· ค่าเงินเยนแข็งค่าขึ้นต่อในวันนี้จากความต้องการที่เพิ่มขึ้นของกลุ่มนักลงทุนจากความต้องการในสินทรัพย์ปลอดภัย หลังสหรัฐฯและจีนเดินหน้าขึ้นภาษีสินค้าระหว่างกัน และสร้างแรงกดดันต่อแนวโน้มการเติบโตทางเศรษฐกิจโลก จึงเห็นกำลังเข้าซื้อกลับทั้งท่องคำและค่าเงินเยน ในสภาวะ Risk-off ที่เกิดขึ้นเวลานี้
ขณะที่หุ้นเอเชียร่วงลงในวันนี้ แต่ก็ปรับขึ้นได้บ้างหลังจากที่ข้อมูลผลสำรวจภาคเอกชน เผย ภาคการผลิตจีนเดืนอส.ค. ออกมาดีขึ้นกว่าคาด
ค่าเงินเยนปรับแข็งค่าขึ้นมาประมาณ 0.1% ที่ 106.15 เยน/ดอลลาร์ ขณะที่ค่าเงินหยวนก็ยังคงอ่อนค่าอีก 0.1% ที่ระดับ 7.1686 หยวน/ดอลลาร์ ก่อนจะกลับมาซื้อขายแถว 7.1611 หยวน/ดอลลาร์
ดัชนีดอลลาร์ทรงตัวที่ 98.821 จุด ทางด้านค่าเงินยูโรทรงตัวที่ 1.0991 ดอลลาร์/ยูโร แต่ความเชื่อมั่นยังคงเป็นขาลงหลังจากที่ราคาร่วงลงไปทำระดับอ่อนค่ามากที่สุดในรอบ 2 ปีเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา
· สำนักข่าว Reuters รายงานผลการสำรวจภาคธุรกิจที่ระบุว่า สงครามการค้าที่ดุเดือดระหว่างจีนและสหรัฐฯทำให้กิจกรรมการผลิตในเอเชียประจำเดือนส.ค.ส่วนใหญ่ปรับลดลง
ท่ามกลางการกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อลดความเสี่ยงจากภาวะเศรษฐกิจถดถอย
โดยกิจกรรมภาคการผลิตประจำเดือนส.ค.ของจีนขยายตัวโดยไม่คาดคิด เนื่องจากผลผลิตเพิ่มขึ้น แต่ยอดคำสั่งซื้อยังคงอ่อนแอและความเชื่อมั่นทางธุรกิจปรับลดลง
ทางด้านเกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และไต้หวันก็เห็นว่าภาคการผลิตหดตัวลง ซึ่งเป็นการตอกย้ำความเจ็บปวดที่เพิ่มขึ้นจากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีน
· ทางการจีนเคลื่อนไหวอย่างค่อยเป็นค่อยไปในการตอบโต้การขึ้นภาษีสหรัฐฯ โดยเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมารัฐบาลจีนเดินหน้าขึ้นภาษีสินค้านำเข้าสหรัฐฯในกรอบระหว่าง 5-10% ท่ามกลางความหลากหลายของสินค้าต่างๆ ที่รวมไปด้วย ถั่วเหลืองและน้ำมันดิบ โดยรวมๆแล้วมีรายการสินค้าที่ถูกเรียกเก็บครั้งล่าสุดสูงถึงประมาณ 5,000 รายการ โดยส่วนใหญ่จะมีผลบังคับใช้อีกครั้งในวันที่ 15 ธ.ค. โดยจีนจะเรียกเก็บภาษีสหรัฐฯในส่วนของรถยนต์ และชิ้นส่วนอะไหล่ยนต์จากสหรัฐฯ ซึ่งในส่วนตรงนี้จะยังไม่รวมเข้ากับการขึ้นภาษีในเวลานี้
รายงานจาก Panjiva ระบุว่า ห่วงโซ่อุทปานที่เป็นส่วนหนึ่งใน S&P Global Market Intelligences สะ้ท้อนว่าตั้งแต่วันที่ 1 ก.ย. อาจเห็นการฟื้นตัวของการขนส่งได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น ซึ่งเมื่อวันที่ 27 ส.ค. บรรดานักลงทุนต่างชี้ว่าการส่งออกของสหรัฐฯตั้งแต่ 1 ก.ย. จะร่วงลงประมาณ 15.2% ในไตรมาสที่ 2 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว และจะร่วงลงอีก 20.4% ในช่วงถูกเก็บภาษี 15 ธ.ค.
ทั้งนี้ จีนแบ่งหมวดการขึ้นภาษีสินค้าสหรัฐฯไว้ 2 ระดับดังนี้
· รายงานกิจกรรมภาคการผลิตจีนขยายตัวได้ในเดือนส.ค. โดย Caixin/Markit เผย ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิต (PMI) ปรับตัวขึ้นได้ 50.4 จุดในเดือนส.ค. โดยดีขึ้นกว่าคาดและของเดิมในเดือนก.ค.ที่อยู่ที่ 49.9 จุด
ซึ่งค่า PMI ที่ยืนเหนือ 50 จุด ยังคงสะท้อนได้ถึงภาวะการขยายตัว แต่ถ้าต่ำกว่าจะเป็นสัญญาณหดตัว
ผู้จัดการฝ่ายการวิเคราะห์ประจำ CEBM Group กล่าวว่า ข้อมูลยอดส่งออกครั้งล่าสุดยังคงอยู่ในแดนลบและหดตัวทำต่ำสุดในรอบปีเมื่อเดือนส.ค. จึงสะท้อนถึงภาวะอุปสงค์ของต่างประเทศ ประกอบกับความตึงเครียดของ Trade War สหรัฐฯและจีน
โดยภาพรวมจะเห็นว่าอุปสงค์ไม่ได้มีการปรับเพิ่มขึ้น ประกอบกับอุปสงค์ต่างประเทศก็ปรับตัวลดลง ขณะที่สต็อกสินค้าปรับตัวขึ้นได้ และยังไม่มีสัญญาณว่าจะเห็นการฟื้นตัวในภาคบริษัทที่จะกักตุนสินค้าเพิ่มหรือความเชื่อมั่นใดๆ ดังนั้น เทรนของภาคอุตสาหกรรมในขณะนี้จึงเป็นขาลง
· รัฐมนตรีกระทรวงการค้าของสิงคโปร์ กล่าวเตือนว่า ข้อตกลงใดๆของสหรัฐฯและจีนที่อาจเกิดขึ้นได้ในเวลานี้อาจปราศจาก "กลยุทธ์ที่น่าเชื่อถือ" และอาจนำไปสู่ "อันตราย" ครั้งสำคัญต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจโลกได้ ซึ่งการเรียกเก็บภาษีสินค้านำเข้าระหว่างสองชาติมหาอำนาจมาเป็นเวลาปีกว่าแล้ว ดูจะกระทบต่อความเชื่อมั่นในภาคธุรกิจและสร้างความปั่นป่วนให้แก่ตลาดการเงิน รวมทั้งกลุ่มเทคโนโลยี และมีแววจะสร้างความเสี่ยงครั้งใหญ่ในการเข้ากดดันการเติบโตของเศรษฐกิจไปทัวทุกมุมโลก
กรณีที่สหรัฐฯและจีนมีการขึ้นภาษีครั้งใหม่ระหว่างกัน ท่ามกลางการแสดงเจตจำนงค์ว่าทั้งคู่ต่างก็อยากหันหน้าเจรจาต่อกันนั้น ก็ยังไม่เป็นการยืนยันให้เกิดความแน่ใจใดๆได้ว่าจะหาทางแก้ไขปัญหาความแตกต่างระหว่างกันได้ โดยที่ทั้งสองฝ่ายต่างมั่นใจในเครื่องมือของตนว่าจะนำพาให้เกิดข้อตกลงได้ แต่ข้อตกลงจากทั้ง 2 ฝ่ายก็น่าจะยังส่งผลให้เศรษฐกิจโลกเปราะบางได้อยู่ เนื่องจากน่าจะยังขาดกลยุทธ์ที่จะเป็นส่วนสำคัญต่อปัจจัยต่างๆมากขึ้น
· CNBC เผยรายงานผลสำรวจจาก The National Energy Administration กล่าวว่า เผยว่าการอุปโภคบริโภคแก๊สธรรมชาติของจีนชะลอตัวลงประมาณ 10% ในปีนี้ จากเดิมที่ระดับ 17.5% ท่ามกลางภาวะการเติบโตทางเศรษฐกิจโลกที่อ่อนตัวลง และแรงกดดันต่อกำลังการผลิตในประเทศ และคาดว่าจะเห็นการอุปโภคบริโภคอยู่ที่ 3.1 แสนล้านคิวบิกส์เมตร ตลอดจนปี 2050
· รัฐบาลอาร์เจนตินาประกาศออกมาตรการควบคุมค่าเงินเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อควบคุมเสถียรภาพของตลาดจากวิกฤติทางเศรษฐกิจที่ประเทศกำลังเผชิญ
มาตรการดังกล่าวจะบังคับภาคบริษัทในประเทศจำเป็นต้องได้รับการอนุมัติจากรัฐบาลเสียก่อน จึงจะสามารถขายค่าเงินเปโซหรือซื้อสกุลเงินต่างประเทศได้ และมาตรการนี้จะมีผลบังคับใช้ไปจนถึงสิ้นปีนี้
· เหตุการณ์ประท้วงในฮ่องกงเมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา นับว่ามีความรุนแรงมากที่สุดหลังจากที่การประท้วงเริ่มต้นขึ้นเมื่อ 13 สัปดาห์ที่ผ่านมา ขณะที่บรรดานักวิเคราะห์เริ่มออกมาเตือนว่า ผลกระทบที่เกิดกับเศรษฐกิจของฮ่องกง ไม่ว่าจะเป็นการที่ผู้ชุมนุมปิดสนามบินหรือเส้นทางการจราจรสู่สนามบิน ทำให้ตลาดเริ่มไม่เห็นด้วยกับกับการกระทำของกลุ่มชุมนุมที่ดูจะค่อยๆเปลี่ยนจากการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย ไปเป็นการก่อความไม่สงบอย่างบ้าคลั่งมากขึ้นเรื่อยๆ
· ราคาน้ำมันปรับตัวลดลง หลังจากที่สหรัฐฯและจีนประกาศขึ้นภาษีสินค้านำเข้า ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับการเติบโตของเศรษฐกิจโลก รวมทั้งอุปสงค์น้ำมันดิบ
โดยราคาน้ำมันดิบ Brent ลดลง 22 เซนต์ ที่ระดับ 59.03 เหรียญ/บาร์เรล ด้านราคาน้ำมันดิบ WTI ลดลง 2 เซนต์ ที่ระดับ 55.08 เหรียญ/บาร์เรล
รายงานจาก BBC ระบุว่า เมื่อวานนี้สหรัฐฯมีการประกาศขึ้นภาษีรอบใหม่จากจีนอีก 1.12 แสนล้านเหรียญในกลุ่มรองเท้า, ผ้าอ้อม และอาหาร ซึ่งความตึงเครียดครั้งใหม่อาจส่งผลกระทบต่อภาคครัวเรือนมากถึง 800 เหรียญ/ปี และในช่วงแรกนายทรัมป์ยังมีแผนจะขึ้นภาษีจีนอีก 15% มูลค่า 3 แสนล้านเหรียญภายในช่วงสิ้นปีนี้
ขณะที่ทางการจีนตอบโต้กลับด้วยการเรียกเก็บภาษีน้ำมันสหรัฐฯ ซึ่งเป็นครั้งแรกที่กลุ่มพลังงานเป็นป้าหมายของสงครามการค้าครั้งนี้