· ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวลดลงติดต่อกัน 8 วันทำการ ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับความไม่แน่นอนทางสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีน อย่างไรก็ดี การร่วงลงเป็นไปได้อย่างจำกัด หลังจากนายแลร์รี่ คุดโลว์ หัวหน้าที่ปรึกษาฝ่ายเศรษฐกิจประจำทำเนียบขาว กล่าวว่า ประธานาธิบดี ทรัมป์ยังคงเปิดกว้างในการทำข้อตกลงการค้ากับจีน ซึ่งจะทำให้สหรัฐใช้ความยืดหยุ่นในการเรียกเก็บภาษีต่อสินค้านำเข้าจากจีน
โดยดัชนี MSCI ที่ไม่รวมหุ้นญี่ปุ่น ปรับลดลงเล็กน้อย 0.2%
· ตลาดหุ้นญี่ปุ่นปรับตัวลดลง ท่ามกลางการแข็งค่าของค่าเงินเยนและความกังวลเกี่ยวกับสงครามสกุลเงินทั่วโลกกระตุ้นให้นักลงทุนขายสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยง แม้ว่าผลประกอบการจะเพิ่มขึ้นและหุ้นสหรัฐฯจะรีบาวน์ก็ตาม โดยดัชนีNikkei ลดลง 0.33% ที่ระดับ 20,516.56 จุด
ผู้จัดการประจำ SMBC Nikko Securities. ระบุว่า การอ่อนค่าของค่าเงินเยนและความกังวลต่อสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีน รวมทั้งสงครามค่าเงิน เป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อตลาด ขณะที่ค่าเงินหยวนยังอยู่เหนือระดับ 7 ต่อดอลลาร์
· ตลาดหุ้นจีนปรับตัวลดลงติดต่อกัน 6 วันทำการ ท่ามกลางความไม่แน่นอนทางด้านสงครามการค้า
โดยดัชนี Shanghai Composite ลดลง 0.3% ที่ระดับ 2,768.68 จุด เป็นครั้งแรกในปีนี้ ที่ดัชนี Shanghai ปรับตัวลงต่ำกว่าเส้นค่าเฉลี่ยราย 250 วัน ซึ่งเป็นระดับสำคัญที่แยกตลาดขาขึ้นและขาลง
· ตลาดหุ้นยุโรปส่วนใหญ่ปรับตัวสูงขึ้น หลังจากที่ธนาคารกลางจีนปรับค่ากลางเงินหยวนให้อ่อนค่าลงกว่าที่คาด ท่ามกลางความไม่แน่นอนเกี่ยวกับประเด็นสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีน
โดยดัชนี Stoxx600 เพิ่มึข้น 0.2% ด้านหุ้นสารเคมีเพิ่มขึ้น 0.6% ขณะที่หุ้นทรัพยากรลดลง 0.9%
· อ้างอิงจากโพสทูเดย์
- คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติ 5 ต่อ 2 ให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% จาก 1.75% เป็น 1.50% โดยให้มีผลทันที เนื่องจากเศรษฐกิจมีแนวโน้มขยายตัวได้ต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้
การส่งออกขยายหดตัวมากกว่าที่ประเมินจากสงครามการค้า นอกจากนี้การบริโภคภาคเอกชนชะลอ การท่องเที่ยวลดลง และการลงทุนก็มีสัญญาณชะลอตัวลงอีก รวมถึงการใช้จ่ายภาครัฐขยายตัวได้ต่ำ
ขณะเดียวกันคณะกรรมการยังกังวลค่าเงินบาทที่แข็งค่าเพิ่มมากขึ้นเมื่อประเทศคู่ค้าทำให้จะกระทบกับการขยายตัวเศรษฐกิจไทยเพิ่มมากขึ้นไป ซึ่งเศรษฐกิจไทยมีปัญหาเชิงโครงสร้างกระทบการแข่งขันและการขยายตัวในอนาคตซึ่งต้องได้รับการแก้ไขจากทุกภาคส่วนอย่างจริงจัง
· อ้างอิงจากสำนักข่าวอินโฟเควสท์
- ประธานสมาคมธนาคารไทย ในฐานะประธานการประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) เปิดเผยว่า ที่ประชุม กกร. ประเมินว่า ในช่วงครึ่งแรกของปี 62 เครื่องชี้เศรษฐกิจไทยทั้งการส่งออก และการใช้จ่ายภายในประเทศมีสัญญาณที่อ่อนแรงลงต่อเนื่อง โดยในไตรมาสที่ 2 ปี 62 เครื่องชี้ส่วนใหญ่มีทิศทางที่ชะลอตัวลงเมื่อเทียบกับไตรมาสแรก สะท้อนว่าเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวต่ำกว่าไตรมาสแรกที่ขยายตัว 2.8%
สำหรับในช่วงครึ่งปีหลัง เศรษฐกิจไทยยังเผชิญความท้าทายจากหลายปัจจัย โดยเฉพาะเมื่อสหรัฐฯ เตรียมที่จะปรับขึ้นภาษีนำเข้าในอัตรา 10% ต่อสินค้าจีนวงเงิน 3 แสนล้านดอลลาร์ฯ ในวันที่ 1 ก.ย.62 ขณะที่จีนได้ปรับค่าเงินหยวนอ่อนค่าหลุดระดับ 7 หยวน/ดอลลาร์ฯ ถือเป็นระดับที่อ่อนค่าสุดในรอบ 11 ปี จากนั้นสหรัฐฯ ก็ระบุว่าจีนเป็นประเทศที่บิดเบือนค่าเงิน (Currency Manipulator) ซึ่งน่าจะนำมาสู่มาตรการเพิ่มเติมจากฝั่งสหรัฐฯ และส่งผลให้สงครามการค้ามีความเสี่ยงที่อาจจะรุนแรงมากขึ้น นอกจากนี้ มีความเป็นไปได้มากขึ้นที่สหราชอาณาจักรอาจจะต้องออกจากสหภาพยุโรปโดยไร้ข้อตกลง (No Deal Brexit) ในวันที่ 31 ต.ค.นี้
- รองนายกรัฐมนตรีไทย กล่าวว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างจัดทำมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ คาดอีก 2 สัปดาห์แล้วเสร็จ และเสนอเข้าที่ประชุมครม.เศรษฐกิจ พิจารณา โดยในเบื้องต้นคาดว่าจะประชุมนัดแรกวันที่ 19 ส.ค.นี้
นายสมคิด กล่าวว่าได้กำชับให้หน่วยงานทั้งหมดพิจารณาให้รอบคอบ ส่วนจะเป็นมาตรการยาแรงหรือไม่ใช่ยาแรง และใช้งบประมาณในการดำเนินการเท่าไหร่ให้ไปถามรมว.คลัง
ส่วนมาตรการเพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยว นายสมคิด กล่าวว่า ถือเป็นส่วนหนึ่งของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่กระทรวงการคลังพร้อมให้การสนับสนุน แต่ในรายละเอียดเป็นหน้าที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ซึ่งยังไม่ได้มีการนำเสนอเข้ามาให้พิจารณา หลังจากนี้จะมีการหารือกันอีกครั้งเพื่อสรุปรายละเอียดก่อนเสนอครม.เศรษฐกิจและ ครม.ชุดใหญ่ ตามขั้นตอนต่อไป
- นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ หัวหน้าพรรคเพื่อไทย และแกนนำ 7 พรรคฝ่ายค้าน กล่าวถึงการตั้งกระทู้ถามสดในการประชุมสภาผู้แทนราษฎรวันนี้ (7 ส.ค.) ถึงการกล่าวคำถวายสัตย์ปฏิญาณของคณะรัฐมนตรีไม่ครบตามรัฐธรรมนูญว่า จะรอถามนายกรัฐมนตรีเท่านั้น แต่หากนายกรัฐมนตรีไม่มาตอบ ก็จะเลื่อนไปจนกว่านายกรัฐมนตรีจะมีเวลามาตอบด้วยตัวเอง อย่างไรก็ดี ยังไม่คิดจะส่งเรื่องดังกล่าวให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาตีความสถานะของคณะรัฐมนตรี (ครม.)
· อ้างอิงจาก ธปท
- นายทิตนันทิ์ มัลลิกะมาส เลขานุการ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) แถลงผลการประชุมกนง. ในวันที่ 7 สิงหาคม 2562คณะกรรมการฯ มีมติ5 ต่อ 2 เสียงให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.25 ต่อปี จากร้อยละ 1.75 เป็นร้อยละ 1.50 ต่อปีโดยให้มีผลทันที ขณะที่2 เสียงเห็นควรให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 1.75 ต่อปีในการตัดสินนโยบาย คณะกรรมการฯ ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวต่่ากว่าที่ประเมินไว้จากการส่งออกสินค้าที่หดตัวและเริ่มส่งผลไปสู่อุปสงค์ในประเทศ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปมีแนวโน้มต่่ากว่าขอบล่างของกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อ ภาวะการเงินโดยรวมยังอยู่ในระดับผ่อนคลาย เสถียรภาพระบบการเงินได้รับการดูแลไปแล้วบางส่วน แต่ยังมีปัจจัยเสี่ยงที่ต้องติดตาม นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมากขึ้นจะมีส่วนช่วยสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจและเอื้อให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปกลับสู่กรอบเป้าหมายกรรมการส่วนใหญ่จึงเห็นควรให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ส่วนกรรมการ 2 ท่านเห็นว่าการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในภาวะที่นโยบายการเงินอยู่ในระดับที่ผ่อนคลายอยู่แล้ว อาจไม่ช่วยสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจเพิ่มได้มากนัก เมื่อเทียบกับความเสี่ยงด้านเสถียรภาพระบบการเงินที่อาจเพิ่มสูงขึ้น รวมทั้งยังมีความจ่าเป็นที่ต้องรักษาขีดความสามารถในการด่าเนินนโยบายการเงิน (policy space) เพื่อรองรับความเสี่ยงในอนาคต