· ค่าเงินเยนเคลื่อนไหวใกล้ระดับสูงสุดในรอบ 7 เดือนเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ ท่ามกลางเหตุการณ์ประท้วงในฮ่องกง และความตึงเครียดทางการเมืองในอาร์เจนตินา ส่งผลให้ตลาดหันเข้าหาค่าเงินเยนที่เป็น Safe-haven กันมากขึ้น
โดยค่าเงินเยนเคลื่อนไหวแถว 105.495 เยน/ดอลลาร์ หลังทำระดับแข็งค่สุดที่ 105.050 เยน/ดอลลาร์เมื่อคืนที่ผ่านมา ซึ่งเป็นระดับแข็งค่าที่สุดนับตั้งแต่วันที่ 3 ม.ค.
นักวิเคราะห์จาก Daiwa Securities ระบุว่า ตลาดกำลังอยู่ในภาวะ Risk off จากความตึงเครียดทางการเมืองทั้งของฮ่องกงและอาร์เจนตินา ส่งผลให้ความต้องการค่าเงินมีสูงยิ่งขึ้น ซึ่ง ณ ขณะนี้ยังไม่สัญญาณบ่งชี้ว่าค่าเงินเยนจะชะลอการแข็งค่าลงแต่อย่างใด โดยค่าเงินเยนจะมีเป้าหมายต่อไปที่ระดับแข็งค่ามากที่สุดเมื่อเทียบกับดอลลาร์เมื่อเดือน ม.ค. แต่ด้วยการเคลื่อนไหวของค่าเงินเยน เชื่อว่า ค่าเงินเยนจะแข็งค่าทะลุระดับดังกล่าวไป
· ด้านอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯยังคงปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง ท่ามกลางสัญญาณการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกและแนวโน้มที่เฟดอาจปรับลดดอกเบี้ยในเดือนต่อๆไป ขณะที่ระยะห่างระหว่างอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปีของสหรัฐฯกับของญี่ปุ่นได้ปรับลดลงสู่ระดับที่แคบที่สุดนับตั้งแต่เดือน พ.ย. ปี 2016
· ค่าเงินยูโรอ่อนค่า 0.25% แถว 1.118 ดอลลาร์/ยูโน หลังจากที่ปรับแข็งค่าขึ้นได้เมื่อวานนี้ โดยค่าเงินมีการแข็งค่าขึ้นได้เล็กน้อย หลังอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอิตาลีปรับลดลงจากระดับสูงสุดในรอบ 5 ปี หลังสถาบัน Fitch ประกาศไม่เปลี่ยนแปลงความน่าเชื่อถือของอิตาลีแต่อย่างใด
· ค่าเงินยูโรยังทรงตัวแถว 1.1200 ดอลลาร์/ยูโร ท่ามกลางปัญหาทางการเมืองของอิตาลี โดยความเคลื่อนไหวล่าสุด วุฒิสภาอิตาลีประกาศเลื่อนการโหวตไม่ไว้วางใจรัฐบาลออกไป ทำให้ทิศทางการเมืองของอิตาลียังไร้ความชัดเจน ขณะที่ค่าเงินดอลลาร์ได้รับแรงหนุนในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย
ในเชิงเทคนิค ค่าเงินยูโรยังคงขาดทิศทางที่ชัดเจนติดต่อกันเป็นวันที่ 5 โดยยังคงเป็นการเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบเดิมที่ระหว่าง 1.1167 - 1.1250 ดอลลาร์/ยูโร
· นักวิเคราะห์จาก FXStreet ระบุว่า ค่าเงินปอนด์มีการเคลื่อนไหวอ่อนค่าลงมาแถวระดับ 1.2050 ดอลลาร์/ปอนด์ ในขณะที่ดอลลาร์กลับแข็งค่าขึ้น ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับภาวะการขยายตัวทางเศรษฐกิจโลก ในขณะที่ค่าเงินปอนด์รอรายงานจ้างงานที่สำคัญของอังกฤษ ควบคู่กับการประกาศการขยายตัวของค่าแรง
ในขณะที่หากหลุด 1.2015 และ 1.2000 ดอลลาร์/ปอนด์ลงมา ก็จะกลับลงมาใกล้ระดับต่ำสุดของปี 2017 บริเวณ 1.1987 ดอลลาร์/ปอนด์ และจะยิ่งทำให้นักลงทุนพากันเทขายทำกำไรขึ้นมา แม้ว่าเส้น RSI จะมีการรีบาวน์กลับมาแดน Oversold ในภาพราย 14 วัน สำหรับแนวต้านด้านบนจะอยู่ที่ 1.2083 ดอลลาร์/ปอนด์ ที่กลายมาเป็นระดับสำคัญในเวลานี้ และหากผ่านไปได้ก็มีโอกาสจะกลับขึ้นไปแถว 1.2210 ดอลลาร์/ปอนด์
· รายงานจาก Reuters และ Bloomberg ระบุว่า ธนาคารกลางแห่งประเทศจีนใกล้พร้อมที่จะเปิดตัวสกุลเงินดิจิทัลอย่างเป็นทางการ จากการให้สัมภาษณ์ของรองผู้ว่าธนาคารกลางแห่งประเทศจีน แต่ยังไม่มีรายละเอียดเพิ่มไปมากกว่านี้
อย่างไรก็ตาม ในรายงานได้ระบุว่า บรรดานักวิจัยของธนาคารกลางจีนได้ทำงานเกี่ยวกับสกุลเงินดิจิทัลมานานกว่า 5 ปี และธนาคารกลางจีนก็ไม่ใช่ธนาคารกลางเพียงแห่งเดียวที่มีความเป็นไปได้ว่าจะเปิดตัวสกุลเงินดิจิทัลในเร็วๆนี้ โดยอีกที่หนึ่งคือ ธนาคารกลางสวีเดน ที่กำลังวิเคราะห์ความเป็นไปได้นี้อยู่
· นางแครี ลาม ผู้นำรัฐบาลฮ่องกง กล่าวว่า การออกมาเคลื่อนไหวของประชาชนที่อ้างว่าอยู่ภายใต้นามของอิสรภาพ กำลังทำร้ายกฏหมายของประเทศ และเริ่มมีสัญญาณก่อตัวของ “การก่อการร้าย” อีกทั้งการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของเกาะฮ่องกงอาจต้องใช้เวลายาวนาน
รัฐบาลสิงคโปร์ประกาศลดคาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจในประเทศตลอดปีนี้ ท่ามกลางข้อมูลทางเศรษฐกิจของประเทศที่ออกมาแย่ลงติดต่อกัน โดยลดคาดการณ์การเติบโตของ GDP ปีนี้ลงสู่ระดับ 0 – 1% จากเดิมที่ 1.5 – 2.5% และประเมินว่าจะเป็นผลกระทบจากนโยบายกีดกันการส่งออกของประเทศมหาอำนาจ และการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก
· ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของสหรัฐฯ ถือเป็นหนึ่งในไฮไลท์สำคัญสำหรับวันนี้ ขณะที่การปรับลดดอกเบี้ยของเฟดพิจารณาจากความตึงเครียดทางการค้า และเงินเฟ้อในระดับต่ำ รวมทั้งปัจจัยต่างๆ ที่อาจกระทบกับค่าเงินดอลลาร์และตลาดการเงินต่างๆ
· การตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบายดอกเบี้ยครั้งในการประชุมครั้งต่อไปของเฟด จะได้รับผลกระทบจากการประกาศดัชนี CPI ของสหรัฐฯในคืนนี้อย่างมาก โดยดัชนี Core CPI ที่ไม่รวมราคาพลังงานและอาหาร ที่ขยายตัวได้ 2.1% ในภาพรวมรายปี เมื่อเดือน มิ.ย. ถูกคาดการณ์ว่าจะออกมาขยายตัวได้ด้วยอัตราเดียวกันในเดือน ก.ค.
หากการประกาศดัชนี Core CPI คืนนี้ออกมาขยายตัวเป็น 2.2% หรือมากกว่า มีแนวโน้มที่จะหนุนให้ค่าเงินดอลลาร์แข็งค่าได้ แต่ถ้าหากออกมาต่ำกว่า 2% ก็จะกดดันให้ดอลลาณือ่อนค่าลงไปอีก
ทั้งนี้ เครื่องมือ FXStreet Surprise Index บ่งชี้ว่า มีแนวโน้มที่ดัชนีจะออกมาอ่อนแอลงมากกว่าที่จะออกมาดีขึ้น แต่จะเป็นตัวเลขที่อ่อนแอลงไม่มากนัก จึงอาจไม่ส่งผลกระทบต่อตลาดมากกเท่าไหร่นัก
· นักวิเคราะห์จาก CNBC เตือน ตลาดควรให้ความสำคัญกับเหตุการณ์ประท้วงในฮ่องกงมากกว่าสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ-จีน
โดยหลังจากความเคลื่อนไหวล่าสุดที่กลุ่มผู้ประท้วงทำการปิดสนามบินนานาชาติของฮ่องกง เชื่อว่ารัฐบาลจีนจะไม่สามารถนิ่งเฉยได้อีกต่อไป อีกทั้งฮ่องกงยังมีความสำคัญอย่างมากกับประเทศจีน ยิ่งเสียกว่าสงครามการค้ากับสหรัฐฯ เนื่องจากประเด็นฮ่องกงอาจส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของประเทศจีนในสายตาของชาวยุโรปได้เป็นอย่างมาก
นอกจากนี้ นักวิเคราะห์ยังคาดการณ์ว่า รัฐบาลจีนอาจส่งกองทัพเข้าไปในพื้นที่ฮ่องกงเพื่อระงับเหตุความรุนแรง หากเป็นเช่นนั้นจะทำให้นานาชาติออกมาเคลื่อนไหวต่อต้านจีนมากขึ้น เนื่องจากกังวลว่าอาจเกิดประวัติศาสตร์ซ้ำรอยเหมือนกับ “จัตุรัสเทียนอันเหมิน” ในปี 1989 ที่กองทัพจีนบุกเข้าไปในพื้นที่เพื่อสลายการชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตย ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตไปอย่างน้อย 10,000 ราย
· หลังจากที่เฟดปรับลดดอกเบี้ยเป็นครั้งแรกในรอบ 11 ปีเมื่อเดือน ก.ค. ที่ผ่านมา ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกที่มากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะประเด็นสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ-จีน ได้ส่งผลให้บรรดานักวิเคราะห์ต่างคาดการณ์ว่าเฟดจะมีการปรับลดดอกเบี้ยลงอีก
โดยทางธนาคาร UBS คาดการณ์ว่าเฟดจะมีการปรับลดดอกเบี้ยลงทั้งหมด 3 ครั้ง โดยครั้งต่อไปคาดว่าจะเกิดขึ้นในเดือน ธ.ค. ปีนี้ และถัดไปที่เดือน มี.ค. ปี 2020 ซึ่งจะเป็นการปรับลดดอกเบี้ยลงทั้งหมด 1% ลงมาที่กรอบ 1 – 1.25% ค่อนข้างสอดคล้องกับคาดการณ์ของตลาดที่มองไว้ว่าเฟดจะปรับลดดอกเบี้ยลงสู่ระดับ 1.12% ในช่วงปลายปี 2020
ขณะที่ทาง Morgan Stanley คาดการณ์ถึงความเป็นไปได้ที่เฟดอาจกลับไปใช้ดอกเบี้ยใกล้ระดับ 0% เหมือนในช่วงปี 2008 – 2015 โดยคาดว่าการปรับลดดอกเบี้ยครั้งต่อจะเกิดขึ้นในเดือน ก.ย. และ ต.ค. ส่วนในปี 2020 จะมีทิศทางปรับลดดอกเบี้ยที่ลึกลงไปอีก จึงอาจเห็นอัตราดอกเบี้ยของเฟดเข้าใกล้ระดับ 0% เหมือนเมื่อ 7 ปีก่อน โดยเฉพาะหากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ-จีนรุนแรงยิ่งขึ้น
· รายงานจาก Reuters ระบุว่า บรรดาบริษัทเทคโนโลยี e-commerce และเครื่องใช้ไฟฟ้าของประเทศจีน มีแนวโน้มจะรายงานผลประกอบการในไตรมาสที่ 2/2019 ออกมาขยายตัวได้เพียง 26% ซึ่งเป็นอัตราเติบโตที่ต่ำที่สุดในรอบ 6 ไตรมาส ซึ่งรวมไปถึงบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Alibab, JD, Baidu, และ Tencent ท่ามกลางสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ-จีนที่กดดันเศรษฐกิจและความเชื่อมั่นของผู้บริโภค
· นักวิเคราะห์จาก Danske Bank มองว่า ปัจจัยสำคัญที่ตลาดรอคอยคือข้อมูลตลาดแรงงานของอังกฤษในเดืนอมิ.ย. การเติบโตของอัตราค่าแรงและการจ้างงานที่ยังอยู่ในระดับสูง แม้ว่าเศรษฐกิจจะเผชิญกับภาวะชะลอตัวในเวลานี้ จึงเกิดคำถามว่าตลาดแรงงานจะเดินหน้าต่อหรือเริ่มต้นชะลอตัว
ขณะที่ภาพรวมทางเศรษฐกิจยุโรปให้ความสนใจไปยังผลสำรวจความเชื่อมั่นภาคธุรกิจของเยอรมัน โดย Zew น่าจะเผยให้เห็นถึงความเชื่อมั่นที่ปรับตัวลงต่อเนื่องและจะบ่งชี้ถึงทิศ?างเศรษฐกิจที่ไม่สดใสนัก ในจังหวะที่การขยายตัวทางเศรษฐกิจโลกมีความไม่แน่นอน รวมทั้งเกิดความตึงเครียดทางการค้า
ในส่วนของอัตราเงินเฟ้อสหรัฐฯที่จะเปิดเผยในค่ำคืนนี้ ก็คาดว่าน่าจะยังทรงๆตัวอยู่ ขณะเดียวกันตลาดก็รอคอยข้อมูลผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของจีน, ยอดค้าปลีก, ภาคการลงทนุเช่นกัน ว่าจะยังบ่งชี้ถึงสภาวะการอ่อนตัวทางเศรษฐกิจจีนหรือไม่ โดยภาพรวมเชื่อว่าจะเห็นยอดค้าปลีกจีนที่เคยปรับขึ้นระดับสูงๆ กลับมาดิ่งลงแถว 8 เดือนครึ่งในเดือนก.ค.
· ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลง หลังจากที่ปรับตัวสูงขึ้นในช่วงก่อนหน้านี้ เนื่องจากกระแสคาดการณ์ความต้องการใช้น้ำมันมีแนวโน้มเติบโตช้าลง ตามสภาพเศรษฐกิจที่ซบเซา จากผลกระทบของความรุนแรงของสงครามการค้าระหว่างสหรัฐและจีน ประกอบกับกำลังการผลิตน้ำมันดิบของสหรัฐฯคาดปรับเพิ่มขึ้น
โดยราคาน้ำมันดิบ Brent ลดลง 0.8% ที่ระดับ 58.09 เหรียญ/บาร์เรล ขณะที่ราคาน้ำมันดิบ WTI ลดลง 0.8% ที่ระดับ 54.52 เหรียญ/บาร์เรล
หุ้นส่วนผู้จัดการประจำ VM Markets Pte Ltd ระบุว่า แม้ว่าแนวโน้มยังคงไม่ชัดเจน
ราคาน้ำมันยังคงมีแรงหนุน จากข่าวที่ว่า ซาอุดิอาระเบียต้องการจะเข้ามาช่วยกอบกู้ราคาน้ำมันอย่างจริงจัง