ขณะที่ทางกลุ่มตาลีบันออกมาตอบโต้การตัดสินใจดังกล่าว โดยเตือนว่าจะมีชาวอเมริการจำนวนมากขึ้นที่จะเสียชีวิตจากการตัดสินใจครั้งนี้ ท่ามกลางการที่สหรัฐฯคงแรงกดดันทางทหารในพื้นที่อัฟกานิสถานต่อ
· การส่งออกจากประเทศจีนสู่สหรัฐฯปรับร่วงลงผิดคาดในเดือน ส.ค. บ่งชี้ถึงแนวโน้มที่เศรษฐกิจจีนจะชะลอตัวลงท่ามกลางแรงกดดันทางการค้ากับสหรัฐฯ และเสียงเรียกร้องให้ภาครัฐออกนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิตเพิ่มเติม
รัฐบาลจีนถูกคาดการณ์ว่าจะมีการออกนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจใหม่ในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า เพื่อหลีกเลี่ยงภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว ซึ่งรวมถึงการปรับลดดอกเบี้ยเงินกู้เป็นครั้งแรกในรอบ 4 ปีที่เพิ่งประกาศไปไม่นานนี้
ทั้งนี้ ยอดส่งออกเดือน ส.ค. ปรับลดลงถึง 1% จากปีก่อนหน้า ซึ่งเป็นอัตราร่วงลงที่มากที่สุดนับตั้งแต่เดือน มิ.ย.
· รัฐบาลญี่ปุ่นปรับลดคาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจในไตรมาสที่2/2019 ลงสู่ระดับ 1.3% จากเดิมที่คาดไว้ 1.8% ท่ามกลางเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากสงครามการค้าสหรัฐฯ-จีน จึงกระตุ้นเสียกเรียกร้องให้ธนาคารกลางญี่ปุ่นพิจารณาออกนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจภายในการประชุมเดือนนี้
· นายพอล ชาน รัฐมนตรีคลังฮ่องกง ระบุว่า เหตุการณ์ประท้วงในฮ่องกงซึ่งเข้าสู่สัปดาห์ที่ 15 ส่งผลให้จำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามายังฮ่องกงประจำเดือนส.ค.ลดลงเกือบ 40% เมื่อเทียบเป็นรายปี ซึ่งเป็นการร่วงลงหนักสุดนับตั้งแต่ฮ่องกงเผชิญการแพร่ระบาดของโรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง (SARS) ในเดือนพ.ค. ปี 2003 โดยในช่วงเวลาดังกล่าวจำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางมายังฮ่องกงลดลงเกือบ 70% หลังจากโรค SARS ได้คร่าชีวิตผู้คนจำนวนมาก
· J.P. Morgan เปิดตัวดัชนีใหม่ที่วัดความสอดคล้องกันระหว่างการทวีตข้อความของนายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ และความผันผวนของตลาด โดยเรียกว่าดัชนี “Volfefe Index” ซึ่งตั้งล้อเลียนทวีตข้อความ “covfefe” ของนายทรัมป์ และวัดผลโดยใช้การเคลื่อนไหวของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯอายุ 2 ปี และ 5 ปี
ทั้งนี้ นับตั้งแต่ที่นายทรัมป์รับตำแหน่งในปี 2016 นายทรัมป์มีการทวีตข้อความเฉลี่ยวันละ 10 ข้อความให้กับผู้ติดตามเกือบ 64 ล้านคน และมีการทวีตข้อความมาแล้วกว่า 14,000 ข้อความ โดยแบ่งเป็นข้อความที่เกี่ยวกับเรื่องตัวกว่า 10,000 ข้อความ
ส่วนข้อความที่เกี่ยวข้องกับตลาดมีประมาณ 4,000 ข้อความ นับเฉพาะในช่วงตลาดนิวยอร์กตั้งแต่ปี 2018 จนถึงปัจุบัน ซึ่งมีเพียง 146 ข้อความที่สร้างผลกระทบให้กับตลาด
· รายงานจาก Reuters ระบุว่า นายบอริส จอห์นสัน นายกรัฐมนตรีอังกฤษ จะผลักดันให้รัฐสภาเห็นชอบกับการยุบสภาและจัดการเลือกตั้งขึ้นใหม่อีกครั้ง แต่มีแนวโน้มที่จะถูกฝ่ายค้านปฏิเสธข้อเรียกร้องดังกล่าวเช่นเดิม เพื่อให้แน่ใจว่านายจอห์นสัน จะไม่สามารถผลักดันอังกฤษออกจากอียูแบบไร้ข้อตกลงได้
ขณะที่รายงานจาก Telehgraph ระบุว่า นายจอห์นสันกำลังพิจารณาหาหนทางที่จะหยุดการขยายระยะเวลาของ Brexit ออกไปอย่างถูกกฏหมาย โดยจะเป็นการเพิ่มข้อความท้ายจดหมายขอขยายระยะเวลาของมาตรา 50 ที่ส่งไปยังอียู ซึ่งจะระบุว่า ทางรัฐบาลอังกฤษไม่ต้องการขยายระยะเวลาไปมากกว่าวันที่ 31 ต.ค.
· ยอดส่งออกเยอรมนีปรับตัวสูงขึ้นในเดือนก.ค.ที่ผ่านมา โดยปรับขึ้นเกินคาดนับตั้งแต่เริ่มต้นไตรมาสที่ 3 หลังจากที่เผชิญสภาวะชะลอตัวจากผลกระทบของ Trade War ระหว่างสหรัฐฯและจีน โดยสถาบันสถิติ เผย ยอดส่งออกพุ่งขึ้น 0.7% ขณะที่ยอดนำเข้าหดตัวลง 1.5% ส่งผลให้มียอดเกินดุลเพิ่มขึ้น 2.02 หมื่นล้านยูโร (2.227 หมื่นล้านเหรียญ) หลังจากที่มีการปรับทบทวนลงไปแตะ 1.8 หมื่นล้านยูโรในเดือนที่แล้ว
· ราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้น ท่ามกลางกระแสคาดการณ์ว่า ซาอุดิอาระเบียจะยังคงให้การสนับสนุนมาตรการปรับลดกำลังการผลิตน้ำมันของกลุ่มโอเปกและผู้ผลิตรายอื่นๆต่อไป หลังจากการรับตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงพลังงานคนใหม่ ซึ่งก็คือเจ้าชายอับดุลลาซิซ บิน ซัลมาน
ราคาน้ำมันปรับขึ้นได้ติดต่อกันเป็นวันที่ 4 โดยยังมีแรงหนุนเพิ่มเติมจากถ้อยแถลงของรัฐมนตรีกระทรวงพลังงานแห่งสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ที่ระบุว่าโอเปกและประเทศพันธมัตรให้ความสำคัญกับการปรับสมดุลของตลาดน้ำมันเป็นอย่างยิ่ง
ทั้งนี้ ราคาน้ำมันดิบ Brent ปรับขึ้น 1% แถว 62.15 เหรียญ/บาร์เรล ส่วนราคาน้ำมันดิบ WTI ปรับขึ้น 1.2% แถว 57.17 เหรียญ/บาร์เรล