หุ้นดาวโจนส์ปิด -22.45 จุด หรือ -0.1% ที่ระดับ 26,007.07 จุด หลังระว่างวันร่วงลง 589.13 จุด ขณะที่ Nasdaq ปิด +0.4% ที่ 7,862.83 จุด จากหุ้นแอปเปิ้ลที่ปรับลงหลังกลุ่มเทคโนโลยีปรับลงกว่า 1.7% และหุ้น S&P500 ปิด +0.1% ที่ระดับ 2,883.98 จุด กลังจากที่ร่วงลงไปเกือบ 2%
อัตราผลตอบแทนอายุ 10 ปีของสหรัฐฯ ปรับลงต่ำกว่า 1.6% ทำต่ำสุดตั้งแต่ปี 2016
อย่างไรก็ดี ตลาดหุ้นสหรัฐฯรีบาวน์จากจุดต่ำสุดวานนี้ได้ อันเป็นผลจากค่าเงินหยวนที่ถูกจำกัดการอ่อนค่าเมื่อเทียบดอลลาร์
· ตลาดหุ้นยุโรปปิดในแดนบวกเมื่อคืนนี้ แม้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรในยูโรโซนจะปรับร่วงลงจามความกังวลเศรษฐกิจโลกชะลอตัวก็ตาม เนื่องจากบรรดานักลงทุนให้ความสำคัญกับค่าเงินหยวนที่เริ่มฟื้นตัวจากระดับอ่อนค่าเป็นประวัติการณ์หลังธนาคารกลางจีนตั้งค่ากลางของเงินหยวนไว้ที่ 6.9996 หยวน/ดอลลาร์
ทั้งนี้ ดัชนี Stoxx 600 ปิด +0.2% ท่ามกลางหุ้นส่วนใหญ่ที่เคลื่อนไหวแดนบวก นำโดยหุ้นกลุ่มการท่องเที่ยวและสันทนาการ ขณะที่หุ้นกลุ่มน้ำมันและพลังงานปรับลดลงจากราคาน้ำมันที่ต่ำลง
· ตลาดหุ้นเอเชียเปิดผสมผสานก่อนหน้าการประกาศข้อมูลเศรษฐกิจจีน ที่อาจประกาศออกมาอ่อนแอลงจากผลกระทบของสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ-จีน
ทั้งนี้ ในตลาดญี่ปุ่น ดัชนี Nikkei เปิด +0.17% ขณะที่ดัชนี Topix เปิด -0.12% ส่วนเกาหลีใต้ ดัชนี Kospi เปิด +0.63% ท่ามกลางหุ้น Hyundai Motor ที่ปรับขึ้น 1.57% ในภาพรวม ดัชนี MSCI ปรับลดลง 0.09%
· อ้างอิงจากสำนักข่าวอินโฟเควสท์
- นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทวันนี้ไว้ที่ระหว่าง 30.70-30.85 บาท/ดอลลาร์ โดยค่าเงินบาทค่อนข้างผันผวน แต่ถือว่าอ่อนค่าไม่มากนักถ้าเทียบกับการที่ กนง.เซอร์ไพรส์ตลาดด้วยการลดดอกเบี้ย ทั้งๆ ที่ในการประชุม กนง.รอบที่แล้วยังมีมติเป็นเอกฉันท์ว่าการประชุมครั้งนี้จะคงดอกเบี้ย แต่การลดดอกเบี้ยครั้งนี้เนื่องจากมีมุมมองต่อเศรษฐกิจในเชิงลบทุกรายการ ซึ่งหลังจากนี้ตลาดคงจับตารอดูมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่จะนำออกมาใช้
สำหรับปัจจัยเรื่องผลประชุม กนง.คาดว่าตลาดคงรับข่าวกันไปเต็มที่ในวันนี้ และมีการรอขายแถวๆ 30.90-31.00 บาท/ดอลลาร์ค่อนข้างมาก ส่วนปัจจัยสำคัญหลังจากนี้ ตลาดคงกลับมาเกาะติดความไม่แน่นอนของการค้าโลก โดยเฉพาะสถานการณ์สงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีนต่อไป
- ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินไทย (กนง.) มีมติ 5 ต่อ 2 เสียง ให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% จาก 1.75% เป็น 1.50% ต่อปี โดยให้มีผลทันที ขณะที่ 2 เสียง เห็นควรให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 1.75% ต่อปี เนื่องจากเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวต่ำกว่าคาดการณ์ และต่ำกว่าศักยภาพ โดยการส่งออกหดตัวมากกว่าที่ประเมินไว้ในการประชุม กนง.ครั้งต่อไปจะมีการทบทวนและประกาศตัวเลขประมาณการเศรษฐกิจใหม่ โดยเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มชะลอตัวลงกว่าที่คาดไว้เดิม ขณะที่การส่งออกที่เคยประมาณการไว้ว่าจะขยายตัวได้ 0% ในระยะต่อไปก็มีแนวโน้มขยายตัวได้ต่ำกว่าที่คาด เมื่อพิจารณาจากปริมาณการนำเข้าวัตถุดิบที่เริ่มชะลอตัว
- ธนาคารกสิกรไทย ระบุว่า ตามที่การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) วันนี้ มีมติ 5 ต่อ 2 เสียง ให้ลดดอกเบี้ยนโยบายมาอยู่ที่ระดับ 1.50% ซึ่งผิดจากที่ตลาดคาดไว้ว่าจะคงดอกเบี้ยนโยบาย ภายหลังจากที่มีมติขึ้นดอกเบี้ยนโยบายไปเมื่อต้นเดือนธ.ค.61 และนับเป็นการขึ้นดอกเบี้ยนโยบายครั้งแรกในรอบมากกว่า 7 ปี มติ กนง.ดังกล่าวส่งผลให้เงินบาทผันผวน โดยเงินบาทอ่อนค่าลงทันทีจากระดับ 30.757 บาท/ดอลลาร์ มาแตะระดับสูงสุดที่ 30.880 บาท/ดอลลาร์
- กลุ่มงานโกลบอลมาร์เก็ตส์ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (BAY) มีความเห็นต่อผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.) ที่สร้างความประหลาดใจให้ตลาดด้วยการลงมติลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% มาที่ 1.50% เป็นการลดดอกเบี้ยครั้งแรกนับ ตั้งแต่เดือนพ.ค. ปี 58 ส่งผลให้เงินบาทอ่อนลงค่าอย่างรวดเร็วแตะระดับ 30.90 บาท/ดอลลาร์ สำหรับแนวโน้มต่อไป คาดว่า อัตราดอกเบี้ยนโยบายน่าจะอยู่ที่ 1.50% ตลอดช่วงที่เหลือของปีนี้ โดยประเด็นสงครามการค้าโลกจะเป็นปัจจัยเสี่ยงที่จะมีผลต่อการปรับมุมมองของธนาคาร
- สำนักวิจัย ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย (CIMBT) กล่าวว่า การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) รอบนี้ลดดอกเบี้ยจาก 1.75% เหลือ 1.50% นับว่าเหนือความคาดหมายที่ลดเร็วกว่าคาด จากก่อนหน้านี้มองว่า กนง.จะลดดอกเบี้ยช่วงปลายปีและไม่ได้มีการส่งสัญญาณก่อนหน้าเหมือนปกติที่ก่อนจะทำอะไรมักจะเห็นเสียงแตกของกนง. เช่น จากมติ 7-0 ที่คงดอกเบี้ยในการประชุมรอบก่อนหน้า น่าจะออกผลด้วยมติ 6-1 หรือ 5-2 ก่อน แต่กลับมีการลดดอกเบี้ยในรอบนี้เลย
- ที่ประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) จะติดตามสถานการณ์ต่างๆ เพื่อประเมินทิศทางการปรับตัวของเครื่องชี้เศรษฐกิจไทยอย่างใกล้ชิดต่อไป เนื่องจากในช่วงครึ่งปีหลัง เศรษฐกิจไทยยังเผชิญความท้าทายจากหลายปัจจัย โดยยังคงประมาณการอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจ การส่งออก และอัตราเงินเฟ้อ ในปี 62 ไว้ตามกรอบเดิม
- นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีไทย กล่าวว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างจัดทำมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ คาดอีก 2 สัปดาห์แล้วเสร็จ และเสนอเข้าที่ประชุมครม.เศรษฐกิจ พิจารณา โดยในเบื้องต้นคาดว่าจะประชุมนัดแรกวันที่ 19 ส.ค.นี้