· ดัชนีดาวโจนส์ปิวเจอร์ปรับขึ้นเพียง 39 จุดวันนี้ หลังจากที่ตอนเช้าขยับขึ้นมาประมาณ 35.58 จุด โดยภาพรวมตลาดเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย หลังจากที่หุ้นสหรัฐฯร่วงลงหนักเมื่อคืนนี้ จากสัญญาณความถดถอยทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในตลาดพันธบัตรเมื่อวานนี้
· ดัชนีดาวโจนส์ปรับตัวลงจากแรงเทขายทำกำไร หลังอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปี และ 2 ปี เคลื่อนไหวผกผันกัน ประกอบกับรายงานผลประกอบการที่ออกมาอย่างน่าผิดหวัง แม้ว่าจะมีทวิตเตอร์ของนายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ที่เรียกร้องให้เฟดดำเนินการปรับลดดอกเบี้ยต่อ แต่โอกาสการผ่อนคลายทางการเงินก็ดูจะไม่ช่วยให้ตลาดฟื้นตัวได้มากนัก
กลุ่มนักลงทุนมีการตอบรับกับรายงานผลประกอบการส่วนใหญ่ ที่ได้รับผลจาก Trade War ของสหรัฐฯและจีน รวมทั้งความเป็นไปได้ที่จะเกิดความไม่แน่นอนต่างๆ และทำให้ประมาณการณ์ผลประกอบการอยู่แถวระดับ 5.5% ซึ่งจะมีกรอบราคาประมาณ 17 เหรียญ และหากพิจารณาทางเทคนิคควบคู่ไปบริเวณเส้นค่าเฉลี่ย MA ราย 200 วัน ก็จะมีกรอบราคาเฉลี่ย 165 เหรียญ โดยอาจมีการเห็นดัชนี S&P500 รีบาวน์กลับได้บ้างแต่ก็เป็นกรอบการเคลื่อนไหวประมาณ 170 เหรียญ ขณะที่เส้นเทรนไลน์สะท้อนว่าหากปรับลงมาจะลดลงประมาณ 155 เหรียญ
· ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวลดลงต่อเนื่อง ท่ามกลางความกังวลของตลาดหลังอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯอายุ 30 ปีปรับลดลงทำระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 1.965% โดยเป็นการปรับลดลงติดต่อกันมากถึง 0.60% ในช่วง 12 วันทำการ ขณะที่ดัชนี MSCI ที่ไม่รวมตลาดหุ้นญี่ปุ่นปรับลดลง 0.7% ระหว่างวันมีการลงไปทำระดับต่ำสุดในรอบ 7 เดือน
· ตลาดหุ้นญี่ปุ่นปิดในแดนลบใกล้ระดับต่ำสุดในรอบ 9 วัน ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ที่กดดันให้ตลาดหุ้นสหรัฐฯปรับร่วงลงอย่างต่อเนื่อง และค่าเงินเยนที่แข็งค่าขึ้น โดยดัชนี Nikkei ปิด -1.21% ที่ระดับ 20,405.65 จุด ระหว่างวันลงไปทำระดับต่ำสุดที่ 20,184.85 จุด ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดของวันที่ 6 ส.ค.
· ตลาดหุ้นจีนฟื้นตัวกลับมาปิดในแดนบวก นำโดยหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี หลังรัฐบาลจีนประกาศผลักดันความเป็นอิสระทางด้านเทคโนโลยี ท่ามกลางภาวะสงครามการค้าระหว่างจีน-สหรัฐฯ โดยดัชนี blue-chip CSI300 ปิด +0.3% ที่ระดับ 3,694.00 จุด ส่วนดัชนี Shanghai Composite ปิด +0.3% ที่ระดับ 2,815.80 จุด
· ตลาดหุ้นยุโรปเปิดทรงตัวในวันนี้ หลังจากที่ถูกเทขายอย่างหนักเมื่อคืน จากความกังวลเกี่ยวกับภาวะชะลอตัวของเศรษฐกิจ ขณะที่บรรดานักลงทุนกำลังมีความหวังว่าธนาคารกลางจะออกนโยบายทางการเงินเพื่อเหลือตลาด โดยดัชนีSTOXX 600 เปิด +0.2% ฟื้นขึ้นเล็กน้อยจากระดับต่ำสุดในรอบ 6 เดือนที่ถูกเทขายลงไปในช่วงก่อนหน้า
อ้างอิงจากสำนักข่าวอินโฟเควสท์
- นายเทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการสายงานวิจัย บล.เอเซีย พลัส กล่าว ตลาดหุ้นไทยเช้านี้น่าจะปรับตัวลง หลังเมื่อคืนนี้ดัชนีดาวโจนส์ของสหรัฐ ร่วงลงแรงกว่า 800 จุด จากสัญญาณภาวะเศรษฐกิจที่ไม่สดใส ทำให้ตลาดมีความกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจมากขึ้นเรื่อย ๆ ขณะที่ปัจจัยในประเทศก็ยังเข้ามาซ้ำเติมหลังจากที่บจ.ทยอยประกาศผลประกอบการไตรมาส 2/62 ออกมาไม่สดใส ทำให้มีโอกาสที่จะเผชิญกับ Downside ประมาณกำไรของบจ.เข้ามาซ้ำเติมด้วย
- อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 30.8220 บาท/ดอลลาร์
- แบงก์กสิกรไทยนำร่องลดดอกเบี้ยเงินกู้เอ็มโออาร์-เอ็มอาร์อาร์ลง 0.25% เริ่มมีผลวันที่ 15 ส.ค. แบงก์พาณิชย์ขนาดใหญ่ขานรับทันควัน "กรุงไทย-กรุงเทพ-ไทยพาณิชย์" ประกาศลดดอกเบี้ยในวันเดียวกัน หวังช่วยแบ่งเบาภาระเอสเอ็มอีรายย่อย
- ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เปิดเผยภายหลังนำคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) เข้าพบ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม เมื่อวันที่ 14 ส.ค. 62 ว่า ภาคเอกชนได้ยื่นสมุดปกขาว 6 ข้อ ให้นายกฯ พิจารณาในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศและแก้ปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ ให้ทันต่อสถานการณ์ของโลกเพื่อให้รัฐบาลชุดใหม่
- "สมคิด" มอบนโยบายกระทรวงอุตสาหกรรมจัดทัพร่วมบีโอไอโรดโชว์ดึงการลงทุนต่างชาติเข้าไทยเพื่อให้ไทยก้าวข้ามเวียดนามที่เป็นดาวรุ่งแห่งการลงทุนในขณะนี้ พร้อมให้อัดฉีดงบประมาณ มุ่งพัฒนาเอสเอ็มอี, สตาร์ตอัพ, เกษตรแปรรูป
- รมว.พาณิชย์ เปิดเผยหลังการประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนด้านการพาณิชย์ (กรอ.พาณิชย์) ว่า ที่ประชุมได้พิจารณาการรับมือสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีนที่ยังยืดเยื้อส่งผลกระทบต่อการค้า การลงทุนทั่วโลกรวมถึงไทย โดยเห็นชอบร่วมกันให้จัดตั้งวอร์รูม เพื่อติดตามสถานการณ์การค้าและการส่งออก รวมถึงเสนอแนวทางรับมือทั้งเชิงรุก เชิงรับ เพื่อผลักดันให้การค้าของไทยยังขยายตัวได้ต่อไป
- นายกฯถก "คลัง- สำนักงบฯ" แผนกระตุ้นเศรษฐกิจ ก่อนชง ครม.เศรษฐกิจ "สมคิด" ยืนยันต้องใช้ยาแรง กระตุ้นให้เห็นผลไตรมาส 3-4 "อุตตม" เผยเน้นกระตุ้นบริโภคภายใน กระจายถึงฐานราก กกร.ตบเท้ายื่น 6 ข้อเสนอนโยบายเร่งด่วน จี้เร่งคลอดมาตรการพยุงเศรษฐกิจ