· ตลาดหุ้นส่วนใหญ่ยังเผชิ
ญแรงกดดันจากความตึงเครี
ยดทางเมือง และการชะลอการลงทุนก่อนหน้
าการประชุมเฟด ขณะที่ราคาน้ำมันมีการย่อตั
วลงมาเล็กน้อยหลังจากที่ปรับสู
งขึ้นมาได้อย่างมากเมื่
อวานจากความเป็นไปได้ที่สหรั
ฐฯอาจพิจารณาปล่อยน้ำมั
นออกจากคลังทางยุทธศาสตร์ เพื่อช่วยหนุนปริมาณอุปทานน้ำมั
น
โดยดัชนี MSCI’s All-Country World ที่วัดการเคลื่อนของตลาดหุ้นกว่า 47 ประเทศทั่วโลก ได้ปรับลดลง 0.1%
ขณะที่ดัชนี MSCI ของตลาดหุ้นเอเชียที่ไม่รวมตลาดหุ้นญี่ปุ่น ปรับลดลง 0.66%
· ตลาดหุ้นญี่ปุ่นปรับตัวสูงขึ้
นทำระดับสูงสุดในรอบ 4 เดือนครึ่ง เนื่องจากราคาน้ำมันดิบที่เพิ่
มสูงขึ้นจากเหตุโจมตีโรงกลั่นน้ำ
มันสำคัญของซาอุดิอาระเบียที่บั่
นทอนกำลังการผลิตไปกว่าครึ่งหนึ่
ง จึงช่วยหนุนหุ้นที่เกี่ยวข้องกั
บน้ำมันและก๊าซ
โดยดัชนี Nikkei เพิ่มขึ้น 0.1% ที่ะรดับ 22,001.32 จุด ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 26 เม.ย.ที่ผ่านมา ด้านดัชนี Topix เพิ่มขึ้น 0.3% ที่ะรดับ 1,614.58 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดใหม่ในรอบ 4 เดือนครึ่งเช่นเดียวกัน
ด้านเหล่าเทรดเดอร์ ระบุว่า สินทรัพย์เสี่ยงไม่ได้รับผลกระทบ แม้ว่าจะมีการโจมตีโรงงานผลิตน้ำมันของซาอุดิอาระเบียก็ตาม
ทั้งนี้ เหล่านักลงทุนยังคงชะลอการลงทุนก่อนหน้าการทราบผลการประชุมเฟดในวันพุธและประชุมบีโอเจในวันพฤหัสบดีนี้
· ตลาดหุ้นจีนปรับตัวลดลง หลังจากที่จีนยังคงอัตราดอกเบี้
ยเงินไว้ไม่เปลี่ยนแปลง ขณะที่การประกาศข้อมูลล่าสุด ชี้ให้เห็นถึงแรงกดดันต่
อเศรษฐกิจจีน โดยดัชนี Shanghai Composite ลดลง 1.0% ที่ระดับ 2,999.84 จุด
· ตลาดหุ้นยุโรปเคลื่อนไหวทรงตัว เนื่องจากเหล่านักลงทุนให้
ความสนใจไปยังประเด็นการโจมตี
โรงกลั่นน้ำมันขนาดใหญ่ของซาอุ
ดิอาระเบียจึงจุดประกายความกั
งวลต่อเหตุตึงเครียดในตะวั
นออกกลาง
โดยดัชนี Stoxx600 ทรงตัว ด้านหุ้นทรัพยากรลดลง 1.2% ขณะที่หุ้นน้ำมันและก๊าซเพิ่มขึ้น 1.1% ท่ามกลางความไม่แน่นอนในตะวันออกกลาง
· อ้างอิงจากสำนักข่าวอินโฟเควสท์
- นายสมประวิณ มันประเสริฐ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่และผู้บริหารสายงานวิจัยและหัวหน้าทีมวิจัยเศรษฐกิจ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (BAY) กล่าวว่า ธนาคารได้ปรับลดประมาณการอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจไทย (GDP) ในปีนี้ลงเป็นครั้งที่ 3 มาอยู่ที่โต 2.9% จากเดิมที่คาดว่าโต 3.2% ซึ่งได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกส่งผลชัดเจนมากขึ้น และสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีนเริ่มทวีความรุนแรง ทำให้ภาพรวมของเศรษฐกิจโลกปรับตัวลดลงเร็วขึ้น
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกที่เกิดขึ้น มีผลกระทบต่อภาคการส่งออกของเศรษฐกิจไทยในครึ่งปีแรกที่หดตัวลงไป 2.9% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเป็นการหดตัวลงของสินค้าส่วนใหญ่ที่มีการส่งออกมาก เช่น กลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เคมีภัณฑ์ และยานยนต์ ซึ่งการส่งออกของไทยถือว่ายังมีบทบาทต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในสัดส่วน 50% ของ GDP ซึ่งคาดว่าการส่งออกไทยในปีนี้จะติดลบ 2.8%
- ฝ่ายวิจัย บล.โกลเบล็ก (GBS) ประเมินทิศทางตลาดหุ้นไทยในช่วงนี้แกว่งตัวSideway ในกรอบ 1,650-1,680 จุด โดยจับตาการประชุมธนาคารกลางสหัฐ (เฟด) วันที่ 17-18 ก.ย.นี้ รวมถึงสถานการณ์ความไม่สงบจากเหตุโจมตีโรงงานน้ำมัน 2 แห่ง ของซาอุดีอาระเบีย ซึ่งมีความกังวลว่าจะขยายผลไปสู่สงคราม แม้ระยะสั้นจะส่งผลบวกต่อหุ้นในกลุ่มพลังงาน ทั้งโรงกลั่น และน้ำมัน จากปริมาณน้ำมันตลาดโลกที่ลดลง
ขณะเดียวกันภายในช่วงสัปดาห์นี้ แนะนำให้ยังคงจับตาสถานการณ์ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศอย่างใกล้ชิด โดยในวันที่ 18 ก.ย.นี้ เป็นวันเปิดอภิปรายทั่วไปโดยไม่ลงมติประเด็นนายกรัฐมนตรีถวายสัตย์ปฏิญาณตนไม่ครบถ้วน ขณะเดียวกันทางสหรัฐจะมีการเปิดเผยตัวเลขการเริ่มสร้างบ้านและการอนุญาตก่อสร้างในเดือน ส.ค.
- นางสาว รื่นวดี สุวรรณมงคล เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดเผยว่า ก.ล.ต. ไทย ร่วมกับ ก.ล.ต. กัมพูชา ลงนามบันทึกข้อตกลง (MOU) ว่าด้วยความร่วมมือด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนร่วมกัน ทั้งในด้านการจดทะเบียนหลักทรัพย์ข้ามประเทศ (cross listing) การจดทะเบียนพร้อมกันทั้งสองตลาด (dual listing) และการออกและเสนอขายตราสารแสดงสิทธิการฝากหลักทรัพย์ต่างประเทศ (Depositary Receipt: DR) เพื่อผลักดันให้เกิดการเสนอขายหลักทรัพย์ที่เชื่อมโยงตลาดทุนไทยและกัมพูชาได้สำเร็จเป็นรูปธรรม ซึ่งจะปูทางไปสู่ความร่วมมือด้านตลาดทุนระหว่างกันและส่งเสริมให้ตลาดทุนไทยเป็นฐานของการระดมทุนของภูมิภาค ที่สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561 –2580)