· ตลาดหุ้นเอเชียปรับสูงขึ้นได้วั
นนี้ จากราคาน้ำมันที่เริ่
มชะลอความร้อนแรงลง หลังซาอุดิอาระเบียออกมาสร้
างความเชื่อมั่นให้กับตลาดว่
าการผลิตน้ำมันของประเทศจะกลั
บมาเต็มที่ภายในสิ้นเดือนนี้ ประกอบกับกระแสคาดการณ์เฟดปรั
บลดดอกเบี้ยในการประชุมคืนนี้ ทำให้ตลาดเริ่มกลับมาอยู่ภาวะ Risk-on อีกครั้ง โดยดัชนี MSCI ที่ไม่รวมตลาดหุ้นญี่ปุ่นปรับสู
งขึ้น 0.14%
· ตลาดหุ้นญี่ปุ่นปรับตัวลดลง เนื่องจากเหล่านักลงทุนเทขายทำกำไรหลังจากที่ปรับตัวสูงขึ้นติดต่อกัน 10 วันทำการ ก่อนหน้าการทราบผลการประชุมเฟดและการประชุมบีโอเจ อย่างไรก็ดี ยังคงเคลื่อนไหวไม่ไกลจากระดับสูงสุดในรอบ 4 เดือน หลังจากที่ปรับตัวขึ้นไปเมื่อวันก่อน
โดยดัชนี Nikkei ลดลง 0.2% ที่ระดับ 22,041.08 จุด ขณะที่ดัชนี Topix ลดลง 0.5% ที่ระดับ 1,606.62
ท่ามกลางเหล่านักลงทุนที่ยังคงชะลอการลงทุนก่อนทราบผลการประชุมเฟดในค่ำคืนนี้โดยเฟดถูกคาดการณ์ว่าจะทำการปรับลดดอกเบี้ยลง 0.25% สู่กรอบ 1.75 – 2% ซึ่งจะเป็นการปรับลดดอกเบี้ยครั้งที่ 2 ของปีนี้ จากครั้งแรกในเดือน ก.ค. ที่ถือเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2008 ขณะที่ทางเฟดระบุว่า การปรับลดดอกเบี้ยครั้งที่ผ่านมา เป็นการปรับไปเพื่อ “ป้องกันความเสี่ยง” ให้กับการเติบโตเศรษฐกิจที่กำลังเผชิญแรงกดดันจากสงครามการค้าสหรัฐฯ-จีน ปริมาณการลงทุนในภาคธุรกิจที่ลดลง และภาคอุตสาหกรรมที่ชะลอตัว
ด้านการประชุมบีโอเจในวันพรุ่งนี้ ซึ่งผลสำรวจจาก Reuters คาดว่า บีโอเจจะยังคงดอกเบี้ย อย่างไรก็ดี นักเศรษฐศาสตร์ 28/41 ท่าน คาดว่า อาจจะปรับลดดอกเบี้ยลง และ 13 ท่าน เชื่อว่าอาจจะสร้างเซอร์ไพร์สให้กับตลาด
· ตลาดหุ้นจีนปรับตัวสูงขึ้น ท่ามกลางกระแสคาดการณ์ของเหล่านักลงทุนที่อยากจะเห็นธนคารกลางจีนและเฟดปรับลดดอกเบี้ย รวมทั้งมุมมองเชิงบวกเกี่ยวกับกลับมาเจรจาทางการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีนในช่วงต้นเดือนต.ค.นี้ จึงเป็นปัจจัยช่วยหนุนความต้องการสินทรัพย์เสี่ยง
โดยดัชนี Shanghai Composite เพิ่มขึ้น 0.3% ที่ระดับ 2,985.65 จุด
· ตลาดหุ้นยุโรปปรับตัวลดลงเล็กน้อย ท่ามกลางเหล่านักลงทุนที่ให้ความสนใจไปยังเหตุการณ์โจมตีโรงกลั่นน้ำมันสำคัญของซาอุดิอาระเบียที่บั่นทอนกำลังการผลิตไปกว่าครึ่งหนึ่ง ประกอบกับตลาดกลับมากังวลถึงการตอบโต้กันในตะวันออกกลาง
โดยดชันี Stoxx600 ลดลงเล็กน้อย 0.1% หลังจากลดลงไป 0.5% ในช่วงต้นตลาด ด้านหุ้นกลุ่มธนาคารลดลง 1.9% ขณะที่หุ้นกลุ่มอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้น 1%
อ้างอิงจากสำนักข่าวอินโฟเควสท์
- ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ที่จะประชุมวันที่ 25 ก.ย. นี้ ภาคเอกชนอยากให้คณะกรรมการ กนง.พิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% จากปัจจุบัน
อยู่ที่ 1.50% เนื่องจากค่าเงินบาทของไทยยังแข็งค่าต่อ โดยสัปดาห์ที่ผ่านมามีอัตราการแข็งค่าที่สุดในรอบ 6 ปี รวมทั้งคาดว่า ธนาคาร
กลางสหรัฐ (เฟด) จะพิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีก 0.25% จาก 2-2.25% เหลือ 1.75-2% คาดว่า ยิ่งเป็นแรงกดดันให้ค่าเงิน
บาทแข็งค่าขึ้นอีก เป็นอุปสรรคสำคัญต่อภาคการส่งออก ล่าสุดเห็นได้ชัดกระทบต่ออุตฯยานยนต์
- ธนาคารแห่งประเทศไทย เผยตั้งแต่ต้นปี 62 ใช้เงินกว่า 3 แสนล้านบาท แทรกแซงตลาดเงินไม่ให้ค่าเงินบาทแข็งเร็วเกินไป ขณะที่คลัง
ขยายมาตรการ "ชิมช้อปใช้" มีร้านค้าใหม่ร่วมกว่า 5.5 หมื่นเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ
- รองประธานและโฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ยอดขายรถ
ยนต์ภายในประเทศเดือน ส.ค. 62 มีจำนวน 80,838 คัน ลดลง 6.9% เทียบจากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากสถาบันการเงินมี
ความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น เห็นได้จากยอดปฏิเสธการอนุมัติสินเชื่อ ช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมาสูงถึง 20-30% โดยเฉพาะรถ
ยนต์ขนาดเล็ก ราคา 5-6 แสนบาท จากปกติอยู่ที่ประมาณ 10%
-นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ หัวหน้าพรรคเพื่อไทย ผู้นำฝ่ายค้าน แถลงเปิดการอภิปรายญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปโดยไม่ลงมติตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 152 โดยระบุว่าการที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี นำคณะรัฐมนตรี (ครม.) กล่าวคำถวายสัตย์ปฏิญาณในวันที่ 16 ก.ค.62 ขาดสาระสำคัญ คือ "ทั้งจะรักษาไว้และปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญทุกประการ" ซึ่งเป็นคำสำคัญจึงถือว่า ครม.ชุดนี้ปฏิบัติสิ่งที่ขัดกับรัฐธรรมนูญ และมีผลต่อการปฏิบัติหน้าที่ของ ครม.หลังจากนั้น โดยเฉพาะการแถลงนโยบายต่อรัฐสภา
- พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม จะเป็นประธานการประชุม ครม.เศรษฐกิจ ในวันที่ 20
ก.ย. นี้ เพื่อพิจารณาโครงการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานการคมนาคมขนส่งทุกระบบ ทั้งบก น้ำ อากาศ และราง ที่อยู่ภายใต้การกำกับ
ดูแลของกระทรวงคมนาคม โดยติดตามความคืบหน้า ปัญหา และอุปสรรคต่าง ๆ ก่อนจะหาทางแก้ไขและขับเคลื่อนโครงการให้ออกมาเป็น
ส่วนหนึ่งของการกระตุ้นการลงทุนของประเทศให้ขยายตัวดีขึ้น