· ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวสูงขึ้น ตามการเพิ่มขึ้นของหุ้นสหรัฐฯ โดยได้รับแรงหนุนจากข้อมูลส่งออกของจีนที่แข็งแกร่ง และความมีเสถียรภาพของค่าเงินหยวน อย่างไรก็ดี ความกังวลเกี่ยวกับสงครามทางการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีนยังคงเป็นปัจจัยที่กดดันการเพิ่มขึ้นอยู่
ด้าน Bloomberg เผยว่า มีรายงานจากทางทำเนียบขาว ที่ระบุว่า จะเลื่อนการตัดสินใจการอนุญาตให้บริษัทของสหรัฐฯสามารถทำธุรกิจกับทางบริษัท Huawei Technologies ได้
ขณะที่ดัชนี MSCI ที่ไม่รวมหุ้นญี่ปุ่นปรับเพิ่มขึ้น 0.2% สำหรับภาพรวมรายสัปดาห์ปรับลดลง 2.3%
· ตลาดหุ้นญี่ปุ่นปรับตัวสูงขึ้น ด้านดัชนี Nikkei ฟื้นตัวจากระดับต่ำสุดในรอบ 7 เดือน เนื่องจากเหล่านักลงทุนได้รับแรงหนุนจากการเพิ่มขึ้นของตลาดหุ้นสหรัฐฯเมื่อคืนที่ผ่านมา แม้ว่าความกังวลครั้งใหม่เกี่ยวกับสงครามทางการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีนยังคงมีอยู่
โดยการปรับตัวสูงขึ้นของดัชนียังจำกัด จากความกังวลต่อข้อพิพาททางการค้าระหว่างสหรัฐฯกับจีนห ลังจากมีรายงานว่าทำเนียบขาวกำลังชะลอการตัดสินใจว่าจะอนุญาตให้บริษัทในสหรัฐฯทำธุรกิจกับหัวเว่ยเทคโนโลยีของจีนหรือไม่
โดยดัชนี Nikkei เพิ่มขึ้น 0.44% ที่ะรดับ 20.684.82 จุด
· ตลาดหุ้นจีนปรับตัวลดลง สำหรับภาพรวมรายสัปดาห์ปรับตัวลงนับตั้งแต่ต้นเดือนพ.ค.ที่ผ่านมา เนื่องจากข้อมูลภาคอุตสาหกรรมที่อ่อนแอและความกังวลเกี่ยวกับสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ-จีน
โดยดัชนี Shanghai Composite ลดลง 0.7% ที่ะรดับ 2,774.75 จุด
ภาคอุตสาหกรรมของจีนประจำเดือนก.ค.ลดลงเป็นครั้งแรกในรอบสามปี กระตุ้นภาวะเงินฝืดและสร้างแรงกดดันให้รัฐบาลจีนส่งมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจมากขึ้น ท่ามกลางสงครามการค้าที่ทวีความรุนแรงขึ้นกับสหรัฐฯ
ทั้งนี้ ดัชนี Stoxx600 ลดลง 0.2% ขณะที่หุ้นกลุ่มธนาคารลดลง 1.1% ด้านหุ้นด้านสุขภาพเพิ่มขึ้น 0.3%
อ้างอิงจากสำนักข่าวอินโฟเควสท์
- นายอุตตม สาวนายน รมว.คลังไทย กล่าวถึงการตั้งคณะกรรมการดูแลเสถียรภาพวินัยการเงินการคลังของประเทศว่า ขณะนี้กระทรวงการคลัง และธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้หารือในเบื้องต้นแล้วว่ามีความจำเป็น เพราะระบบการเงินของประเทศมีความเชื่อมโยงกันหมด ทั้งตลาดเงิน ตลาดทุน ตลาดตราสารหนี้ และการลงทุนโดยตรง
ดังนั้น การดูแลเสถียรภาพในระดับประเทศจึงต้องเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม จากที่เคยต่างคนต่างดู ทำให้ไม่เกิดความเชื่อมโยง และไม่มีประสิทธิภาพ เช่น ธปท. กำกับดูแลนโยบายการเงิน, สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กำกับดูแลตลาดทุน ส่วนกระทรวงการคลัง กำกับดูแลนโยบายการคลัง ซึ่งไม่ได้มีกลไกที่เชื่อมโยงข้อมูลระหว่างกัน