณ 7.0304 หยวน/ดอลลาร์ หลังจากไปทำระดับสูงสุดที่ 7.0807 หยวน/ดอลลาร์ ซึ่งถือเป็นระดับอ่อนค่ามากที่สุดนับตั้งแต่ช่วง พ.ค. ปี 2008


· ตลาดโดยทั่วไปจับตาท่าทีค่าเงินหยวนอย่างใกล้ชิด หลังจากที่สหรัฐฯกล่าวหาว่าจีนมีการปั่นค่าเงิน เนื่องจากเมื่ีอวานนี้เงินหยวนอ่อนค่าอย่างไม่คาดคิดหลังจากที่ไม่กี่วันก่อน นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯมีการประกาศจะขึ้นภาษีสินค้าจีนรอบใหม่ จึงทำให้ถูกคาดว่าการอ่อนค่าดังกล่าวเป็นหนึ่งในวิธีการตอบโต้ของจีน


· นักกลยุทธ์ค่าเงินจาก Bank of America Merrill Lynch Global Research กล่าวว่า ค่อนข้างชัดเจนว่าการเคลื่อนไหวดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของจีนในการตอบโต้สหรัฐฯ

· คำสั่งซื้อภาคอุตสาหกรรมของเยอรมนีเดือน มิ.ย. ประกาศออกมาที่ 2.5% จากเดือนก่อนหน้า ซึ่งขยายตัวมากกว่าที่คาดไว้ที่ 0.5% และเป็นอัตราที่มากที่สุดนับตั้งแต่เดือน ส.ค. ปี 2017 ท่ามกลางแรงหนุนจากการเข้าซื้อตั๋วงานใหญ่ๆจากผู้ซื้อนอกประเทศกลุ่มยูโรโซน ขณะที่รัฐมนตรีกระทรวงเศรษฐกิจแห่งเยอรมนีออกมาประกาศมา ทิศทางการชะลอตัวของเศรษฐกิจเริ่มที่จะชะลอตัวลงในไตรมาสที่ 2 อย่างนัยสำคัญ


· รายงานจากเกาหลีใต้ระบุว่า เกาหลีเหนือได้ยิงทดสอบขีปนาวุธเป็นครั้งที่ 4 ภายในระยะเวลาเพียง 2 สัปดาห์วันนี้ เพื่อเป็นสัญญาณต่อต้านการซ้อมรบร่วมระหว่างสหรัฐฯ-เกาหลีใต้


· อดีตประธานเฟด 4 ราย เรียกร้องให้เฟดยังคงมีอิสระในการทำงานโดยปราศจากความกังวลใดๆจากการตอบโต้ทางการเมืองในเรื่องการดำเนินดอกเบี้ย


หลังจากที่นายทรัมป์ ผู้นำสหรัฐฯ มีการตำหนิการขึ้นดอกเบี้ยของเฟดจำนวน 4 ครั้งในปีที่ผ่านมา และกล่าวหาว่า นายเจอโรม โพเวลล์ ประธานเฟดว่าใช้นโยบายที่ฉุดให้เศรษฐกิจถดถอย จึงอาจนำไปสู่การปลดนายโพเวลล์ออกจากตำแหน่งได้

โดยบรรดาอดีตประธานเฟดยังคงให้การสนับสนุนเฟดและเชื่อว่าประธานเฟดจะดำเนินนโยบายอย่างเป็นเอกเทศน์และเหมาะสมด้วยอัตราดอกเบี้ยที่ดีที่สุดต่อสภาพเศรษฐกิจ ดังนั้น เฟดจึงควรดำเนินนโยบายอย่างอิสระ แม้ว่าจะเผชิญแรงกดดันทางการเมืองระยะสั้น

· รัฐบาลอินเดียประกาศยกเลิกสถานะพิเศษให้กับพื้นที่รัฐกัศมีร์ (Kashmir) ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีความขัดแย้งด้านการปกครองร่วมกับปากีสถาน ซึ่งจะส่งผลกระทบให้รัฐชัมมูและกัศมีร์ (Jammu and Kashmir) ไม่สามารถออกกฏหมายได้ด้วยตัวเอง ขณะที่ทางปากีสถานกล่าวประนามการตัดสินใจดังกล่าวของอินเดีย ส่งผลให้ความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศที่มีนิวเคลียร์ในการครอบครองทั้งคู่มีแนวโน้มที่จะเลวร้ายลง

· รัฐบาลจีนประกาศเตือนถึงมาตรการตอบโต้ หากสหรัฐฯเดินหน้าติดตั้งฐานยิงขีปนาวุธพิสัยระยะกลางลงภายในพื้นที่ของทวีปเอเชีย

โดยก่อนหน้านี้ นายมาร์ค เอสเปอร์ รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหม ระบุว่า กำลังพิจารณาเสนอให้กองทัพติดตั้งระบบขีปนาวุธดังกล่าวใลงในพื้นที่เอเชีย ซึ่งอาจดำเนินการแล้วเสร็จภายในเวลาไม่กี่เดือนข้างหน้า

เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา สหรัฐฯประกาศถอนตัวออกจากข้อตกลงเกี่ยวกับขีปนาวุธพิสัยระยะกลางที่ก่อตั้งขึ้นในปี 1987 ร่วมกับสหภาพโซเวียตอย่างเป็นทางกาสร ซึ่งข้อตกลงดังกล่าวกำหนดกรอบให้สามารถติดตั้งระบบขีปนาวุธได้ภายในระยะ 500 – 5,000 กิโลเมตรเท่านั้น

· หัวหน้าฝ่ายเศรษฐศาสตร์จาก Goldman Sachs ปรับมุมมองหลังจากความคืบหน้าของสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ-จีนครั้งล่าสุด โดยมองว่าภายในปีนี้ทั้งสองฝ่ายจะไม่สามารถหาข้อตกลงร่วมกันได้ เนื่องจากทั้งสองฝ่ายต่างเดินหน้ากดดันกันอย่างหนัก

สำหรับแนวโน้มเฟดปรับลดดอกเบี้ยในภายในปีนี้ คาดว่าจะปรับทั้งหมด 3 ครั้ง โดยมองโอกาส 75% สำหรับเดือน ก.ย. และ 50% ในเดือน ต.ค. จากเดิมที่มองไว้ที่ 2 ครั้งสำหรับปีนี้ เนื่องจากเฟดน่าจะตอบสนองกับสถานการณ์ของสงครามการค้าที่เลวร้ายลง

· ราคาน้ำมันดิบปรับตัวสูงขึ้น 1% จากแรงเข้าซื้อเพื่อการเก็งกำไร หลังจากที่ร่วงลงไปในช่วงก่อนหน้านี้ ท่ามกลางความไม่แน่นอนทางด้านสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีน

ราคาน้ำมันดิบ Brent ลดลงกว่า 8% ใน 3 วันก่อนหน้านี้ หลังจากที่นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ได้ข่มขู่จะขึ้นภาษีจีนรอบใหม่เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ล่าสุด จีนได้ตอบโต้ด้วยการลดค่าเงินของหยวนอ่อนค่าหลุดระดับสำคัญ

ขณะที่เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา ราคาน้ำมันดิบ Brent ลดลง 3% เนื่องจากเหล่าเทรดเดอร์กังวลเกี่ยวกับสงครามทางการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีน

ทั้งนี้ ราคาน้ำมันดิบ Brent ลดลง 1% ในวันนี้ ที่ะรดับ 60.36 เหรียญ/บาร์เรล ด้านราคาน้ำมันดิบ WTI ลดลง 1.1% ที่ระดับ 55.28 เหรียญ/บาร์เรล



บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com