· ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวสูงขึ้นทำระดับสูงสุดในรอบ 1 สัปดาห์ เนื่องจากความคืบหน้าเกี่ยวกับการเจรจาทางการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีน รวมทั้งความหวังที่ว่าธนาคารกลางและรัฐบาลจะทำอะไรได้มากขึ้นเพื่อหลีกเลี่ยงการชะลอตัวของการเติบโตทั่วโลก
ด้านนักลงทุนให้ความสนใจกับการประกาศข้อมูลทางเศรษฐกิจจำนวนมากในช่วงสุดสัปดาห์ รวมถึงการสำรวจการผลิตอย่างเป็นทางการของจีนซึ่งจะเป็นตัวชี้วัดที่ดีถึงผลกระทบที่แท้จริงจากสงครามการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐฯ
โดยดัชนี MSCI ทีไม่รวมหุ้นญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น 1% ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 23 ส.ค.ที่ผ่านมา สำหรับภาพรวมรายสัปดาห์สามารถปรับตัวสูงขึ้นได้เล็กน้อย
· ตลาดหุ้นญี่ปุ่นปรับตัวสูงขึ้น ท่ามกลางสัญญาณที่บ่งชี้ว่าสหรัฐฯและจีนอาจกลับมาเจรจาอย่างเต็มรูปแบบ หลังจากที่กระทรวงพาณิชย์ของจีน เปิดเผยเมื่อวานนี้ว่า จีนและสหรัฐกำลังหารือเรื่องการเจรจาการค้าแบบตัวต่อตัวที่จะจัดขึ้นในสหรัฐฯเดือนก.ย.นี้
โดยนายเกา เฟิง โฆษกกระทรวงพาณิชย์จีน เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวในระหว่างการแถลงข่าวรายสัปดาห์ว่า ทั้งสองฝ่ายควรสร้างภาวะเพื่อให้เกิดความคืบหน้าในการเจรจา โดยระบุเสริมว่า จีนจะไม่ให้สงครามการค้ากับสหรัฐทวีความรุนแรงขึ้น และยินดีที่จะแก้ไขปัญหาอย่างสงบ
โดยดัชนี Nikkei เพิ่มขึ้น 1.19% ที่ระดับ 20,704.37 จุด สำหรับภาพรวมรายสัปดาห์ปรับตัวสูงขึ้น 1.4%
· ตลาดหุ้นจีนปิดผสมผสาน ท่ามกลางนักลงทุนบางส่วนที่มีมุมมองเชิงบวกต่อความคืบหน้าล่าสุดของการเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐฯ-จีน ขณะที่อีกส่วนหนึ่งยังมีความกังวลกับการที่สหรัฐฯจะเดินหน้าขึ้นภาษีนำเข้าจากจีนในวันที่ 1 ก.ย.
โดยดัชนี Shanghai Composite ปิด -0.2% ที่ระดับ 2,886.24 จุด ภาพรวมรายสัปดาห์ปิด -0.4% และภาพรวมรายเดือนปิด -1.6% ท่ามกลางแรงกดดันจากสงครามการค้าระหว่งาสหรัฐฯ-จีน
ด้านดัชนี blue-chip CSI300 ปิด +0.3% แต่ในภาพรวมรายสัปดาห์ปิด -0.6% ส่วนภาพรวมรายเดือนปิด -0.9%
· ตลาดหุ้นยุโรปปรับตัวสูงขึ้น ท่ามกลางความคืบหน้าของสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีน รวมทั้งการที่นายบอริส จอห์นสัน นายกรัฐมนตีอังกฤษมีแผนจะเลื่อนการเปิดประชุมสภาออกไปจึงยิ่งเพิ่มโอกาสที่ Brexit จะจบลงแบบ No-Deal
โดยดัชนี Stoxx600 เพิ่มขึ้น 0.1% ด้านหุ้นเทคโนโลยีและหุ้นทรัพยากรเพิ่มขึ้น 0.4% ขณะที่ภาคครัวเรือนลดลง 0.2%
สำนักข่าวอินโฟเควสท์
- นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.อุตสาหกรรม เปิดเผยภายหลังการตรวจเยี่ยมกรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) ว่า ได้มอบหมายนโยบายที่สำคัญ 5 ด้าน ประกอบด้วย การส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-Curve), การส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการไปสู่ 4.0, การส่งเสริมภาคการผลิตไปสู่ 4.0 ด้วยการยกระดับกระบวนการผลิตด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมสู่ Factory 4.0, นโยบายการส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่ และนโยบายการปรับแนวคิดและรูปแบบการให้บริการของทุกหน่วยงานภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงอุตสาหกรรม ที่จะให้ กรอ. และหน่วยงานต่าง ๆ ร่วมกันขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรมเพื่อเร่งพัฒนาอุตสาหกรรมไทยไปสู่การเป็นอุตสาหกรรม 4.0 รองรับการเปลี่ยนแปลงในยุคเศรษฐกิจดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบให้เกิดเป็นรูปธรรมโดยเร็ว รวมถึงเร่งสร้างความเชื่อมั่นนักลงทุนและดึงดูดนักลงทุนจากต่างชาติให้เข้ามาลงทุนในประเทศไทยมากขึ้นในภาวะที่เศรษฐกิจโลกประสบปัญหาชะลอตัวจากสงครามการค้าสหรัฐ-จีน
- นายวิจิตร อารยะพิศิษฐ ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยหลักทรัพย์ บล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยเช้านี้ปรับตัวขึ้นใกล้เคียงกับตลาดหุ้นในภูมิภาคเอเชียต่างเคลื่อนไหวในแดนบวก หลังผ่อนคลายความกัลวลในช่วงสั้นประเด็นสงครามการค้า เนื่องจีนและสหรัฐฯจะกลับมาเจรจากันอีกรอบในเดือนก.ย. ทำให้สินทรัพย์เสี่ยงต่างปรับตัวขึ้น
- นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า วันนี้ (30 ส.ค.) จะยังไม่มีการประชุมคณะกรรมการรัฐมนตรี
ฝ่ายเศรษฐกิจ (ครม.เศรษฐกิจ) เนื่องจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ยังจัดทำรายงานและข้อเสนอเรื่อง
มาตรการจูงใจให้นักลงทุนต่างชาติที่ต้องการย้ายฐานการผลิตเข้ามาลงทุนในภูมิภาคนี้ให้มาลงทุนในไทยยังไม่แล้วเสร็จจึงให้มีการเลื่อนการประชุมฯไปก่อน
- นายอมรเทพ จาวะลา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สำนักวิจัย ธนาคาร ซีไอเอ็มบีไทย (CIMBT) กล่าวว่า ธนาคารได้ปรับลดประมาณการอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจไทย (GDP) ในปี 62 เหลือโต 2.8% จากเดิมที่ 3.3% เนื่องจากความตึงเครียดจากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีนเริ่มเห็นผลกระทบต่อประเทศไทยแล้ว ซึ่งเป็นการลุกลามมาจากภาวะการชะลอตัวของเศรษฐกิจในต่างประเทศ ทำให้ภาคการลงทุนเอกชนมีแนวโน้มที่จะติดลบในช่วงครึ่งปีหลัง โดยเฉพาะภาคการส่งออกที่มีแนวโน้มติดลบต่อเนื่อง แต่ไม่รุนแรงเท่าครึ่งปีแรกของปีนี้