• สรุปข่าวเศรษฐกิจ (ภาคค่ำ) ประจำวันที่ 7 สิงหาคม 2562

    7 สิงหาคม 2562 | Economic News

· ค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่าลงเมื่อเทียบเงินเยน ในขณะที่เงินหยวนก็อ่อนค่าต่อ ท่ามกลางกลุ่มนักลงทุนที่กังวลว่าจีนจะใช้นโยบายค่าเงินมาต่อกรกับสหรัฐฯในเรื่องสงครามการค้า

ธนาคารกลางจีนวันนี้กำหนดค่ากลางเงินหยวนในระดับอ่อนค่ามากขึ้นกว่าที่หลายฝ่ายคาดหวังไว้ แม้ว่าจะไม่ได้อ่อนค่าไปมากกว่าระดับเมื่อวานเท่าไหร่นัก แต่ก็ถือเป็นการเปิดโอกาสให้เงินหยวนกลับมาอ่อนค่ามากขึ้นเมื่อเทียบดอลลาร์

· นักวิเคราะห์จาก JP Morgan Securities มองว่า ข้อพิพาททางการค้าจะเข้ามาบั่นทอนความเชื่อมั่นในตลาดการเงิน เราจึงเห็นการอ่อนตัวลงของอัตราผลตอบแทนพันธบัตร ในขณะที่เยนแข็งค่าขึ้น โดยเรามีโอกาสเห็นหยวนอ่อนค่าไปแตะ 7.35 หยวน/ดอลลาร์ ขณะที่ค่าเงินเยนน่าจะแข็งค่ากลับลงมาแตะ 104-103 เยน/ดอลลาร์ในช่วงสิ้นปีนี้

ค่าเงินเยนล่าสุดแข็งค่าลงมา 0.3% ที่ระดับ 106.13 เยน/ดอลลาร์ ขณะที่เงินหยวนอ่อนค่ากลับมาแถว 7.0701 หยวน/ดอลลาร์ ใกล้เคียงกับระดับอ่อนค่ามากที่สุดนับตั้งแต่ปี 2010 บริเวณ 7.1397 หยวน/ดอลลาร์

ดัชนีดอลลาร์ทรงตัวที่ 97.474 จุด ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปี ปรับลงต่อในตลาดเอเชียแถว 1.6888% ใกล้ต่ำสุดรอบเกือบ 3 ปี ทางด้านยูโรทรงตัวที่ 1.1202 ดอลลาร์/ยูโร

· ข้อมูลจาก DailyFX สะท้อนว่า สงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีนไม่มีวี่แววจะสิ้นสุดลงง่ายๆ และความตึงเครียดที่เกิดขึ้นก็ดูจะเป็นปัจจัยปั่นป่วนตลาด และประเด็นตึงเครียดล่าสุดก็ดูจะเป็นประเด็นใหญ่ของตลาด โดยที่ทั้งสองฝ่ายก็ยังไม่สามารถหาทางแก้ไขปัญหาร่วมกันได้ จึงยิ่งเห็นแรงเทขายครั้งใหญ่เข้ามาในตลาดโดยตลอดในปีนี้ ซึ่งล่าสุด นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ มีการประกาศจะขึ้นภาษีสินค้าจากจีนเพิ่ม 10% ที่ระดับ 3 แสนล้านเหรียญ

ขณะที่ช่วงต้นสัปดาห์ที่ผ่านมาค่าเงินหยวนมีการ Break ระดับสำคัญทางจิตวิทยาบริเวณ 7.00 หยวน/ดอลลาร์ขึ้นมาได้ โดยอ่อนค่าหนักสุด ที่ทำให้หลายฝ่ายคาดว่าเป็นผลจากการเพิ่มกำแพงภาษีและนโยบายกีดกันการค้า ขณะที่ นายทรัมป์ก็มีการทวิตเตอร์ข้อความกลาวหาว่าจีนทำการปั่นค่าเงินให้ยืนเหนือ 7.00 หยวน/ดอลลาร์

นอกจากนี้ ภาคบริษัทในจีนกำลังระงับการนำเข้าสินค้าเกษตรของสหรัฐฯ ตามอ้างอิงจากสื่อจีน และคาดว่าน่าจะเห็นนายทรัมป์หามาตรการตอบโต้ เนื่องจากการกระทำดังกล่าวน่าจะส่งผลกระทบเชิงลบต่อตัวเขาในการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯในปี 2020

· นักวิเคราะห์ FXStreet กล่าวว่า ค่าเงินเยนอ่อนค่าลงในตลาดเอเชีย จากแรงเทขายทำกำไรที่เข้ามาในตลาดพันธบัตรเช้านี้ ประกอบกับตลาดหุ้นเอเชียที่มีการซื้อขายด้วยท่าทีระมัดระวังต่อการกำหนดหยวนอ่อนค่าในวันนี้

ค่าเงินเยนทรงตัวแถวเส้นค่าเฉลี่ย Fibonacci Retracement 23.6% โดยมีการเคลื่อนไหวในกรอบระหว่าง 105.51 - 109.31 เยน/ดอลลาร์ อย่างไรก็ดี สัญญาณทางเทคนิคยังชี้ว่ามีการเคลื่อนไหวเชิงลบอยู่ หลังจากที่เผชิญกับภาวะOversold จึงมีความเสี่ยงจะเห็นค่าเงินเยนกลับแข็งค่าลงมาได้หาก Break 106 เยน/ดอลลาร์

แนวรับ: 106.00 105.75 105.40

แนวต้าน: 106.70 107.00 107.40

· ค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียแข็งค่ามากสุดเมื่อเทียบกับสกุลเงิน G10 หลังจากที่ธนาคารกลางออสเตรเลีย หรือ RBA บ่งชี้ว่าจะรอคอยเวลาเพื่อพิจารณา ก่อนจะทำการปรับลดดอกเบี้ยครั้งต่อไป ท่ามกลางตลาดที่ตอบรับกับข้อมูลยอดเกินดุลการค้าเป็นประวัติการณ์ในเดือนมิ.ย. ที่ระดับ 8.04 พันล้านเหรียญ หรือเพิ่มขึ้น 30% เมื่อเทียบเดือนก่อนหน้าสู่ระดับสูงสุดใหม่เป็นประวัติการณ์ อันเป็นผลจากการเติบโตของยอดส่งออก ควบคู่กับยอดนำเข้าที่ลดลงในเดือนที่แล้ว

· อาวุธสำคัญทางการค้าคือ “สินค้าทางการเกษตร” ที่ดูเหมือนจะถูกนำมาใช้เป็นทางเลือกสำหรับ Trade War ระหว่างสหรัฐฯและจีน โดยที่ทางการจีนมีการยกเลิกการเข้าซื้อสินค้าเกษตรสหรัฐฯ ส่งผลให้เกษตรกรสหรัฐฯสูญเสียลูกค้ารายใหญ่ที่สุดไป และดูจะเป็นความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อราคาสินค้าพืชผลรวมทั้งสินค้าโภคภัณฑ์ และจะกระทบต่อจีดีพี ส่งผลเสียต่อภาคบริษัทที่ทำธุรกิจโดยตรงด้านการเกษตร

ทั้งนี้ จีนมีการเพิ่มเม็ดเงิน 5.9 พันล้านเหรียญ ต่อสินค้าส่งออกด้านเกษตรของสหรัฐฯในปีที่แล้ว โดยมีการนำเข้าถั่วเหลืองมากที่สุด หรือคิดเป็นร้อยละ 60 ของการส่งออกถั่วเหลืองทั้งหมดของสหรัฐฯ ซึ่งทาง Westoff ประเมินไว้ว่านับตั้งแต่ที่เริ่ม Trade War กันในช่วงปลายเดือนก.ค. เราน่าจะเห็นราคาร่วงลงมาอีกกว่า 9%

ผลสำรวจจาก Westoff ยังคาดว่ายอดส่งออกถั่วเหลืองสหรัฐฯจะปรับลงอีก 4 พันล้านเหรียญ หลังได้รับผลกระทบจากการขึ้นกำแพงภาษี แต่เป็นช่วงก่อนที่จะสูญเสียกลุ่มผู้บริโภคของจีน นอกจากนี้ การขึ้นภาษีจะส่งผลกระทบให้แก่สินค้าธัญพืชอื่นๆ ไม่เพียงแต่อุปสงค์ของถั่วเหลือง แต่เกษตรกรอาจมีการยุติการปลูกธัญพืชเพิ่มขึ้นอย่างข้าวโพด และผลที่ตามมาคือราคาข้าวโพดจะปรับตัวลง และจะทำให้มีอุปทานที่มากเกินไป

อดีตผู้ว่าการจากรัฐไอโอว่า กล่าวว่า การสูญเสียคู่ค้าคนสำคัญอย่างประเทศจีนดูจะยิ่งเพิ่มสถานการณ์อันตรายมากขึ้น และจะเป็นสถานการณ์ตึงเครียดจริงจังของเกษตรกร

· รายงานจาก DailyFX ชี้ว่า ค่าเงินรูปีเมื่อเทียบดอลลาร์อาจอ่อนค่าลงได้อีกหากความตึงเครียดทางการค้าระหว่างสหรัฐฯและอินเดียทวีความรุนแรงขึ้นก็จะจุดประกายความกังวลให้แก่ตลาด โดยเมื่อ 1 มิ.ย. นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯมีการขู่จะขึ้นภาษีสินค้านำเข้าอินเดียมูลค่า 6 พันล้านเหรียญ

ขณะที่เมื่อวันที่ 15 มิ.ย. ที่ผ่านมา นายนาเรนดรา โมดิ นายกรัฐมนตรีอินเดียก็มีการประกาศจะตอบโต้กลับ โดยอาจขึ้นภาษีสินค้านำเข้าจากสหรัฐฯกว่า 18 รายการ อันหมายรวมถึง สินค้าเกษตร เช่น แอปเปิ้ล, อัลมอนด์ และต้นวอลนัท โดยอ้างอิงถึงกรณี Trade War ของสหรัฐฯและจีนที่ล่าสุดจีนมีการตอบโต้สินค้าเกษตรของสหรัฐฯ ซึ่งเป็นกลุ่มสนับสนุนหลักของนายทรัมป์

และทั้งหมดนี้อาจเป็นความเสี่ยงที่อินเดียจะเลือกใช้เพื่อตอบโต้กลับจากสหรัฐฯ และจะยิ่งมีกำแพงภาษีที่สูงขึ้น และเมื่อพิจารณาจากภาพประกอบด้านล่าง ก็จะเห็นว่าอินเดียก็เป็นหนึ่งในด้านการส่งออกสุทธิที่ดีของสหรัฐฯ และสูงสุดเกือบ3 เท่าของประเทศเนปาล และสหรัฐฯเองก็มียอดขาดดุลกับอินเดียเพียงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับจีน เม็กซิโก และแคนาดา


· ธนาคารกลางอินเดียทำการปรับลดดอกเบี้ยลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4 ในการประชุมปีนี้ เพื่อสนับสนุนการขยายตัวของเงินเฟ้อ และสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจที่กำลังเผชิญกับภาวะชะลอตัวที่สุดในรอบเกือบ 5 ปี โดยล่าสุดมีมติหั่นดอกเบี้ยลง 0.35% สู่ระดับ 5.40% สูงกว่าที่ผลสำรวจรอยเตอร์สที่สำรวจไว้ว่ามีโอกาส 80% ที่จะเห็นการค่อยๆปรับลดดอกเบี้ย 0.25%

สำหรับดอกเบี้ย Reverse Repo ถูกปรับลดลงมาที่ 5.15% (อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมธนาคารพาณิชย์)

· ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลง เนื่องจากความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับเศรษฐกิจโลกและความต้องการเชื้อเพลิงท่ามกลางสงครามทางการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐฯที่ทวีความรุนแรงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ราคาน้ำมันดิบ Brent ลดลง 0.32% ที่ระดับ 58.75 เหรียญ/บาร์เรล ขณะที่ราคาน้ำมันดิบ WTI ลดลง 0.22% ที่ระดับ 53.51 เหรียญ/บาร์เรล

สำหรับสัปดาห์ที่ผ่านมาน้ำมันดิบ Brent ร่วงลงกว่า 9% หลังจากที่นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ประกาศว่าจะขึ้นภาษีสินค้านำเข้าจากจีนอีก 10% เป็นมูลค่า 3 แสนล้านเหรียญ ที่จะเริ่มต้นในวันที่ 1 ก.ย.ที่จะถึงนี้ ส่งผลผลกระทบต่อตลาดหุ้นทั่วโลก

ทั้งนี้ นักวิเคราะห์จาก ANZ ระบุว่า ราคาน้ำมันดิบยังคงถูกกดดันจากความไม่แน่นอนทางสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีนอยู่

บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com