โดยดัชนี MSCI ที่ไม่รวมหุ้นญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น 0.5%
ด้านตลาดหุ้นจีนและค่าเงินหยวนปรับตัวสูงขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 3 สัปดาห์ หลังจากที่นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ประกาศเลื่อนการขึ้นภาษีสินค้านำเข้าจากจีนมูลค่า 2.5 แสนล้านเหรียญ หรือเป็นการเก็บภาษีจาก 25% เป็น 30% ที่จะมีผลในวันที่ 1 ต.ค. เป็น 15 ต.ค. แทน เนื่องจากจีนมีท่าทีในการเจรจาที่ดี
สัญญาหุ้นล่วงหน้าสหรัฐฯเพิ่มขึ้น 0.38% ขณะที่สินทรัพย์ปลอดภัย อย่างเช่น ค่าเงินเยน พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ และทองคำปรับตัวลดลง ส่งสัญญาณถึงความตองการสินทรัพย์เสี่ยงเพิ่มมากขึ้น
· ตลาดหุ้นญี่ปุ่นปรับตัวสูงขึ้นอย่างแข็งแกร่ง ทั้งดัชนี Nikkei และดัชนี Topixซึ่งแตะระดับสูงสุดในรอบ 4 เดือน เนื่องจากสัญญาณเชิงบวกเกี่ยวกับสงครามทางการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีน จึงช่วยหนุนหุ้นกลุ่มวัฎจักร เช่น ผู้ผลิตเครื่องจักร
โดยดัชนี Nikkei เพิ่มขึ้น 0.75% ที่ระดับ 21,729.61 จุด ขณะที่ดัชนี Topix เพิ่มขึ้น 0.72% ที่ระดัย 1,595.10 จุด โดยปรับตัวสูงขึ้นมากที่สุดนับตั้งแต่ต้นเดือนพ.ค.ที่ผ่านมา
· ตลาดหุ้นจีนปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากความหวังที่เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับการเจรจาทางการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีน รวมทั้งเหล่านักลงทุนคาดว่าจีนจะกระตุ้นนโยบายทางเศรษฐกิจมากขึ้นหลังจากข้อมูลการเงินล่าสุดของประเทศและยอดขายรถยนต์ที่ซบเซา
โดยดัชนี Shanghai Composite เพิ่มขึ้น 0.2% ที่ระดับ 3,014.80 จุด
ทั้งนี้ การเพิ่มขึ้นของดัชนีเป็นไปอย่างจำกัด โดยดัชนี Shanghai แกว่งตัวไปมาระหว่างกำไรและขาดทุน เนื่องจากข้อสงสัยเกี่ยวกับความเป็นไปได้ว่าทั้งสองฝ่ายจะมีความคืบหน้าในครั้งนี้หรือไม่ ขณะที่ทั้งสองฝ่ายมีกำหนดการที่จะพบกันอีกครั้งในช่วงในต้นเดือนหน้า
ทั้งนี้ แหล่งข่าววงในประมาณ 5 ราย กล่าวว่า เจ้าหน้าที่อีซีบีอาจมีการประกาศแพ็คเกจการปรับลดดอกเบี้ย หรือการใช้ดอกเบี้ยระดับต่ำเป็นระยะเวลานานขึ้น รวมทั้งการชดเชยภาคธนาคารที่ได้รับผลกระทบจากระดับดอกเบี้ยเชิงลบ ขณะที่หลายๆฝ่ายก็เชื่อว่าอีซีบีน่าจะเลือกทำการกลับเข้าซื้อสินทรัพย์ แต่ขณะเดียวกันก็ยังมีเสียงค้านจากสมาชิกบางส่วนที่ไม่เห็นด้วย
ขณะที่สงครามทางการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีนที่ส่งสัญญาณดีขึ้น
โดยดัชนี Stoxx600 เพิ่มขึ้น 0.2% ด้านหุ้นทรัพยากรเพิ่มขึ้น 1% ขณะที่หุ้นท่องเที่ยวลดลง 1.2%
อ้างอิงจากสำนักข่าวอินโฟเควสท์
- สภาธุรกิจตลาดทุนประเทศไทย เผยดัชนีเชื่อมั่นนักลงทุนช่วง 3 เดือนข้างหน้า วูบหนักกว่า 21% เหตุกังวลสงครามการค้า-กำ
ไรบจ.ชะลอตัว ด้านสมาคมนักวิเคราะห์ ระบุโบรกเกอร์เตรียมหั่นเป้าดัชนีหุ้นไทย หลังสงครามการค้ายืดเยื้อ กดดันเศรษฐกิจ ส่วน
ดัชนีคาดการณ์ดอกเบี้ยประเมิน กนง. จ่อปรับลดอีกรอบช่วงปลายปีนี้
- นางสาวธิดาศิริ ศรีสมิต รองกรรมการผู้จัดการ สายงานจัดการลงทุน บลจ.กสิกรไทย เปิดเผยว่า มุมมองการลงทุนในตลาดหุ้นไทย ยังคงได้รับผลกระทบจากปัจจัยเสี่ยงภายนอกไม่ว่าจะเป็น (1) ประเด็นสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีนที่ยังคงมีความยืดเยื้อ (2) ทิศทางอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐฯ และ (3) ตลาดพันธบัตรสหรัฐฯ ที่เกิด Inverted Yield Curveสะท้อนถึงโอกาสการเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย โดยปัจจัยเหล่านี้ล้วนส่งผลให้นักลงทุนมีความกังวลต่อการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก
อย่างไรก็ดี มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลไทยที่ทยอยประกาศใช้ น่าจะช่วยรองรับความผันผวนจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกได้บ้าง โดยคาดว่าตลาดหุ้นไทยจะเคลื่อนไหวผันผวนในกรอบ 1,640-1,690 จุด ก่อนที่นักลงทุนจะกลับมาให้ความสนใจกับการประกาศผลประกอบการไตรมาส 3 ในเดือน ต.ค.
- นายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร เปิดเผยถึงการอภิปรายทั่วไปแบบไม่ลงมติ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 152 กรณีการถวายสัตย์ปฏิญาณตนของนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี ที่กำหนดไว้ในวันที่ 18 ก.ย.62 ว่า ทุกอย่างยังเป็นไปตามวาระปกติของสภาฯ เพราะแม้ศาลรัฐธรรมนูญจะมีความเห็นไม่รับคำร้องไว้พิจารณานั้น ก็ไม่เกี่ยวกับการทำงานของสภาฯ การอภิปรายแบบไม่ลงมตินี้เป็นเรื่องการตรวจสอบตามรัฐธรรมนูญที่เขียนกำหนดไว้ว่าสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีสิทธิอภิปราย ซักถาม เสนอแนะ และให้คำแนะนำ ซึ่งการอภิปรายจะเป็นไปตามกรอบข้อบังคับการประชุมสภาฯ
- น.ส.พิมพ์ชนก วอนขอพร ผู้อำนวยการ สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ไทย เปิดเผยว่า ช่วงที่เหลือของปี 62 ค่าเงินบาทยังมีแนวโน้มทรงตัว หรืออาจจะแข็งค่าเพิ่มขึ้น โดยเคลื่อนไหวในช่วง 30-31 บาท/ดอลลาร์ เป็นไปตามปัจจัยหลัก ประกอบด้วย
(1) การดำเนินนโยบายการเงินผ่อนคลายเพิ่มเติมของประเทศสำคัญของโลก เช่น สหรัฐฯ จีน และสหภาพยุโรป
(2) แนวทางการออกจากสหภาพยุโรปของอังกฤษ (Brexit)
(3) ความขัดแย้งการเมืองระหว่างประเทศ เป็นต้น ซึ่งต้องเร่งส่งเสริมให้ผู้ประกอบการทำประกันความเสี่ยงค่าเงิน เพื่อรองรับผลกระทบจากการความผันผวนและค่าเงินที่อาจจะแข็งค่าเพิ่มขึ้นในช่วงที่เหลือของปี 62