• สรุปข่าวตลาดหุ้น (ภาคค่ำ) ประจำวันที่ 2 กันยายน 2562

    2 กันยายน 2562 | SET News
 
        ตลาดหุ้นทั่วโลกปรับตัวลดลงในวันนี้ ท่ามกลางสหรัฐฯและจีนที่ต่างฝ่ายต่างเรียกเก็บภาษีใหม่ซึ่งกันและกัน ทำให้นักลงทุนยิ่งกังวลต่อภาวะการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ ในขณะที่สงครามการค้าครั้งนี้ยังคงปราศจากความไม่ชัดเจน

ดัชนี E-mini Futures ในส่วนของ S&P500 ของสหรัฐฯปรับตัวลงกว่า 1.06% ในช่วงต้นตลาด ก่อนที่ภาพรวมจะขยับลงประมาณ 0.39% ทางด้านอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯก็มีการปรับขึ้นได้เพียงเล็กน้อย

อย่างไรก็ดี ปริมาณการซื้อขายในตลาดเอเชียค่อนข้างเบาบาง ประกอบกับสหรัฐฯเข้าสู่ช่วงวันหยุดประจำชาติ ทางด้านหุ้นยุโรปเปิดเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย โดยดัชนี Stoxx50 Futures ค่อนข้างเปิดทรงตัวในวันนี้

· ตลาดหุ้นเอเชียเคลื่อนไหวผสมผสาน เนื่องจากสหรัฐฯและจีนประกาศขึ้นภาษีสินค้านำเข้าที่เริ่มมีผลบังคับใช้ในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ขณะที่เหล่านักลงทุนให้ความสนใจไปยังข้อมูลภาคธุรกิจของจีนที่ออกมาดีกว่าที่คาด โดยดัชนีMSCI ที่ไม่รวมหุ้นญี่ปุ่นลดลง 0.32%

· ตลาดหุ้นญี่ปุ่นปรับตัวลดลง หลังจากการประกาศขึ้นภาษีสินค้านำเข้าของสหรัฐฯและจีน ท่ามกลางข้อพิพาททางการค้าที่ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออกในเอเชีย รวมทั้งการค้าทั่วโลก

โดยดัชนี Nikkei ลดลง 0.41% ที่ระดับ 20,620.19 จุด

· ตลาดหุ้นจีนปิดในแดนบวกมากกว่า 1% ขณะที่ค่าเงินหยวนค่อนข้างทรงตัว แม้ว่าจะเผชิญแรงกดดันจากการขึ้นภาษีตอบโต้กันระหว่างสหรัฐฯและจีนในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา แต่บรรดานักลงทุนมีความเชื่อมั่นที่ดีมาจากการประกาศผลประกอบการของภาคบริษัทที่สดใส รวมถึงการขยายตัวผิดคาดของกิจกรรมภาคอุตสาหกรรมจีนในเดือน ส.ค.

ทั้งนี้ ดัชนี Shanghai Composite ปิด +1.1% ที่ระดับ 2,917.13 จุด ขณะที่ ดัชนี blue-chip CSI300 ปิด +1.1% ที่ระดับ 3,841.82 จุด

· ตลาดหุ้นยุโรปปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากสหรัฐฯและจีนต่างประกาศขึ้นภาษีซึ่งกันและกัน แม้ว่าจะมีสัญญาณการกลับมาเจรจากันอีกครั้งในเดือนก.ย.นี้

โดยดัชนี Stoxx600 ปรับตัวสูงขึ้น 0.3% หลังจากที่เปิดตลาด ด้านหุ้นทรัพยากรเพิ่มขึ้น 0.6% เนื่องจากตลาดหุ้นภูมิภาคส่วนใหญ่เคลื่อนไหวในแดนบวก

ตลาดหุ้นสหรัฐและตลาดพันธบัตรปิดทำการในวันแรงงาน

สำนักข่าวอินโฟเควสท์

- "แบงก์ชาติ" เปิดรายงานพิเศษชำแหละหนี้ครัวเรือน "3 ภูมิภาค" พบสัญญาณความเสี่ยงพุ่ง จากการแข่งขันที่สูงขึ้นทั้งโป

ร 0% ผ่อนนานขึ้น ขณะ มาตรฐานสินเชื่อด้อยลง พบ "เบี้ยวหนี้" ตั้งแต่งวดแรกพุ่ง ส่วนลูกค้าบัตรเครดิตเริ่มจ่ายหนี้แบบเต็มวงเงินน้อย

ลง ด้าน ธปท. แจงเหตุเลื่อนใช้เกณฑ์ "ดีเอสอาร์" หวั่นซ้ำเติมลูกหนี้ ช่วงเศรษฐกิจชะลอ

- รมว.คลัง เปิดเผยว่า ภายในเดือนก.ย.นี้ กระทรวงการคลังจะเสนอให้ครม.พิจารณาขยายเวลาการลดอัตราภาษีมูลค่า

เพิ่ม (แวต) 7% ออกไปอีก เนื่องจากมองว่าการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% เป็นอัตราที่สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจปัจจุบัน แต่ในรายละเอียด

กำลังพิจารณาอยู่ว่าจะขอให้ ครม.ขยายภาษีออกไปอีก 1 ปี 2 ปี หรือมากกว่านั้น ซึ่งต้องนำมาพิจารณาอย่างรอบคอบก่อน"หลักการ

พิจารณาอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม คลังจะให้ความสำคัญโดยดูจากสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบันเป็นอันดับแรก ซึ่งในสภาวะเศรษฐกิจขณะนี้เสนอให้ต่อ

ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% ต่อไปแน่นอน แต่กำลังพิจารณาอยู่ว่าจะขอให้ ครม.ขยายการลดภาษีออกไปเป็นแบบปีต่อปี หรือขอไปทีเดียว 2 ปีเลย

ซึ่งจะต้องพิจารณาอย่างละเอียดก่อน เพราะมีผลต่อการส่งสัญญาณทางเศรษฐกิจในอนาคต

- นายทศพร ศิริสัมพันธ์ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) กล่าวถึงปัญหาหนี้ครัวเรือนว่า มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยไตรมาส 1/62 หนี้ครัวเรือนเท่ากับ 13 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง 6.3% คิดเป็นสัดส่วนต่อจีดีพีเท่ากับ 78.7% ซึ่งถือว่าสูงสุดในรอบ 9 ไตรมาส นับตั้งแต่ไตรมาสแรกปี 2560 ซึ่งหนี้ครัวเรือนปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่กลางปี 2560

สำหรับแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของหนี้สินครัวเรือนในไตรมาส 2/62 ยังต้องติดตามอย่างใกล้ชิด เพราะภาพรวมสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์เพื่อการอุปโภคบริโภคส่วนบุคคลเพิ่มขึ้นในระดับสูง 9.2% โดยมียอดคงค้างสินเชื่อเพื่อการบริโภคส่วนบุคคลของธนาคารพาณิชย์ขยายตัว 11.3% สูงสุดในรอบ 4 ปี นับตั้งแต่ไตรมาส 4/58 ส่วนยอดคงค้างสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยขยายตัว 7.8% และยอดคงค้างสินเชื่อรถยนต์ขยายตัว 10.2%

ทั้งนี้ ยอดคงค้างหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) เพื่อการอุปโภคบริโภคในไตรมาส 2/62 มีมูลค่า 127,439 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 10% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยยอดคงค้างหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของสินเชื่อรถยนต์ 32.3% และบัตรเครดิตเพิ่มขึ้น 12.5% และสินเชื่อบัตรเครดิตที่มียอดค้างชำระเกิน 3 เดือนขึ้นไปกลับมาขยายตัวอีกครั้

สำนักข่าวThaiPR.NET

- กลุ่มงานโกลบอลมาร์เก็ตส์ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) มีมุมมองต่อทิศทางค่าเงินบาท ในสัปดาห์นี้ว่ามีแนวโน้มเคลื่อนไหวในกรอบ 30.50-30.80 ต่อดอลลาร์ เทียบกับระดับปิดแข็งค่าที่ 30.59 ต่อดอลลาร์เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิในตลาดหุ้นและพันธบัตรไทย 5.7 พันล้านบาท และ 3.9 พันล้านบาท ตามลำดับ ส่วนในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา เงินบาทแข็งค่าขึ้นราว 0.5% เคลื่อนไหวสวนทางกลุ่มสกุลเงินตลาดเกิดใหม่ในเอเชียซึ่งล้วนปรับตัวอ่อนค่าลง

สำหรับปัจจัยในประเทศ เงินเฟ้อทั่วไปเดือนสิงหาคมอยู่ที่ 0.52% ซึ่งต่ำกว่าที่ตลาดคาดไว้และยังคงต่ำกว่าขอบล่างของกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อทั่วไปของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ที่ 1.0-4.0% ทางด้านธปท.ระบุว่าค่าเงินมีแนวโน้มผันผวนสูงและอ่อนไหวมากขึ้นท่ามกลางสถานการณ์การค้าระหว่างประเทศที่เปราะบาง อย่างไรก็ดี ทางการเห็นว่าการส่งออกของไทยสามารถกระจายประเทศคู่ค้าและสินค้าได้ค่อนข้างดี ทำให้ได้รับผลกระทบเชิงลบน้อยกว่าหลายประเทศ ส่วนเดือนก.ค.ไทยยังมียอดเกินดุลบัญชีเดินสะพัดราว 1.77 พันล้านดอลลาร์ เราคาดว่าแม้ภาคส่งออกอาจผ่านพ้นจุดต่ำสุดไปแล้วในไตรมาสที่ 2 แต่ทิศทางการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจในช่วงครึ่งหลังของปีส่วนหนึ่งสะท้อนฐานเปรียบเทียบที่ต่ำในปี 2561 ขณะที่ความเสี่ยงจากปัจจัยภายนอกยังต้องติดตามใกล้ชิด โดยคาดว่ามีโอกาสที่กนง.จะตัดสินใจปรับลดดอกเบี้ยนโยบายลงสู่ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 1.25% อีกครั้งภายในปีนี้

บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com