· ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวสูงขึ้น ท่ามกลางความระมัดระวังการลงทุนเนื่องจากนักลงทุนยังคงจับตาดูความหวังในการกระตุ้นเศรษฐกิจทั่วโลกเพื่อสนับสนุนการเติบโตที่ชะลอตัวของเศรษฐกิจหลักของโลก
โดยตลาดหุ้นทั่วโลกปรับตัวเพิ่มขึ้นหลังจากที่ธนาคารกลางจีนประกาศว่าจะปรับลดสัดส่วนทุนสำรองของสถาบันการเงิน (RRR) ลง 0.5% เพื่อสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจที่เป็นรูปธรรม และลดต้นทุนการระดมเงินทุนของสังคมที่ได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งทางการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐฯ
ด้านดัชนี MSCI ที่ไม่รวมตลาดหุ้นญี่ปุ่น เพิ่มขึ้น 0.2%
· ตลาดหุ้นญี่ปุ่นปรับตัวสูงขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 5 เดือนครึ่ง โดยได้รับแรงหนุนจากความหวังเกี่ยวกับการกระตุ้นเศรษฐกิจของจีนที่ช่วยลดภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจโลก
ดัชนี Nikkei เพิ่มขึ้น 0.56% ที่ระดับ 21,318.42 จุด ขณะที่ดัชนี Topix เพิ่มขึ้น 0.91% ที่ะรดับ 1,551.11 จุด ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 2 ส.ค.ที่ผ่านมา
หัวหน้านักกลยุทธ์ประจำ Rakuten Securities ระบุว่า 3 ปัจจัยที่น่ากังวลในตลาดการเงิน ได้แก่ สงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ-จีน การเจาจา Brexit รวมทั้งความไม่แน่นอนเหตุการณ์ประท้วงในฮ่องกงที่กดดันความเชื่อมั่นของเหล่านักลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง
ขณะที่ตลาดหุ้นทั่วโลกปรับตัวเพิ่มขึ้นหลังจากที่ธนาคารกลางจีนประกาศว่าจะปรับลดสัดส่วนทุนสำรองของสถาบันการเงิน (RRR) ลง 0.5% เพื่อสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจ ซึ่งถูกกดดันจากสงครามการค้าระหว่างจีนและสหรัฐฯ
รวมทั้งความเชื่อมั่นด้านสินทรัพย์ก็ปรับตัวดีขึ้นเช่นกัน หลังจากที่ถ้อยแถลงของนายเจอโรม โพเวลล์ ประธานเฟด ที่ระบุว่า เฟดมีการใช้อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับที่เหมาะสม ซึ่งจะช่วยรักษาการเติบโตของเศรษฐกิจสหรัฐฯต่อไปได้ และเฟดไม่มีคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯจะเข้าสู่ภาวะถดถอยแต่อย่างใด โดยคาดการณ์ของเฟดคือกรณีที่ เศรษฐกิจสหรัฐฯจะสามารถเติบโตได้ในระดับปานกลาง ท่ามกลางตลาดแรงงานที่แข็งแกร่ง และอัตราเงินเฟ้อที่มแนวโน้มจะทยอยฟื้นตัวต่อไปได้
อย่างไรก็ตามการเพิ่มขึ้นของตลาดหุ้นนั้นเป็นผลมาจากข้อมูลเศรษฐกิจที่ไม่สดใส - การจ้างงานในสหรัฐฯในเดือนส.ค.ที่ชะลอตัวมากกว่าที่คาด ขณะที่ข้อมูลแสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นเติบโตช้ากว่าที่คาดการณ์ไว้ในไตรมาสที่ 2
· ตลาดหุ้นจีนปิดปรับตัวสูงขึ้น ท่ามกลางอุปสงค์ของนักลงทุนภายในประเทศจากท่าทีของสงครามการค้าสหรัฐฯและจีน โดยดัชนี Shanghai Composite Index ฟื้นตัวขึ้นได้กว่า 20% ในปีนี้ เมื่อเทียบกับ HSI ที่ปรับขึ้น 3% ขณะที่ภาพรวมวันนี้ Shanghai Composite ปิด +0.4% และ HSI ปิดค่อนข้างทรงตัว
· ตลาดหุ้นยุโรปเคลื่อนไหวผสมผสาน เนื่องจากเหล่านักลงทุนให้ความสนใจไปยังประเด็นทางการเมืองอังกฤษ และความหวังเกี่ยวกับนโยบายการกระตุ้นเศรษฐกิจสำคัญของโลกหลังจากมีการเผยข้อมูลที่อ่อนแอ
โดยดัชนี Stoxx600 ทรงตัว ด้านน้ำมันและก๊าซเพิ่มขึ้น 0.9% หลังจาก
รายงานเพิ่มเติมเกี่ยวกับการคว่ำบาตรของสหรัฐฯที่อาจเกิดขึ้นต่อผู้ซื้อน้ำมันอิหร่าน ขณะที่อาหารและเครื่องดื่มลดลง 0.4%
สำนักข่าวอินโฟเควสท์
- ธนาคารกสิกรไทย ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทสำหรับสัปดาห์นี้ (9-13 ก.ย.) ที่ 30.40-30.80 บาทต่อ
ดอลลาร์ฯ โดยปัจจัยต่างประเทศที่ตลาดอาจรอติดตาม ประกอบด้วย ผลการประชุมธนาคารกลางยุโรป สถานการณ์สงครามการค้าสหรัฐฯ-
จีน และ BREXIT ส่วนข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่จะประกาศระหว่างสัปดาห์ ประกอบด้วย ดัชนีราคาผู้ผลิต ดัชนีราคาผู้บริโภค ดัชนีราคา
สินค้านำเข้า-ส่งออก ยอดค้าปลีก เดือนส.ค. และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนก.ย.
- อธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผยว่า จัดเก็บรายได้ภาษีมูลค่าเพิ่ม (แวต) ปีนี้มีแนวโน้มจะต่ำกว่าเป้า เห็นได้จากตัวเลขการ
จัดเก็บภาษีแวตเดือน มิ.ย.ขยายตัวติดลบ 5.6% และเดือน ก.ค. ขยายตัวติดลบ 9.1% ทำให้ยอดประเมินการจัดเก็บรอบ 10 เดือน
ขยายตัวติดลบที่ 2.1%
- "ไทยบีเอ็มเอ" เล็งออก "บอนด์คอยน์" โดยมีสินทรัพย์หนุน หลังหวังใช้ในตลาดตราสารหนี้ไทย เชื่อช่วยย่นเวลาชำระ
ราคา ส่งมอบตราสารหนี้ พร้อมเล็งเชื่อมต่อโครงการอินทนนท์ของแบงก์ชาติในอนาคต เตรียมนำร่องโปรเจค "บาดาล" ใช้บล็อกเชนจัด
เก็บข้อมูลคาดเสร็จทันปีนี้
- น.ส.จิตรา อมรธรรม รองกรรมการผู้จัดการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ฟินันเซีย ไซรัส กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยเช้านี้แกว่งตัวในแดนบวกได้เล็กน้อย หลังจากที่ดัชนีฯได้ปรับตัวขึ้นไปเกือบ 70 จุดในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งเป็นในทิศทางเดียวกับตลาดหุ้นในภูมิภาคเอเชียที่เช้านี้ต่างก็บวกกันเล็กน้อย เนื่องจากได้แรงหนุนจากธนาคารกลางจีน (PBOC) จะลดสัดส่วนการกันสำรองของสถาบันการเงิน (RRR) ลง 0.50% ตั้งแต่วันที่ 16 ก.ย.เป็นต้นไป
สำหนักข่าว หนังสือพิมพ์แนวหน้า
นางสาวสมจิณณ์ พิลึก ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เปิดเผยว่า แม้ขณะนี้สถานการณ์ของเศรษฐกิจโลกยังไม่มีความแน่นอน ผนวกกับค่าเงินบาทไทยที่แข็งค่าขึ้น กนอ.ยังเชื่อว่าปัจจัยดังกล่าวไม่มีผลกระทบต่อการลงทุนในนิคมฯ ประกอบกับรัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมการลงทุน และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่อเนื่อง รวมทั้งโครงการลงทุนขนาดใหญ่ (Mega-project) ในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ อีอีซี เริ่มเป็น รูปธรรมมากขึ้น ซึ่งจะเป็นแรงจูงใจที่สำคัญที่ทำให้ นักลงทุนที่ยังชะลอการลงทุนมีการตัดสินใจเข้ามาลงทุนในนิคมฯไทยเพิ่มขึ้น