• สรุปข่าวเศรษฐกิจ (ภาคค่ำ) ประจำวันที่ 10 กันยายน 2562

    10 กันยายน 2562 | Economic News

· ค่าเงินเยนและสวิสฟรังก์อ่อนค่าลงทำระดับต่ำสุดในรอบ 5 สัปดาห์ ท่ามกลางการที่ตลาดกลับไปให้ความสนใจสินทรัพย์เสี่ยง หลังเยอรมนีประกาศนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ โอกาสเกิด No-deal Brexit ที่ลดลง และความหวังว่าการเจรจาสงครามการค้าจะประสบความสำเร็จ


โดยค่าเงินเยนอ่อนค่าแถว 107.49 เยน/ดอลลาร์ ขณะที่สวิสฟรังก์อ่อนค่าแถวระดับ 0.9922 ดอลลาร์


· ค่าเงินปอนด์ทรงตัวใกล้ระดับสูงสุดในรอบ 6 สัปดาห์ที่ 1.2385 ดอลลาร์/ปอนด์ ที่ขึ้นไปได้เมื่อคืน หลังมาตรการกีดกัน No-deal Brexit ของรัฐสภามีผลบังคับใช้ไปเมื่อคืนที่ผ่านมา


· ค่าเงินยูโรทรงตัวแถว 1.1043 ดอลลาร์/ยูโร หลังจากเมื่อคืนทำระดับสูงสุดที่ 1.1067 ดอลลาร์/ยูโร หลังรายงานจาก Reuters ระบุว่า รัฐบาลเยอรมนีได้จัดตั้งหน่วยงานที่จะเข้ามาดูแบการลงทุนสาธารณะ เพื่อช่วยกระตุ้นระบบการเงินในประเทศ โดยไม่ละเมิดร่างงบประมาณของรัฐบาล


· ตลาดคาดหวังว่าการเจรจาการค้าสหรัฐฯ-จีนในเดือน ต.ค. จะมีความคืบหน้าครั้งสำคัญ หลังนายสตีเวน มนูชิน รัฐมนตรีการคลังสหรัฐฯ ระบุว่า มีความคืบหน้าอย่างมากสำหรับการเตรียมการเจรจาระหว่างทั้งสองฝ่าย

อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯอายุ 10 ปี ได้รับแรงหนุนจากถ้อยแถลงดังกล่าว จึงปรับสูงขึ้นทำระดับสูงสุดในรอบ 3 สัปดาห์ ขณะที่ดัชนีดอลลาร์ทรงตัวแถว 98.359 จุด




· ค่าเงินยูโรเมื่อประเมินจากการเคลื่อนไหวแบบ Elliott Wave จะเห็นได้ว่าคลื่นโดยส่สวนใหญ่เป็นทิศทางขาลงตั้งแต่เริ่มต้นเดือนก.พ. ปี 2018 ดังนั้น จากวัฎจักรนี้จึงมีความเป็นไปได้ที่จะเห็นการสิ้นสุดลง

อย่างไรก็ดี ภาพรวมของการเคลื่อนไหวของราคาก็เริ่มมีการปรับลดลงเพียงเล็กน้อย

ขณะที่ค่าเงินยูโรมีโอกาสกลับขึ้นมาที่ระดับ 1.18 ดอลลาร์/ยูโร และหากผ่านไปได้จะมีแนวต้านถัดไปที่ะรดับ 1.20 และ 1.25 ดอลลาร์/ยูโร ตามลำดับ ซึ่งหากไม่สามารถผ่านระดับดังกล่าวไปได้ ก็อาจกลับมาเป็นแนวโน้มขาลงต่อ


· ค่าเงินเยนทรงตัวสะสมพลังต่ำกว่าระดับ 107.50 เยน/ดอลลาร์




ค่าเงินเยนเมื่อเทียบกับดอลลาร์ทรงตัวในกรอบต่ำระดับ 107.50 เยน/ดอลลาร์ ท่ามกลางความเชื่อมั่นของตลาดที่ซบเซาหลังการประกาศอัตราเงินเฟ้อภาคอุตสาหกรรมของประเทศจีนที่ออกมาลดลง ขณะที่ความเชื่อมั่นที่มีต่อการกลับมาเจรจาระหว่างสหรัฐฯ-จีนยังช่วยหนุนค่าเงินได้บ้าง

นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ระบุว่า สหรัฐฯจะเจรจากับจีนภายในสัปดาห์หน้า และจีนดูมีท่าทีต้องการข้อตกลงการค้า



ค่าเงินดอลลาร์เมื่อเทียบกับเงินเยน (USD/JPY) เคลื่อนไหวใกล้ระดับสูงสุดรายวันที่ 107.19 เยน/ดอลลาร์ ทำให้ระยะสั้น ค่าเงินดอลลาร์ยังเคลื่อนไหวในแดนบวก โดยมีแนวต้านถัดไปที่ระดับ 107.45 เยน/ดอลลาร์ ส่วนในกราฟราย 4 ช.ม. ค่าเงินทรงตัวเหนือเส้นค่าเฉลี่ย โดยมีเส้นค่าเฉลี่ยราย 20 วันเคลื่อนไหวสูงขึ้นแต่ยังอยู่ต่ำกว่าเส้นค่าเฉลี่ยระยะยาวกว่า บ่งชี้ถึงแนวโน้มที่ค่าเงินอาจอ่อนค่าขึ้นไป ส่วนเส้น RSI ยังคงเคลื่อนไปตามทิศทางขาขึ้นแถวระดับ 66 จุด ขณะที่ดัชนีวัดทิศทางเริ่มอ่อนกำลังแต่ยังอยู่ในแดนบวก



แนวรับ: 106.90 106.65 106.30



แนวต้าน: 107.45 107.80 108.05



· นักวิเคราะห์จาก DailyFX ระบุว่า หากทางทำเนียบขาวต้องการยืมมือเฟดในการดำเนินนโยบายการเงิน ก็อาจส่งผลสะท้อนให้อีซีบีอาจปรับท่าทีตามในการประชุมวันพฤหัสบดีนี้ และนั่นอาจสะท้อนถึงท่าทีของบรรดาธนาคารกลางต่างๆ และนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจจะช่วยหนุนความต้องการสินทรัพย์เสี่ยง แต่ตลาดก็อาจเผชิญ Shell-Shocked ได้ในสัปดาห์หน้าหากว่าเฟดกลับเพิ่มการขึ้นดอกเบี้ย และนั่นอาจทำให้อีซีบีอาจเสียความน่าเชื่อถือและได้รับผลกระทบตามมาจากการดำเนินนโยบายการเงิน ในขณะที่ทำเนียบขาวต้องการให้ดอลลาร์มีเสถียรภาพในท้ายทีสุด ดังนั้น ตลาดการเงินส่วนใหญ่จึงให้ความสำคัญต่อแนวทางการดำเนินนโยบายของธนาคารกลาง




· รายงานจาก CME Group ระบุว่า เฟดมีแนวโน้มที่จะดำเนินการปรับลดดอกเบี้ยในการประชุมเดือนนี้ค่อนข้างแน่นอน และมีโอกาสเพียงเล็กน้อยที่จะเห็นเฟดเปลี่ยนแปลงจากที่คาดหรือคงดอกเบี้ย


· นายเอียน โกลดิน อดีตรองประธาน World Bank ปัจจุบันดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ประจำสถาบัน Oxford มีมุมมองว่า การเติบโตของตลาดเกิดใหม่ในเอเชีย เป็นปัจจัยที่หนุนการเติบโตของเศรษฐกิจโลกมากกว่าประเทศมหาอำนาจอย่างสหรัฐฯเสียอีก



การที่เศรษฐกิจสหรัฐฯสามารถเติบโตขึ้นได้อย่างแข็งแกร่งในปีที่ผ่านมา เป็นผลมาจากการออกนโยบายปรับลดภาษีของประชาชน ที่นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ เป็นผู้ออกนโยบาย ไม่ได้มาจากกำลังการเติบโตจากภายในของสหรัฐฯเอง รวมถึงยังมีแรงหนุนจากการเติบโตตลาดเกิดใหม่ในเอเชีย โดยเฉพาะประเทศจีน



หากสหรัฐฯไม่ได้รับแรงหนุนจากบรรดาตลาดเกิดใหม่ ผลกระทบของสงครามการค้าที่เกิดขึ้นกับสหรัฐฯ อาจจะไม่ได้อยู่แค่ในวงจำกัดเช่นนี้แน่



ทั้งนี้ ศาสตราจารย์ระบุว่า บรรดาตลาดเกิดใหม่กำลังเติบโตได้ด้วยอัตราเฉลี่ย 4.5% และช่วยหนุนการเติบโตของเศรษฐกิจโลก หากไม่ได้ตลาดเกิดใหม่เหล่านี้ การชะลอตัวของเศรษฐกิจขนาดใหญ่อย่างสหรัฐฯหรือยุโรป อาจจะรุนแรงยิ่งกว่านี้



สำหรับการเติบโตของเศรษฐกิจจีนในอีก 10 ปีข้างหน้า คาดการณ์เฉลี่ยไว้ที่ 6% และบรรดาตลาดเกิดใหม่ก็น่าจะมีอัตราเติบโตตามกันมาติดๆ


· หัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจประจำองค์การ IMF ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าว Xinhua โดยระบุว่า ความตึงเครียดทางการค้าเป็นหนึ่งในปัจจัยสัญที่กดดันการเติบโตของเศรษฐกิจโลกในปีหน้า

Key Quotes:

“หากสหรัฐฯและจีนสามารถกลับมาร่วมมือกันได้ จะเป็นผลประโยชน์ต่อทั้ง 2 ประเทศเอง รวมไปถึงเศรษฐกิจทั่วโลก

การเติบโตของเศรษฐกิจโลกมีสัญญาณของการ “ชะลอตัวลง” เนื่องจากปัจจัยเสี่ยงมากมาย

ความตึงเครียดทางการค้าจะส่งผลกระทบต่อการค้าทั่วโลก ตลอดจนภาคอุตสาหกรรมและภาคการผลิต ซึ่งกำลังสร้างความผันผวนให้กับตลาดในปัจจุบัน

ในอีกด้านหนึ่ง เนื่องจากบรรดาธนาคารกลางทั่วโลกต่างหันมาใช้นโยบายผ่อนคลายทางการเงิน รวมถึงอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำ จึงช่วยหนุนให้มูลค่าหุ้นทั่วโลกต่างปรับตัวสูงขึ้น”


· ประธานสถาบัน Independent Strategy ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าว CNBC โดยมีมุมมองว่า จีนจะเป็นฝ่ายชนะสงครามการค้ากับสหรัฐฯ และภายใน 7 ปี จีนจะสามารถเป็นอิสระจากการพึ่งพาเทคโนโลยีของสหรัฐฯได้โดยสมบูรณ์



นอกจากนี้ยังมีมุมมองว่า จุดจบของสงครามการค้ายังอีกยาวไกล ส่วนการเจรจาในเดือน ต.ค. น่าจะไม่มี่ความคืบหน้ามากนัก เนื่องจากความขัดแย้งระหว่างสหรัฐฯและจีน ไม่ใช่แค่เรื่องของการค้าหรือเทคโนโลยีอีกต่อไป แต่เป็นเรื่องของการขึ้นลงของอำนาจในเศรษฐกิจโลก จึงเป็นประเด็นความขัดแย้งที่ค่อนข้างยิ่งใหญ่และไม่มีท่าทีว่าจะจบลงได้โดยเร็ว


· กระทรวงการคลังอังกฤษ ระบุว่า นักท่องเที่ยวอังกฤษที่เดินทางไปยังสหภาพยุโรป สามารถซื้อสินค้าปลอดภาษี หากอังกฤษแยกตัวออกจากสหภาพยุโรปแบบไม่มีการทำข้อตกลง หรือ "no-deal"



โดยนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้าอียูจะไม่ต้องจ่ายภาษีสรรพสามิตบุหรี่และแอลกอฮอล์ หากเกิดภาวะ no-deal พร้อมระบุว่า นักท่องเที่ยวอาจซื้อไวน์ที่สนามบินฮีทโธรว์ในราคาที่ถูกลง 2.23 ปอนด์



ด้านนายซาจิด จาวิด รัฐมนตรีการคลังอังกฤษ กล่าวว่า ขณะที่อังกฤษเตรียมแยกตัวออกจากสหภาพยุโรป ทางรัฐบาลก็พยายามช่วยเหลือนักท่องเที่ยวชาวอังกฤษ และเชื่อว่าการตัดสินใจครั้งนี้จะช่วยให้นักท่องเที่ยวสามารถซื้อขายสินค้าได้มากขึ้น



· อัตราเงินเฟ้อภาคอุตสาหกรรมของประเทศจีนในเดือน ส.ค. ชะลอตัวลงด้วยอัตราที่มากที่สุดในรอบ 3 ปี ภาพรวมอัตราเงินเฟ้อของประเทศจึงยิ่งถลำลึกลงไปยังแดนชะลอตัวมากขึ้น ตอกย้ำเสียงเรียกร้องให้รัฐบาลจีนเร่งหามาตรการกระตุ้นเศณษฐกิจใหม่ ท่ามกลางภาวะที่สงครามการค้ากับสหรัฐฯยังคงระอุ



บรรดานักวิเคราะห์มีมุมมองว่า ปริมาณอุปสงค์ทั้งในและนอกประเทศที่อ่อนแอลง เป็นปัจจัยกดดันให้ผู้ประกอบการในประเทศจีนลดราคาลง เพื่อกระตุ้นคำสั่งซื้อใหม่ ในขณะที่ผลกำไรของของผู้ประกอบการก็ยังถูกกดดันจากความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจที่ตกต่ำ



ทั้งนี้ ดัชนี PPI เดือน ส.ค. ปรับลดลง -0.8% จากปีก่อนหน้า ชะลอตัวยิ่งกว่าในเดือน ก.ค. ที่ชะลอตัวลง 0.3% และยังเป็นอัตราชะลอตัวที่มากที่สุดนับตั้งแต่เดือน ส.ค. ปี 2016


· Huawei ยกเลิกการฟ้องร้องสหรัฐฯไป 1 ข้อกล่าวหา หลังจากที่ทางบริษัทฯได้รับอุปกรณ์ที่ถูกทางการสหรัฐฯยึดไปเมื่อ 2 ปีก่อนคืนมา



โดยในเดือน ก.ย. ปี 2017 เจ้าหน้าที่สหรัฐฯได้เข้ายึดอุปกรณ์ของ Huawei ที่กำลังถูกขนส่งจากจีนไปยังโรงงานในรัฐแคลิฟอเนียร์ของสหรัฐฯ และอุปกรณ์ดังกล่าวก็ไม่ถูกส่งคืนมาให้กับทางบริษัทฯ ทางบริษัทฯจึงได้ยื่นเรื่องฟ้องร้องต่อกระทรวงพาณิชน์สหรัฐฯ รวมถึงหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวกัข้อง


· นายแจ็ค หม่า จะลงจากตำแหน่งประธานบอร์ดบริหารของบริษัท Alibaba ในวันที่ 10 ก.ย. นี้ โดยที่นายแดเนียล จาง CEO ของบริษัทคนปัจจุบัน จะขึ้นมารับตำแหน่งต่อ ขณะที่นางหม่าจะยังดำรงอยู่ในบอร์ดบริหารจนถึงการประชุมผู้ถือหุ้นประจำปี 2020


· สัญญาน้ำมันดิบล่วงหน้าปรับตัวสูงขึ้นติดต่อกัน 5 วันทำการ โดยเพิ่มขึ้นมากที่สุดในรอบเกือบ 6 สัปดาห์ ท่ามกลางมุมมองเชิงบวกจากกลุ่มโอเปกและผู้ผลิตรายอื่นๆที่อาจจะตกลงขยายการลดกำลังการผลิตเพื่อรองรับราคา



โดยน้ำมันดิบ Brent เพิ่มขึ้น 0.5% ที่ระดับ 62.90 เหรียญ/บาร์เรล ซึ่งปรับตัวสูงขึ้นมากที่สุดนับตั้งแต่วันที่ 1 ส.ค. ขณะที่น้ำมันดิบ WTI เพิ่มขึ้น 0.6% ที่ะรดับ 58.17 เหรียญ/บาร์เรล ซึ่งเพิ่มมากสุดนับตั้งแต่วันที่ 31 ก.ค.ที่ผ่านมา



· รายงานจาก DailyFX ระุบุว่า ราคาน้ำมันดิบมีการรีบาวน์กลับมาปิดเไม่น้อยกว่า 8% ท่ามกลางความต้องการสินทรัพย์เสี่ยงที่เพิ่มขึ้น หลังจากที่ทางการสหรัฐฯประกาศว่า นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯจะมีการเข้าพบกับ นายสี จิ้นผิง ประธานาธิบดีจีนในเดือนต.ค.นี้ โดยได้รับแรงสนับสนุนจากความเชื่อมั่นที่เพิ่มขึ้น และอาจทำให้น้ำมันมีความผันผวนเพิ่มขึ้นได้ หากว่าความเสี่ยงด้านอุปทานเผชิญกับอุปสรรคจากความขัดแย้งของสหรัฐฯ-อิหร่านที่ยังดำเนินไป



สรุปภาพรวม

- ราคาน้ำมันดิบยังมีโอกาสปรับตัวขึ้นได้จากความสัมพันธ์ที่ย่ำแย่ระหว่างสหรัฐฯ-อิหร่าน

- อิหร่านยังคงพยายามผลักดันกฎหมายข้อจำกัดข้อตกลงเรื่องนิวเคลียร์เมื่อปี 2015

- เทรดเดอร์จับตาไปยังรายงานน้ำมันกลุ่มโอเปก ณ ที่ประชุม World Energy Conference


บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com