อย่างไรก็ดี ยังคงถูกกดดันจากความไม่แน่นอนเกี่ยวกับประเด็นสงครามทางการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีน
โดยดัชนี Nikkei เพิ่มขึ้น 0.7% ที่ะรดับ 20,563.16 จุด ขณะที่ดัชนี Topix เพิ่มขึ้น 0.6% ที่ีระดับ 1,494.33 จุด
นักกลยุทธ์ประจำ Monex Securities ระบุว่า วันนี้มีปัจจัยภายนอกหนุนตลาดหุ้นญี่ปุ่น อย่างไรก็ดี การซื้อขายยังค่อนข้างเบาบาง ท่ามกลางเหล่านักลงทุนที่ชะลอการลงทุนก่อนหน้าการประชุมธนาคารกลางประจำปีในสัปดาห์นี้ ที่จะมีการแถลงการดำเนินนโยบายของเฟด ซึ่งตลาดต้องการรอดูว่าเฟดจะมีท่าทีตอกย้ำต่อแนวทางการผ่อนคลายทางการเงินต่อหรือไม่
· ตลาดหุ้นจีนปรับตัวสูงขึ้นกว่า 2% ซึ่งเป็นระดับดีที่สุดนับตั้งแต่ต้นเดือนก.ค.ที่ผ่าน ท่ามกลางเหลานักลงทุนที่ได้รับแรงหนุนจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของจีนเพื่อหนุนเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากสงครามการค้าที่ไม่สิ้นสุดกับสหรัฐฯ
โดยดัชนี Shanghai Composite เพิ่มขึ้น 2.1% ที่ระดับ 2,883.10 จุด
· ตลาดหุ้นยุโรปปรับตัวสูงขึ้น ท่ามกลางความหวังของการกระตุ้นจากธนาคารกลางและมาตรการการเงินจากประเทศเศรษฐกิจสำคัญเช่นจีนและเยอรมนี โดยดัชนี Stoxx600 เพิ่มขึ้น 1% ขณะที่หุ้นภาคธนาคารเพิ่มขึ้น 1.6% ท่ามกลาวตลาดภูมิภาคส่วนใหญ่ที่เคลื่อนไหวในแดนบวก
สำนักข่าวอินโฟเควสท์
- นายวิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) คาดว่า ในเดือนก.ย.นี้ ธปท.จะพิจารณาปรับลดประมาณการอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย (GDP) ปี 62 ลงอีก เนื่องจากบรรยากาศการกีดดันทางการค้าที่ยังรุนแรงและยืดเยื้อกระทบต่อภาคการส่งออก จากเมื่อเดือนมิ.ย.ได้ปรับคาดการณ์ GDP ของปี 62 ลงมาที่ 3.3% จากเดิมคาดโต 3.8%
- นายอุตตม สาวนายน รมว.คลัง เปิดเผยว่า ยังมั่นใจว่าเศรษฐกิจไทยในปีนี้จะขยายตัวได้ตามเป้าหมายที่ 3% แม้สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ ประกาศตัวเลข GDP ไตรมาส 2/62 ขยายตัวที่ 2.3% ซึ่งเป็นไปตามที่คาดการณ์ และเป็นเหตุผลที่ทำให้รัฐบาลต้องมีการออกมาตรการเร่งด่วนเพื่อช่วยประคองให้เศรษฐกิจไทยให้สามารถเติบโตต่อไปได้
โดยในวันพรุ่งนี้ กระทรวงการคลังเตรียมเสนอครม.พิจารณามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ที่จะออกมาเริ่มใช้ได้ ปลายส.ค.-ต้นก.ย.
โดยเชื่อว่า หากครม.เห็นชอบตามวงเงินที่เสนอ 3.16 แสนล้านบาทจะช่วยกระตุ้น GDP ขยายตัวเพิ่มขึ้น 0.55% ทำให้ยังมั่นใจว่า เศรษฐกิจไทยปีนี้จะขยายตัวได้ตามเป้าหมาย
- นายทศพร ศิริสัมพันธ์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ ปรับลดคาดการณ์อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยปี 62 เหลือเติบโต 2.7-3.2% จากเดิมที่ก่อนหน้านี้คาดไว้ 3.3-3.8% หลังครึ่งปีแรกขยายตัวได้ 2.6% ส่วนมูลค่าการส่งออกสินค้าคาดว่าจะลดลง -1.2% จากคาด 2.2% มูลค่านำเข้า -1.6% จากเดิมคาด 3.5% การลงทุนรวมขยายตัว 3.8% จากคาด 4.5% ขณะที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยอยู่ในช่วง 0.7 –1.2% และบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 5.9% ของ GDP
ส่วนปีหน้าสภาพัฒน์ คาดเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวในช่วง 3.0-4.0% หรือค่ากลางที่ 3.5%
นายทศพร ระบุว่า เศรษฐกิจไทยไตรมาส 2/62 ขยายตัว 2.3% เป็นการขยายตัวที่ต่ำสุดในรอบ 19 ไตรมาส ทั้งนี้ เชื่อว่าเศรษฐกิจไทยในไตรมาส 2 ขยายตัวต่ำสุดในปีนี้แล้ว และจะเริ่มฟื้นตัวขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปีจากผลของการที่รัฐบาลได้ออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในด้านต่างๆ ซึ่งจะทำให้ภาพรวมเศรษฐกิจไทยในปีนี้ขยายตัวได้ 2.7-3.2% หรือเฉลี่ยที่ 3% ขณะที่ปี 63 คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวได้ 3-4%