แต่การดำเนินการเหล่านั้นก็ทำให้ IMF กังวลว่าอาจกลายเป็นสงครามค่าเงินได้ หรือที่เรียกว่า “Begger-thy-neighbor” ที่หมายถึงการดำเนินนโยบายการค้าทั่วโลกเพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจของตนและทำลายการเติบโตของประเทศเพื่อนบ้านหรือคู่ค้าอื่นๆ
การขึ้นภาษีไม่เป็นผลดี
IMF ยังกล่าวถึงการขึ้นภาษีสินค้านำเข้าจากประเทศ เพื่อลดผลกระทบที่เกิดจากค่าเงินในประเทศที่แข็งค่ามากเกินไป โดยทาง IMF ชี้แจงว่าการขึ้นภาษีสินค้านำเข้าจากต่างประเทศ ไม่น่าจะสามารถแก้ไขปัญหาด้านดุลการค้าได้ แต่การขึ้นภาษีจะเป็นการผลักดันให้ย้ายการซื้อขายไปสู่แหล่งอื่น รวมถึงกดดันความเชื่อมั่นของธุรกิจและการลงทุน รบกวนกระแสอุปทาน และเพิ่มค่าใช้จ่ายของทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค
แนวทางแก้ไข
IMF ให้คำแนะนำวิธีแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจที่ไม่ใช่การขึ้นภาษี โดยสำหรับประเทศที่มียอดขาดดุลทางการค้าอย่างสหรัฐฯ หรืออังกฤษ ควรมุ่งเป้าไปยังการลดค่าใช้จ่ายของภาครัฐโดยไม่กระทบต่อการเติบโตของเศรษฐกิจในประเทศ พัฒนาความสามารถในการแข่งขันให้กับภาคอุตสาหกรรม เพิ่มการลงทุนในด้านความสามารถของแรงงาน และกระตุ้นให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของการเก็บออมระยะยาว
สำหรับประเทศที่มียอดเกินดุลการค้า อย่างเยอรมนี หรือเกาหลีใต้ IMF แนะนำให้ ปฏิรูปการค่าใช้จ่ายของภาครัฐเข้าหาการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานมาก ขณะที่หามาตรการกระตุ้นการลงทุนของภาคเอกชน เช่น การลดภาษีสำหรับการวิจัยและพัฒนา หรือลดการคุมเข้มสำหรับการคัดสรรแรงงานชั้นสูง
ทั้งนี้ IMF แนะนำให้ทุกฝ่ายหาวิธีป้องกันความขัดแย้งทางการค้าที่ยั่งยืน และเร่งแก้ไขปัญหาความขัดแย้งที่กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบัน โดยเฉพาะเรื่องของการจ่ายเงินสนับสนุนให้กับภาคการส่งออก และการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา
ที่มา : CNBC