· ดัชนีดาวโจนส์ปิดปรับตัวลงเป็นครั้งแรกในรอบ 4 วันทำการ โดยปิดลดลงไป 173.35 จุด หรือ -0.7% ที่ระดับ 25,962.44 จุด ขณะที่ดัชนี S&P500 ปิด -0.8% ที่ 2,900.51 จุด และดัชนี Nasdaq ปิด -0.7% ที่ 7,948.56 จุด
ทั้งนี้ ตลาดหุ้นสหรัฐฯปิดอ่อนตัวลงในช่วงท้ายตลาด ควบคู่กับการปรับตัวลงอีกครั้งของอัตราผลตอบแทนพันธบัตร
ขณะเดียวกันมีรายงานว่า ทางทำเนียบวขาวมีการหารือว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯในเร็วๆนี้จะเข้าสู่ภาวะถดถอยหรือไม่ หรือจะกล่าวย้ำถึงความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจสหรัฐฯที่ยังดำเนินไป
· รายงานจาก The Washington Post และ New York Times ต่างรายงานว่า ทีมบริหารของนายทรัมป์กำลังหารือกันในเรื่องการปรับลดภาษีค่าจ้างที่จะมาบรรเทาการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ ขณะที่เจ้าหน้าที่จากทำเนียบขาว กล่าวว่ายังไม่มีการตัดสินใจถึงเรื่องดังกล่าวในเวลานี้ และนายทรัมป์ ก็ระบุว่า ภาษีค่าจ้างยังอยู่ในกระบวนการพิจารณา
เหล่าเทรดเดอร์มีความกังวลเกี่ยวกับเศรษฐกิจโลก จากการที่สหรัฐฯและจีนยังคงมีความขัดแย้งทางการค้า แม้ว่าสหรัฐฯจะมีการผ่อนปรนให้บริษัท Huawei ทำธุรกิจกับบริษัทสหรัฐฯได้เป็นการชั่วคราว 90 วัน
นอกจากนี้ บรรดาเทรดเดอร์ก็รอคอยรายงานประชุมเฟดเดือนก.ค. ที่จะเปิดเผยในคืนนี้ หลังจากที่เฟดตัดสินใจปรับลดดอกเบี้ยลง 0.25% และมีการกล่าวย้ำถึงความคืบหน้าทางเศรษฐกิจโลก และเงินเฟ้อที่ชะลอตัว
· หุ้นยุโรปปิดปรับตัวลงเมื่อวานนี้จากความกังวลต่อวิกฤตทางการเมืองอิตาลี โดยดัชนี Stoxx600 ปิด -0.7% ท่ามกลางหุ้นหลักส่วนใหญ่ที่เคลื่อนไหวแดนลบ
· ตลาดหุ้นเอเชียเปิดปรับตัวลงในเช้าวันนี้ตามตลาดหุ้นสหรัฐฯที่ปิดปรับลงจากความกังวลเรื่องภาวะเศรษฐกิจถดถอย โดยดัชนีนิกเกอิเปิด -0.57% ขณะที่ Topix เปิด -0.79% ท่ามกลางหุ้นกลุ่มยานยนต์อย่าง Nissian, Mazda Motorและ Toyota ที่เปิดลบ และหุ้น SoftBank Group เปิด -2.57%
ดัชนี Kospi ของเกาหลีใต้เปิด -0.11% และดัชนี ASX200 ปิด -0.76%
· อ้างอิงจากสำนักข่าวอินโฟเควสท์
- นักบริหารเงิน คาดว่า วันนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบระหว่าง 30.70-30.90 บาท/ดอลลาร์ โดยมี flow เข้ามา แต่ก็ไม่ได้มีผลมากนัก ส่วนที่ ครม.อนุมัติมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจไม่ได้มีผลกระทบมาก เพราะตลาดคงรับข่าวไปตั้งแต่รอบที่ ครม.เศรษฐกิจอนุมัติแล้ว
- ที่ประชุม ครม.อนุมัติชุดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ วงเงิน 3.16 แสนล้านบาท คาดช่วยดัน GDP ปีนี้ให้โตไม่ต่ำกว่า 3% ประกอบด้วย 3 มาตรการหลัก ได้แก่ 1. มาตรการบรรเทาค่าครองชีพผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐและกองทุนหมู่บ้าน 2. มาตรการเพื่อบรรเทาค่าครองชีพสำหรับเกษตรกรผู้ประสบภัยแล้ง ปี 62 และเกษตรกรรายย่อย 3. มาตรการเพื่อกระตุ้นการบริโภคและการลงทุนภายในประเทศ
- สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ระบุว่ามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอาจจะทำให้เศรษฐกิจไทยในปีนี้มีโอกาสเติบโตได้ถึง 3.5% หลังจากการติดตามสถานการณ์ช่วงก่อนหน้านี้ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยในปี 62 จะขยายตัวได้แค่ 3% ชะลอตัวลงจากปี 61 ที่ขยายตัวได้ 4.1% จากปัจจัยอุปสงค์จากต่างประเทศที่ชะลอตัวลงเป็นสำคัญ อันเป็นผลจากเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าและปริมาณการค้าโลกที่ชะลอตัวลง ส่วนหนึ่งมาจากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน รวมถึงการตอบโต้ทางการค้าระหว่างประเทศต่างๆ ส่งผลให้มูลค่าการส่งออกสินค้าของไทยในปีนี้มีแนวโน้มหดตัวลง -0.9%
สำหรับเสถียรภาพเศรษฐกิจยังอยู่ในเกณฑ์ดี โดยเสถียภาพเศรษฐกิจในประเทศนั้น คาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปปีนี้ จะอยู่ที่ 1% ลดลงจากปีก่อน ตามราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่มีทิศทางลดลง ขณะที่เสถียภาพเศรษฐกิจภายนอกประเทศ คาดว่าดุลบัญชีเดินสะพัดจะเกินดุล 33.3 พันล้านดอลลาร์ หรือคิดเป็น 6.1% ของ GDP