• สรุปข่าวเศรษฐกิจ (ภาคค่ำ) ประจำวันที่ 15 สิงหาคม 2562

    15 สิงหาคม 2562 | Economic News

· ค่าเงินเยนทรงตัวเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักส่วนใหญ่ ท่ามกลางสัญญาณการชะลอตัวทางเศรษฐกิจโลกที่เพิ่มมากขึ้น ประกอบกับอัตราผลตอบแทนพันธบตรที่อ่อนตัวลง หนุนให้กลุ่มนักลงทุนเข้าถือสินทรัพย์ Safe-Haven

ราคาทองคำก็ปรับตัวขึ้นตามจากสภาวะดังกล่าวในฐานะ Safe-Haven เช่นกัน หลังจากที่เกิดภาวะผกผันของพันธบัตรสหรัฐฯระยะสั้นและระยะยาวเป็นครั้งแรกในรอบ 12 ปี ขณะที่หุ้นสหรัฐฯเผชิญแรงเทขายหนัก เพราะนอกจากพันธบัตร 2 ปี จะเคลื่อนไหวเหนือพันธบัตร 10 ปีแล้ว ในส่วนของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปีเองก็ปรับตัวลงหนักทำต่ำสุดรอบ 3 ปีในตลาดเอเชียวันนี้ ขณะที่ผลตอบแทนอายุ 30 ปี หลุด 2% จากโอกาสการดำเนินนโยบายดอกเบี้ยของเฟด

ความเชื่อมั่นในตลาดลงทุนยังคงเปราะบางหลังข้อมูลเศรษฐกิจจีนและเยอรมนีล่าสุด ดูจะได้รับผลกระทบจากสงครามการค้าสหรัฐฯและจีน



· ค่าเงินเยนแข็งค่ามาที่ 105.86 เยน/ดอลลาร์ ในขณะที่ดัชนีดอลลาร์ทรงตัวบริเวณ 97.955 จุด ทางด้านอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปี ทำต่ำสุดตั้งแต่ ก.ย. ปี 2016 และผลตอบแทน 30 ปี ร่วงลงทำ All-Time Low ที่ระดับ 1.9910%


· อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯระยะสั้นยังคงอยู่สูงกว่าระยะยาวเข้าสู่วันที่สอง ท่ามกลางนักลงทุนที่กังวลเกี่ยวกับแนวโน้มที่เศรษฐกิจสหรัฐฯจะเข้าสู่ภาวะถดถอย

ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯอายุ 30 ปี ปรับลดลงในช่วงต้นตลาดเอเชียทำระดับต่ำสุดใหม่เป็นประวัติการณ์ที่ 1.98% ภาพรวมรายสัปดาห์ปรับร่วงลงมากว่า 0.27% ซึ่งเ)นอัตราปรับร่วงรายสัปดาห์ที่มากที่สุดนับตั้งแต่เดือน พ.ค. ปี 2012




· ค่าเงินยูโรเคลื่อนไหวในแดนลบต่อเนื่องนับตั้งแต่ก่อตัวเป็นทิศทางขาลงจากระดับ 1.12 ดอลลาร์/ยูโรก็มีการทำจุด Lower High ตลอดช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา และมีแนวโน้มที่จะย่อตัวลงไปถึงบริเวณ 1.10 ดอลลาร์/ยูโร ในระยะสั้น จากความกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจเยอรมนี

อัตราผลตอบแทนพันธบัตรเยอรมนีอายุ 10 ปีกับ 2 ปี ห่างกันเพียง 0.22% ซึ่งเป็นระดับที่ต่ำที่สุดนับตั้งแต่ปี 2008 และในภาพรวมปีนี้ ระยะห่างระหว่างอัตราผลตอบแทนพันธบัตรทั้ง 2 ตัวได้ปรับลดลงมากกว่า 0.60% จึงเป็นที่กดดันความเชื่อมั่นของนักลงทุนในตลาด



· อดีตประธานเฟด เชื่อมั่น เศรษฐกิจสหรัฐฯแกร่งพอที่จะเลี่ยงภาวะถดถอย


นางเจเน็ต เยลเลน อดีตประธานเฟด แสดงความคิดเห็นกับสำนักข่าว Fox Business Network เกี่ยวกับกรณีที่ตลาดกังวลกับความผันผวนของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ ว่าเป็นสัญญาณว่าเศรษฐกิจจะเข้าสู่ภาวะชะลอตัว โดยระบุว่า การวิเคราะห์โอกาสที่เศรษฐกิจจะเข้าสู่ภาวะถดถอยโดยใช้ความต่างของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรในสภาวะตลาดแบบปัจจุบัน เป็นสัญญาณที่น่าเชื่อถือได้เท่าไหร่นัก เนื่องจากมีปัจจัยอื่นๆนอกเหนือจากกระแสคาดการณ์การปรับลดอกเบี้ยของเฟดที่กำลังกดดันผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวอยู่

เมื่อถูกสอบถามเกี่ยวกับโอกาสที่เศรษฐกิจสหรัฐฯจะเข้าศู่ภาวะถดถอย นางเยลเลนกล่าวว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯยังมีความแข็งแกร่งมากพอที่จะหลีดเลี่ยงภาวะถดถอยไปได้ อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่าโอกาสที่เศรษฐกิจจะเข้าสู่ภาวะถดถอยถือว่ามีสูงขึ้น และเธอก็รู้สึกกังวลกับโอกาสดังกล่าวเช่นกัน


นางเยลเลนไม่ใช่อดีตประธานเฟดเพียงคนเดียวที่ไม่เห็นด้วยกับการวิเคราะห์โอกาสเศรษฐกิจชะลอตัวจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตร โดยนายอลัน กรีนสแปน อดีตประธานเฟดปี 1987 – 2006 ให้สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์กับ Bloomberg โดยระบุว่า มีโอกาสที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรจะหลุดต่ำกว่าระดับ 0% แต่ระดับดังกล่าวไม่ได้มีความหมายแฝงใดๆ เป็นเพียงแค่ตัวเลขระดับหนึ่งเท่านั้น



· ท่ามกลางตลาดที่กังวลเกี่ยวกับภาวะความผันผวนของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ นักวิเคราะห์จากสถาบัน Macquarie Commodities and Global Markets ระบุว่า การเคลื่อนไหวของอัตราผลตอบแทนพันธบัตร “ไม่ได้คาดการณ์ถึงอะไรทั้งนั้น” เพียงแค่เป็นสัญญาณบอกว่า หากคุณไม่ทำอะไรสักอย่าง คุณจะเจอกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยแน่นอน

ส่วนภาวะ Inverted yield curve อาจบ่งชี้ถึงภาวะที่เศรษฐกิจกำลังชะลอตัวลง แต่เป็นผลกระทบจากการขาดสภาพคล่องของตลาด การขาดทิศทางที่ชัดเจน และการหยุดนิ่งของกระแสเงินทุน โดยหากปัจจัยเหล่านี้ได้รับการแก้ไข อัตราผลตอบแทนพันธบัตรก็จะมีการตอบสนองที่รวดเร็ว พร้อมระบุว่า “ภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจเท่ากับการดำเนินนโยบายที่ผิดพลาด”

ธนาคารกลาง “ไม่เคยหมดเครื่องมือ”

สำหรับประเด็นที่ตลาดคาดการณ์กันว่าบรรดาธนาคารกลางเริ่มที่จะหมดเครื่องมือสำหรับการกระตุ้นเศรษฐกิจ นักวิเคราะห์ปฏิเสธแนวคิดดังกล่าว พร้อมกล่าวว่า ธนาคารกลางไม่เคยหมดเครื่องมือสำหรับการกระตุ้นเศรษฐกิจ เนื่องจากธนาคารกลางมีเครื่องมืออย่างอีกมากกมาย ไม่ใช่แค่การปรับลดอัตราดอกเบี้ยเท่านั้น



· Daily FX คาดการณ์ว่า หากตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญของสหรัฐฯ ที่จะประกาศในคืนนี้ ซึ่งได้แก่ ยอดค้าปลีกและอัตราการผลิตภาคอุตสาหกรรม ออกมาอ่อนแอกว่าที่คาด และบ่งชี้ถึงความจำเป็นที่เศรษฐกิจต้องได้รับแรงหนุนจากการผ่อนคลายนโยบายการเงิน ค่าเงินดอลลาร์จะได้รับแรงหนุนแข็งค่าขึ้นมาอีก ขณะที่หุ้นบางตัวอาจได้รับแรงหนุนจากภาวะที่เครดิตถูกลง แต่ในภาพรวมหากตัวเลขเศรษฐกิจประกาศออกมาอ่อนแอคืนนี้ ค่าเงินดอลลาร์จะได้มีปริมาณอุปสงค์เพิ่มมากขึ้น ขณะที่หุ้นจะถูกเทขาย



· รายงานจาก Bloomberg ระบุว่า มีสัญญาณเตือนดังมากขึ้นในตลาดพันธบัตร โดยล่าสุดอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯอายุ 30 ปี ปรับตัวลงต่ำกว่าระดับ 2% เป็นครั้งแรก และส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรทั่วโลกติดลบกว่า 16 ล้านล้านเหรียญ ประกอบกับการปรากฎขึ้นมาของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปี ที่ร่วงลงต่ำกว่าระดับ 2 ปี และทำให้เกิดการพิจารณาถึงภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐฯที่จะเข้าสู่ภาวะถดถอยในอีก 18 เดือน



· นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ เมื่อคืนที่ผ่านมา มีการทวีตข้อความเกี่ยวกับกรณีผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้นสูงกว่าพันธบัตรระยะยาว พร้อมกล่าวโทษว่าเป็นความผิดของเฟดที่ทำให้ตลาดมีความกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มที่เศรษฐกิจจะชะลอตัวมากขึ้น พร้อมกล่าวอ้างว่า ทีมบริหารของเขาใกล้ที่จะได้รับชัยชนะจากการเจรจาการค้ากับประเทศจีน ซึ่งจะทำให้เศรษฐกิจสหรัฐฯได้รับชัยชนะครั้งใหญ่ แต่เฟดกลับเป็นตัวถ่วง




· บริษัท Cisco Systems Inc กล่าวว่า สงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีนส่งผลกระทบต่อกลุ่มผุ้บริโภคในกลุ่มบริษัทเน็ตเวิร์ค และถือเป็นปัจจัยที่กำลังเข้ากดดันกลุ่มธุรกิจ จึงอาจทำให้คาดการณ์ยอดขายหรือผลกำไรต่ำกว่าที่ตลาดสหรัฐฯได้ตั้งเป้าไว้



· นายมุน แจ-อิน ประธานาธิบดีเกาหลีใต้ กล่าวว่า ญี่ปุ่นควรมองข้ามอดีตของตนเองที่เคยเป็นจักรวรรดิญี่ปุ่น แต่ทางเกาหลีใต้ “ยินดีให้ร่วมมืออย่างเต็มที่” หากทางญี่ปุ่นเลือกที่จะใช้วิธีทางการทูตในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งทางการค้า



· รัฐมนตรีกระทรวงเศรษฐกิจญี่ปุ่น ระบุว่า ญี่ปุ่นและสหรัฐฯจะจัดการเจรจาการค้าขึ้นในวันที่ 21 – 22 ส.ค. นี้ ณ กรุงวอชิงตัน ของสหรัฐฯ

เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา รัฐมนตรีกระทรวงเศรษฐกิจญี่ปุ่นได้ประชุมร่วมกับนายโรเบิร์ต ไรท์ไฮเซอร์ ตัวแทนการค้าแห่งสหรัฐฯ ซึ่งทั้งสองฝ่าย “มีความคืบหน้าครั้งสำคัญ” ในการเจรจาลดความแตกต่างทางการค้า จึงตกลงที่จะจัดการเจรจาในระดับรัฐมนตรีขึ้นภายในเดือน ส.ค. แต่ยังไม่ได้กำหนดวันที่ที่แน่นอน



· รายงานจาก Reuters ระบุว่า กองทัพจีนมีการซ้อมเคลื่อนขบวนกำลังพลนับหลายร้อยคน ในพื้นที่สนามกีฬาเมืองเซินเจิ้น ซึ่งอยู่ใกล้กับชายแดนฮ่องกง ขระที่ทางกระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯแสดงความกังวลว่า การซ้อมเคลื่อนขบวนครั้งนี้ อาจมีขึ้นเพื่อส่งกองกำลังเข้าไปควบคุมสถานการณ์ในฮ่องกง



· ราคาน้ำมันเริ่มทรงตัว หลังจากเมื่อคืนที่ปรับลดอย่างหนักจากการประกาศปริมาณสต็อกน้ำมันสหรัฐฯเพิ่มขึ้นเกินคาด และความกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนและเยอรมนี


โดยราคาน้ำมันดิบ Brent ปรับลดลง 0.2% แถว 59.35 เหรียญ/บาร์เรล หลังจากปรับร่วงลงมากว่า 3% เมื่อคืน ส่วนราคาน้ำมันดิบ WTI ปรับลดลง 0.1% แถว 55.28 เหรียญ/บาร์เรล หลังจากปรับร่วงลงมากว่า 3.3% เมื่อคืน




· WTI : น้ำมันผันผวนจากความไม่แน่นอนของสงครามการค้า และการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก

ราคาน้ำมันเคลื่อนไหวอย่างผันผวนตลอดทั้งสัปดาห์ตามเนื้อข่าวที่เข้ามากระทบ โดยเฉพาะกับประเด็บสงครามการค้าและสัญญาณการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก จึงส่งผลให้ภาพทางเทคนิคไม่ชัดเจน แม้ว่าทิศทางขาขึ้นดูจะได้รับแรงหนุนจากการปรับลดกำลังการผลิตของกลุ่ม OPEC แต่ราคาก็ทำได้แค่ทรงตัวเหนือระดับ 50% retracement ของกรอบการเคลื่อนไหวในเดือน ธ.ค. จนถึงปี 2019

ในช่วงต้นสัปดาห์นี้ ราคาน้ำมัน WTI ปรับขึ้นอย่างรวดเร็วเหนือเส้นค่าเฉลี่ยราย 20, 50 และ 200 วัน ยืนเหนือระดับ 56 - 57 เหรียญ/บาร์เรล อย่างไรก็ตาม ทิศทางขาลงกลับมามีกำลังอีกครั้งและกดดันให้ราคาย่อตัวลงมาที่ 54.50 เหรียญ/บาร์เรล และส่งผลให้ราคำน้ำมันวันนี้ มีแนวโน้มจะย่อตัวลงไปถึงระดับ 53 เหรียญ/บาร์เรล และระดับ 61.8% retracement



· ราคาน้ำมันดิบปรับตัวขึ้นได้หลังจากที่ทีมบริหารทรัมป์ประกาศจะเลื่อนการขึ้นภาษีสินค้านำเข้าจากจีนไปเมื่อวันอังคารนี้ โดยทำให้ตลาดปิด +3.55% แต่ก็ยังปิดต่ำกว่าระดับ 57 เหรียญ/บาร์เรล


แต่แล้วความผิดหวังต่อยอดค้าปลีกและภาคอุตสาหกรรมจากจีน รวมทั้งข้อมูลเศรษฐกิจของทางเยอรมนี ประกอบกับความกังวลเรื่องการเติบโตทางเศรษฐกิจโลก และแนวโน้มอุปสงค์น้ำมันก็ได้กลายมาเป็นปัจจัยที่กดดันราคาน้ำมันดิบ


นอกจากนี้ ราคาน้ำมันดิบ WTI เผชิญแรงกดดันจากการเทขายหลังจาก EIA เผยสต็อกน้ำมันดิบสหรัฐฯในสัปดาห์ที่แล้วออกมาเพิ่มขึ้นเกินคาดที่ 1.6 ล้านบาร์เรล โดยเวลานั้นน้ำมันดิบ WTI ร่วงลง 2.8% ที่ระดับ 55 เหรียญ/บาร์เรล

ด้านรัฐมนตรีกระทรวงน้ำมันคูเวต กล่าวว่า พร้อมสนับสนุนข้อตกลงการปรับลดกำลังการผลิตร่วมกับกลุ่มโอเปกเพื่อสนับสนุนราคาน้ำมัน โดยตลาดต่างรอดูว่าตลาดจะตอบรับกับการดำเนินการของกลุ่มโอเปกอย่างไร หากความกังวลด้านอุปสงค์น้ำมันยังคงกดดันให้ราคาปรับตัวลดลง



บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com