• สรุปข่าวเศรษฐกิจ (ภาคเช้า) ประจำวันที่ 9 สิงหาคม 2562

    9 สิงหาคม 2562 | Economic News

· ดัชนีดอลลาร์ปรับแข็งค่าขึ้น ในขณะที่ค่าเงินหยวนมีการปรับแข็งค่าลงหลังจากที่ธนาคารกลางจีนมีการประกาศปรับค่ากลางเงินหยวนไว้แข็งค่ากว่าที่คาดการณ์ จึงกลับมาช่วยหนุนความต้องการสินทรัพย์เสี่ยงอีกครั้ง



เมื่อวานนี้ PBOC กำหนดค่ากลางเงินหยวนไว้ที่ 7.0039 หยวน/ดอลลาร์ แม้จะแข็งค่ากว่าที่คาดการณ์ แต่ก็ยังเป็นระดับที่ถือว่าอ่อนค่ามากที่สุดในรอบกว่า 10 ปี



· ทางด้านยอดส่งออกจีนเพิ่มขึ้นอย่างไม่คาดคิดในเดือนก.ค. เมื่อเทียบรายปี จึงยิ่งกลายเป็นปัจจัยที่ฟื้นความเชื่อมั่นของนักลงทุน



ทั้งนี้ ค่าเงินหยวนแข็งค่าประมาณ 0.22% เมื่อเทียบกับดอลลาร์แถว 7.044 หยวน/ดอลลาร์ ด้านดัชนีดอลลาร์ปรับขึ้น 0.08% ที่ระดับ 97.62 จุด



ประเด็นความตึงเครียดทางการเมืองยังมีแนวโน้มจะกดดันค่าเงินหยวนและสินทรัพย์เสี่ยงต่อไป โดยที่สหรัฐฯและจีนยังคงปราศจากการแก้ไขปัญหาข้อพิพาททางการค้าระหว่างกัน



· ในรายงานของ CNBC ระบุถึงการที่เราจะเห็นถึงการใช้นโยบายผ่อนคลายทางการเงินจากบรรดาธนาคารกลางเพิ่มขึ้น จากความกังวลต่อแนวโน้มการเติบโตทางเศรษฐกิจโลกที่อาจแย่ลงกว่าที่หลายฝ่ายเป็นกังวล ไม่ว่าจะเป็นธนาคารกลางไทย, นิวซีแลนด์ และอินเดีย ทั้งหมดต่างก็ประกาศลดดอกเบี้ยทั้งหมดในการประชุมเมื่อวันพุธที่ผ่านมา



นักวิเคราะห์ ยังมองว่า มีความเสี่ยงที่จะเห็นบรรดาธนาคารเหล่านี้พยายามที่จะผ่อนคลายทางการเงินเพิ่มเติม ซึ่งหากพวกเขาดำเนินการมากขึ้นจริง ก็จะส่งผลกระทบต่อนักลงทุนในตลาดให้สูญเสียความเชื่อมั่นมากขึ้นกว่าที่ประเมินไว้



· ค่าเงินยูโรปรับแข็งค่าขึ้นได้เมื่อวานนี้ หลังจากที่ทางสำนักข่าว Reuters เผยว่าทางเยอรมนีมีการพิจารณาที่จะปรับเป้างบประมาณระยะยาว ด้วยการออกตราสารหนี้ใหม่เพื่อเป็นเงินทุนสำหรับแพ็คเกจด้านสภาพอากาศ ก่อนที่ค่าเงินยูโรจะกลับมาอ่อนค่าลงหลังจากที่ นายมัตเตโอ ซัลวินี นายกรัฐมนตรีอิตาลี กล่าวว่า ไม่มีทางที่จะสมานฉันท์ความแตกต่างของพรรคร่วมรัฐบาลได้ โดยจะมีทางออกเดียวเท่านั้นคือการเลือกตั้งครั้งใหม่




· อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯอายุ 10 ปี ปรับขึ้นมาแถว 1.72% ขณะที่ผลตอบแทนอายุ 30 ปี ปรับขึ้นมาที่ 2.24% หลังจากที่ผลตอบแทนอายุ 10 ปีร่วงลงทำระดับต่ำสุดใหม่รอบ 30 ปี และผลตอบแทนอายุ 30 ปีเคลื่อนไหวใกล้ All-Time Low เมื่อวันพุธ ขณะที่กลุ่มนักลงทุนก็ยังคงกังวลต่อเนื่องต่อปัญหา Trade War ระหว่างสองประเทศ เราจึงเห็นการเข้าถือครองสินทรัพย์ปลอดภัยที่เพิ่มมากขึ้น

· เช้านี้ค่าเงินเยนปรับแข็งค่ามากขึ้นจากความกังวลต่อสงครามการค้าครั้งใหม่ หลัง Bloomberg เผยว่า มีรายงานจากทางทำเนียบขาว ที่ระบุว่า จะเลื่อนการตัดสินใจการอนุญาตให้บริษัทของสหรัฐฯสามารถทำธุรกิจกับทางบริษัท Huawei Technologies ได้

ค่าเงินเยนแข็งค่าลงมา 0.2% แตะ 105.84 เยน/ดอลลาร์ และส่งผลให้ภาพรวมปรับแข็งค่าต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 2 และหาก Break 105.5 เยน/ดอลลาร์ ซึ่งเป็นแข็งค่ามากสุดตั้งแต่ 7 ส.ค. นักวิเคราะห์ก็มองว่า มีโอกาสจะเห็นค่าเงินเยนกลับลงทดสอบเป้าหมายถัดไปที่ 105 เยน/ดอลลาร์



· รายงานล่าสุดเช้านี้ ธนาคารกลางจีนมีการปรับลดค่ากลางเงินหยวนที่ระดับ 7.0136 หยวน/ดอลลาร์ ซึ่งสูงกว่าค่ากลางวานนี้ที่อยู่ที่ระดับ 7.0039 หยวน/ดอลลาร์ แต่ก็เป็นการปรับแข็งค่าลงมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดหวังว่าจะเห็นจีนปรับค่ากลางเงินหยวนมาบริเวณ 7.0222 หยวน/ดอลลาร์

· ธนาคารกลางในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนามีการประกาศปรับลดดอกเบี้ยเพื่อรับมือกับภาวะความไม่นอนของเศรษฐกิจโลกและสนับสนุนการขยายตัวในประเทศ โดยแนวโน้มการเติบโตทางเศรษฐกิจโลกดูจะย่ำแย่ลง นับตั้งแต่ที่สหรัฐฯมีการข่มขู่จะขึ้นภาษีสินค้านำเข้าจีนอีก และการกล่าวหาว่าจีนปั่นเงินให้อ่อนค่าอย่างหนัก จึงสร้างความผันผวนให้แก่ตลาดการเงิน และทำให้มีความกังวลเพิ่มมากขึ้นว่าจะเห็นเศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะขาลงอย่างหนัก ซึ่งเสี่ยงที่จะทำให้บรรดาผู้กำหนดนโยบายการเงินในแถบเอเชียปรับนโยบายเพื่อใช้ป้องกับผลกระทบดังกล่าว


· ธนาคารกลางฟิลิปปินส์ (BSP) ตัดสินใจปรับลดดอกเบี้ยลง 0.25% สู่ระดับ 4.25% หลังรายงานจากรัฐบาล พบว่า จีดีพีไตรมาสที่ 2/219 ชะลอตัวลงมากที่สุดในรอบ 4 ปีแตะระดับ 5.5% หรือเป็นการชะลอตัวลงที่มากที่สุดในรอบ 17 ไตรมาส

นอกจากนี้ ทาง BSP ยังระบุว่า การตัดสินใจดังกล่าวมาจากการประเมินเรื่องแรงกดดันของเงินเฟ้อด้วยที่ยังอ่อนตัวลงนับตั้งแต่การประชุมครั้งก่อน จึงเห็นเงินเฟ้อเคลื่อนไหวเล็กน้อยและไม่ถึงเป้าที่ทางธนาคารกลางกำหนด โดยแนวโมความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อดูจะทรงตัวในปีนี้และปีหน้า แต่มีโอกาสเห็นภาวะขาลงได้ในปี 2021 โดยเป็นผลมาจากทิศทางแนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่ส่งผลกระทบต่อภาวะเงินเฟ้อ

· รายงานจาก CNBC เผยความกังวลของนักลงทุนรายใหญ่ต่อเหตุการณ์ประท้วงในฮ่องกงอาจเป็น เหตุการณ์ “ม้ามืด” ที่อาจสร้างผลกระทบรุนแรงต่อตลาดการเงินโลกได้ โดยไม่มีใครคาดคิด หากความรุนแรงของการประท้วงขยายตัวยิ่งขึ้นไปมากกว่านี้ ซึ่งในปัจจุบันยังไม่มีวี่แววว่าการประท้วงจะสงบลงได้ง่ายๆ เนื่องจากฝั่งผู้ประท้วงเองก็ไม่ยอมถอย ทางฝั่งรัฐบาลจีนเองก็เช่นกัน และเหตุการณ์นี้อาจส่งผลกระทบในเชิงลบต่อการเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีนได้

· เศรษฐกิจญี่ปุ่นขยายตัวได้ดีกว่าที่คาดในไตรมาสที่ 2/2019 โดย GDP ขยายตัวได้ 1.8% มากกว่าที่คาดการณ์ไว้ที่ 0.4% ท่ามกลางการขยายตัวของการใช้จ่ายภาคเอกชนและการลงทุนในภาคธุรกิจภายในประเทศ จึงช่วยบรรเทาผลกระทบจากการส่งออกที่ชะลอตัวลงจากปริมาณอุปสงค์ทั่วโลกที่อ่อนแอลงได้ และยังช่วยบรรเทาความกังวลว่าบีโอเจจะทำการผ่อนคลายนโยบายการเงินตามธนาคารกลางทั่วโลกลงไปบางส่วน

· ราคาน้ำมันดิบปิดปรับขึ้นได้กว่า 1 เหรียญ จากกระแสคาดการณ์ที่ว่าราคาน้ำมันที่ปรับลงอาจทำให้บรรดากลุ่มผู้ผลิตรายใหญ่ลดกำลังการผลิตน้ำมัน ควบคู่กับค่าเงินหยวนที่ทรงตัว หลังจากที่ช่วงต้นสัปดาห์ตลาดผันผวนจากความตึงเครียดของสงครามการค้าที่เพิ่มขึ้นระหว่างสหรัฐฯและจีน


น้ำมันดิบ Brent ปิด +1.29 เหรียญ ที่ระดับ 57.53 เหรียญ/บาร์เรล หลังจากไปทำระดับสูงสุดบริเวณ 58.01 เหรียญ/บาร์เรล ด้านน้ำมันดิบ WTI ปิด +1.45 เหรียญ ที่ระดับ 52.84 เหรียญ/บาร์เรล หรือปรับขึ้นมาได้ 2.84%



· นักวิเคราะห์จาก BNP Paribas กล่าวว่า น้ำมันดิบ Brent และ WTI รีบาวน์ขึ้นจากค่าเงินหยวนที่ถูกกำหนดค่ากลางไว้ในระดับแข็งค่ากว่าที่ตลาดคาด จึงช่วยคลายความกังวลต่อภาวะสงครามค่าเงินลงไปบ้าง ในขณะที่มีรายงานจากซาอุดิอาระเบีย ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ส่งออกน้ำมันรายใหญ่ที่สุด ที่เรียกร้องให้บรรดาสมาชิกผู้ผลิตน้ำมันหารือถึงการทรุดตัวของราคาน้ำมันดิบ เพื่อร่วมกันสนับสนุนตลาดน้ำมัน


บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com