· ดัชนีดาวโจนส์อ่อนตัวลงหลังจากที่ฟื้นตัวไปกว่า 155 จุด เมื่อวานนี้ อันเนื่องมาจากตลาดพันธบัตรส่งสัญญาณสะท้อนถึงภาวะถดถอยอีกครั้ง ในขณะที่ความกังวลเกี่ยวกับ Trade War ก็ดูจะกดดันตลาดหุ้นสหรัฐฯ
ดัชนีดาวโจนส์ปิดปรับลง 120.93 จุด ที่ระดับ 25,777.9 จุด หลังจากที่ช่วงต้นตลาดปรับขึ้นไปกว่า 150 จุด ทางด้านดัชนี S&P500 ปิด -0.32% ที่ระดับ 2,869.16 จุด และ Nasdaq ปิด -0.34% ที่ระดับ 7,826.95 จุด ท่ามกลางการร่วงลงของหุ้นบริษัท Netflix, Nvidia และ T-Mobile
สเปรดความผกผันระหว่างผลตอบแทนอายุ 10 ปี และ 2 ปีปรับตัวลงสู่ระดับประมาณ -0.05% ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญกังวลต่อภาวะถดถอยจะเกิดขึ้น ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 3 เดือนสูงกว่า 30 ปี
· ตลาดหุ้นยุโรปปรับตัวขึ้น 0.5% ท่ามกลางสภาแห่งรัฐจีน ประกาศ กำลังจะพิจารณาผ่อนคลายข้อจำกัดมาตรการขายเข้าซื้อรถยนต์ที่เป็นส่วนหนึ่งของการสนับสนุนการอุปโภคบริโภค พร้อมกันนี้จีนจะยังสนับสนุนการเข้าซื้อรถยนต์พลังงานครั้งใหม่รวมทั้งอุปกรณ์โทรศัพท์ โดยดัชนี Stoxx600 ปิด +0.5%
นอกจากนี้ กลุ่มนักลงทุนจับตาความเป็นไปได้ในการเจรจาการค้าสหรัฐฯ และภาวะทางการเมืองในอิตาลี และตลาดบางส่วนก็ดูจะตอบรับกับความหวังที่นายทรัมป์ ระบุว่าจีนติดต่อมาเพื่อเจรจาอีกครั้ง
· ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวสูงขึ้น หลังจากการผกผันข้ามคืนของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ซึ่งเป็นระดับที่แย่ที่สุดในรอบกว่าทศวรรษที่ผ่านมา
โดยเช้านี้ ดัชนี Nikkei และดัชนี Topix เพิ่มขึ้นเล็กน้อย ด้านดัชนี Kospi เกาหลีใต้ เพิ่มขึ้น 0.36% ขณะที่ปัญหาระหว่างญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ยังคงคุกรุ่นจากการที่ญี่ปุ่นถอนเกาหลีใต้ออกจากรายชื่อประเทศคู่ค้าเมื่อวานนี้
ภาพรวมดัชนี MSCI ที่ไม่รวมญี่ปุ่นเปิด +0.02%
· นักบริหารเงินประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทวันนี้ไว้ที่ระหว่าง 30.50-30.70 บาท/ดอลลาร์ โดยค่าเงินบาทแกว่งตัวในกรอบแคบๆ ตลาดยังไร้ทิศทางรอปัจจัยใหม่เข้ามาเกี่ยวกับความชัดเจนเรื่องสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯกับจีน
· อ้างอิงจากสำนักข่าวอินโฟเควสท์
- สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไทย (สศอ.) เผยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือนก.ค.62 อยู่ที่ 100.7 หดตัวลง 3.23% เมื่อเทียบจากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลลบต่อดัชนี ได้แก่ รถยนต์และเครื่องยนต์ น้ำมันปิโตรเลียม เหล็กและเหล็กกล้าขั้นมูลฐาน ผลิตภัณฑ์ยาง และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ สาเหตุหลักมาจากผลกระทบจากเศรษฐกิจและการค้าโลกที่ชะลอตัวต่อเนื่องและคำสั่งซื้อจากตลาดต่างประเทศชะลอตัวลง ยกเว้นน้ำมันปิโตรเลียมที่มีการซ่อมบำรุงโรงกลั่น
- สศอ. ปรับคาดการณ์ MPI และ GDP ภาคอุตสาหกรรมปี 62 เหลือโต 0.0 - 1.0% จากเดิมที่คาด 2-3%ในช่วงต้นปีที่ผ่านมา โดยปัจจัยสำคัญมาจากผลกระทบจากสงครามการค้าที่ทำให้การส่งออกสินค้าไทยลดลงและทำให้การผลิตสินค้าลดลงด้วย น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติอนุมัติงบประมาณวงเงิน 13,378 ล้านบาท เพื่อใช้ในการประกันรายได้ให้แก่ชาวสวนปาล์มที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกร 3 แสนราย ในระยะเวลาโครงการตั้งแต่เดือน ส.ค.62 - ก.ย.63
- ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดแนวโน้มสินเชื่อของระบบธนาคารพาณิชย์ไทยในช่วงที่เหลือของปี 2562 อาจเผชิญข้อจำกัดของการฟื้นตัวในช่วงที่เหลือของปี 2562 และธนาคารพาณิชย์หลายแห่งยังคงติดตามประเด็นคุณภาพสินทรัพย์และต้องเร่งบริหารจัดการปัญหาในเชิงรุกมากขึ้น เนื่องจากปัจจัยเสี่ยงทางเศรษฐกิจ ทั้งในและต่างประเทศ อาจเพิ่มความท้าทายต่อแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยตลอดช่วงครึ่งหลังของปี
- ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจและกลยุทธ์ทิสโก้ (TISCO ESU) ประเมินว่าอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (GDP) ของไทยในปี 62 จะโตได้เพียง 2.9% ลดลงจากเดิมที่คาดว่าจะทำได้ 3.5% ส่วนในปี 63 มองว่าจะขยายตัวต่ำต่อเนื่องที่ 3.1%