· ค่าเงินเยนเคลื่อนไหวใกล้ระดับอ่อนค่ามากที่สุดรอบ 6 สัปดาห์เมื่อเทียบกับค่าเงินดอลลาณ์จากสัญญาณที่ว่าสหรัฐฯและจีนดูสามารถขยับเข้าใกล้ถึงความแตกต่างทางการค้าระหว่างกันได้มากขึ้นก่อนหน้าเจรจาในช่วงต้นเดือนหน้าจึงเป็นปัจจัยลบต่อสินทรัพย์ปลอดภัย
ค่าเงินหยวนแข็งค่ามากสุดรอบ 4 สัปดาห์เมื่อเทียบดอลลาร์ ในขณะที่ค่าเงินยูโรทรงตัวหลังอ่อนค่าผันผวนหนักตอบรับอีซีบีที่สร้างเซอร์ไพร์สตลาดด้วยการประกาศกลับเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลครั้งใหม่ตั้งแต่เดือนพ.ย.นี้ เพื่อสนับสนุนการอ่อนตัวทางเศรษฐกิจ
สำหรับระยะสั้นๆ ทิศทางของ Trade War สหรัฐฯ-จีนก็ดูจะสดใสมากขึ้นและนั่นให้ผลตอบแทนพันธบัตรปรับตัวสูงขึ้นกดดันสินทรัพย์ปลอดภัยเช่นกัน
อย่างไรก็ดี ตลาดยังคงม่ีความมั่นใจว่าในระยะสั้นๆเฟดเองจะเดินหน้าปรับลดดอกเบี้ยต่อในการประชุมสัปดาห์หน้านี้ ขณะที่การใช้นโยบายผ่อนคลายของอีซีบีดูจะสร้างแรงกดดันเพิ่มขึ้นให้บีโอเจต้องปรับนโยบายตาม
· ค่าเงินเยนอ่อนค่าลงมาที่ 108.265 เยน/ดอลลาร์ ซึ่งเป็นอ่อนค่ามากที่สุดตั้งแต่ 1 ส.ค. ขณะที่ค่าเงินดอลลาร์ปรับแข็งค่าขึ้น 1.2% เมื่อเทียบกับค่าเงินเยนในสัปดาห์และถือเป็นสัปดาห์ที่ดีที่สุดของดอลลาร์เมื่อเทียบเยน นับตั้งแต่พ.ย. ปี 2018
นอกจากนี้ ค่าเงินดอลลาร์ยังมีแรงหนุนจากการที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปีของสหรัฐฯ ปรับตัวขึ้นทำระดับสุูงสุดรอบ 5 สัปดาห์
ในขณะที่วันนี้ตลาดจีนปิดทำการเนื่องในวันไหว้พระจันทร์ ค่าเงินหยวนก็ดูจะปรับแข็งค่าได้ประมาณ 0.3% ที่ระดับ 7.0459 หยวน/ดอลลาร์ ซึ่งถือเป็นระดับแข็งค่ามากที่สุดตั้งแต่ 19 ส.ค.
· ค่าเงินหยวนแข็งค่าขึ้น 0.3% เมื่อเทียบกับดอลลาร์ในสัปดาห์นี้ โดยที่ถือเป็นการปรับแข็งค่าต่อเนื่องสัปดาห์ที่ 2 หลังจากที่รัฐสภาอังกฤษพยายามบล็อกการออกจากอียูแบบ No-Deal แต่เงินปอนด์ก็ยังมีความผันผวนอยู่ จากความไม่แน่นอนว่าบรรดาส.ส.อังกฤษจะตัดสินใจออกจากอียูอย่างไร?
ค่าเงินยูโรทรงตัวที่ 1.1068 ดอลลาร์/ยูโร ถือเป็นการแข็งค่าต่อเนื่องสัปดาห์ที่ 2 เมื่อเทียบกับดอลลาร์
· ตลาดการเงินคาดว่าจะเห็นเฟดลดดอกเบี้ยในการประชุม 17-18 ก.ย.นี้ โดยนักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ๋คาดว่าจะเห็นการผ่อนคลายทางการเงินเพิ่มขึ้นในการประชุมเดือนต.ค. และธ.ค. ตามมา หลังจากที่เดือนก.ค. เฟดได้ตัดสินใจปรับลดดอกเบี้ยเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2008
นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ เป็นผู้ไม่พึงพอใจและต้องการเห็นเฟดลดดอกเบี้ยอย่างหนักแน่น แต่ภาพรวมเชิงบวกทางเศรษฐกิจก็ก่อให้เกิดคำถามว่าจำเป็นต้องเดินหน้าลดดอกเบี้ยมากหรอ
บีโอเจก็ดูจะเป็นอีกหนึ่งธนาคารกลางที่ต้องระดมความคิดอย่างหนักเกี่ยวกับแนวทางการใช้นโยบายดอกเบี้ยติดลบ โดยบีโอเจน่าจะตัดสินใจปรับนโยบายให้เหมาะสมต่อการรับมือกับสภาวะการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ ซึ่งบีโอเจจะมีการตัดสินใจอีกครั้งในการประชุมวันที่ 19 ก.ย.
· นักวิเคราะห์จาก Commerzbank มีมุมมองว่า ค่าเงินยูโรที่เคลื่อนไหวผันผวนและทำระดับต่ำสุดของวันที่ 1 ก.ย. ที่ 1.0926 ดอลลาร์/ยูโรเมื่อวานนี้ มีแนวโน้มที่จะเคลื่อนไหวแบบอ่อนค่าลงต่อ โดยจะมีแนวรับแรกที่ระดับ 1.10800 -1.10874 ดอลลาร์/ยูโร ซึ่งถูกคาดว่าจะไม่สามารถรองรับการอ่อนค่าของค่าเงินได้
ส่วนแนวต้านแรกมองไว้ที่ระดับ 1.1106 – 1.1110 ดอลลาร์/ยูโร และถัดไปที่ระดับ 1.1164 ดอลลาร์/ยูโร ซึ่งเป็นระดับสูงสุดของวันที่ 26 ส.ค. หากขึ้นมาถึงระดับนี้ได้ จะบ่งชี้ว่าค่าเงินได้ทำ Bottom ไปแล้ว ซึ่งจะทำให้ค่าเงินมีโอกาสฟื้นตัวต่อ โดยมีเป้าหมายที่ 1.1260 ดอลลาร์/ยูโร ที่เป็นเส้นค่าเฉลี่ยราย 200 วัน
· ในการโต้วาทีชิงตำแหน่งตัวแทนลงเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯปี 2020 ของพรรคเดโมแครต มีการกล่าววิพากษ์วิจารณ์การดำเนินสงครามการค้าร่วมกับจีนของนายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ รวมถึงกล่าวหาว่าฝั่งรีพับลิกันกำลังทำให้เศรษฐกิจสหรัฐฯล้มละลาย แต่ไม่มีตัวแทนคนใดเสนอแนวคิดจะยกเลิกการขึ้นภาษีทั้งหมดของนายทรัมป์หากได้รับตำแหน่งประธานาธิบดี โดยส่วนใหญ่ยืนยันว่าจะผลักดันให้เกิดการเจรจาการค้ากับจีนต่อไป รวมถึงเรียกร้องให้จีนเร่งจัดการกับปัญหาการประท้วงในฮ่องกง การละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา และมาตรฐานของแรงงาน
· ผลสำรวจโดย CNBC ที่สอบถามความคิดเห็นของบรรดาผู้นำทางการเงิน มีมุมมองเกี่ยวกับผลลัพธ์ของ Brexit ที่มีความเป็นไปได้มากที่สุด โดยกรณี No-deal Brexit มีผู้ตอบแบบสอบถามถึง 43.5% คาดว่ามีโอกาสเกิดขึ้นสูงที่สุด รองลงมาที่ 32.3% คาดว่าจะกำหนดการ Brexit จะถูกเลื่อนออกไปอีกครั้ง มีเพียง 8.1% ที่คาดว่าจะสามารถบรรลุข้อตกลงกันได้ภายในเดือน ต.ค. และอีก 3.2% ที่มองว่าจะมีการลงประชามติอีกครั้ง
· ผลสำรวจโดย Reuters คาดการณ์ว่า ยอดส่งออกของญี่ปุ่นในเดือน ส.ค. มีแนวโน้มจะชะลอตัว -10.9% ซึ่งเป็นอัตราชะลอตัวที่มากที่สุดในรอบกว่า 3 ปี บ่งชี้ว่าการส่งออกที่เป็นหัวใจสำคัญของเศรษฐกิจญี่ปุ่นกำลังได้รับผลกระทบจากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐ-จีน
นอกจากยอดส่งออกแล้ว อัตราเงินเฟ้อของญี่ปุ่นก็ถูกคาดการณ์ว่ามีแนวดน้มที่จะชะลอตัวลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบกว่า 2 ปีท่ามกลางราคาพลังงานที่ตกต่ำ
· นางแครี แลม ผู้นำรัฐบาลฮ่องกง ให้สัญญาว่าจะให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาในภาคที่อยู่อาศัยและการจ้างงานเป็นอันดับแรกๆ เพื่อพยายามซื้อใจกลุ่มผู้ชุมนุม เนื่องจากปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาที่ฝังรากลึกมานานในการปกครองของฮ่องกง
· ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลง เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับการเติบโตทั่วโลกและอุปสงค์ที่ชะลอตัวลง แม้จะมีความคืบหน้าในการเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีนก็ตาม
โดยราคาน้ำมันดิบ Brent ลดลง 0.3% ที่ระดับ 60.21 เหรียญ/บาร์เรล ขณะที่น้ำมันดิบ WTI ลดลง 0.3% ที่ระดับ 54.95 เหรียญ/บาร์เรล