· ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวสูงขึ้น ท่ามกลางเหล่านักลงทุนบางส่วนคาดหวังว่าในไตรมาสที่ 4 จะเห็นความคืบหน้าในการแก้ไขสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีนได้
หุ้นยุโรปถูกคาดว่าจะเพิ่มขึ้น ด้านสัญญาซื้อขายดัชนีสหรัฐฯล่วงหน้าปรับตัวสูงขึ้น 0.35% หลังจากที่ดัชนี S&P 500 เพิ่มขึ้น 0.50%
โดยดัชนี MSCI ที่ไม่รวมหุ้นญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น 0.23% ด้านดัชนี Nikkei เพิ่มขึ้น 0.6% และหุ้นออสเตรเลียพิ่มขึ้น 0.8% ซึ่งบางส่วนเกิดขึ้นหลังจากธนาคารกลางปรับลดอัตราดอกเบี้ยเป็นครั้งที่ 3 ในปีนี้
ด้านตลาดหุ้นจีนปิดทำการ 1 สัปดาห์เนื่องในวันหยุดประจำชาติ
· ตลาดหุ้นญี่ปุ่นปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากธนาคารกลางญี่ปุ่นเผยดัชนี Tankanผลสำรวจสำรวจความเชื่อมั่นภาคธุรกิจออกมาน้อยกว่าที่คาด จึงส่งผลให้ค่าเงินเยนปรับอ่อนค่าลง จึงช่วยหนุนหุ้นกลุ่มส่งออกและหุ้นที่เกี่ยวข้องกับ Apple
โดยผลสำรวจ Tankan ปรับตัวลดลงทำระดับต่ำสุดในรอบ 6 ปีในไตรมาสที่ 3 ซึ่งเป็นสัญญาณบ่งบอกว่าสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯกับจีนที่รุนแรงขึ้นเรื่อย
ทั้งนี้ ดัชนี Nikkei เพิ่มขึ้น 0.6% ที่ระดับ 21,885.24 จุด ขณะที่ดัชนี Topix เพิ่มขึ้น 1.0% ที่ระดับ 1,603.00 จุด
· ตลาดหุ้นยุโรปเปิดปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อย ท่ามกลางตลาดบางรายยังคงมีความหวังเกี่ยวกับความเป็นไปได้ในเชิงบวกเกี่ยวกับการเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐฯกับจีนที่จะเกิดขึ้นในเดือนนี้
โดยดัชนี Stoxx600 เพิ่มขึ้น 0.15% ด้านหุ้นเทคโนโลยีเพิ่มขึ้น 0.6% รวมทั้งตลาดหุ้นภูมิภาคที่เคลื่อนไหวในแดนบวกเช่นเดียวกัน
อ้างอิงจากสำนักข่าวอินโฟเควสท์
- ดัชนีราคาผู้บริโภคของไทย (เงินเฟ้อทั่วไป) ประจำเดือนก.ย. 62 เทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน สูงขึ้นร้อยละ 0.32 (YoY) ชะลอตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้า ที่สูงขึ้นร้อยละ 0.52 สินค้ากลุ่มอาหารสดยังคงเป็นปัจจัยบวกที่ทำให้เงินเฟ้อสูงขึ้น โดยสูงขึ้นในอัตราที่ชะลอตัวร้อยละ 5.11 ตามการสูงขึ้นของ ข้าวสาร เนื้อสุกร ผักและผลไม้ เป็นสำคัญ ขณะที่สินค้ากลุ่มพลังงานยังคงเป็นปัจจัยลบ โดยลดลงร้อยละ -6.39 ตามราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศ เมื่อหักอาหารสดและพลังงานออกแล้ว เงินเฟ้อพื้นฐาน ขยายตัวที่ร้อยละ 0.44 เงินเฟ้อเฉลี่ย 9 เดือน (ม.ค.-ก.ย.) ปี 2562 เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2561 สูงขึ้นร้อยละ 0.81 (AoA) และเงินเฟ้อไตรมาสที่ 3 ปี 2562 เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน สูงขึ้นร้อยละ 0.61
- สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้าไทย (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป (CPI) หรืออัตราเงินเฟ้อในเดือน ก.ย.อยู่ที่ 102.90 ขยายตัว 0.32% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และขยายตัว 0.10% จากเดือน ส.ค.62 ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ (ม.ค.-ก.ย.) ขยายตัวเฉลี่ย 0.81%
ส่วนดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน (CORE CPI) เดือน ก.ย.อยู่ที่ 102.70 ขยายตัว 0.44% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และขยายตัว 0.09% จากเดือน ส.ค.62 ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ขยายตัวเฉลี่ย 0.54%
- น.ส.กัณญภัค ตันติพิพัฒนพงศ์ ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) หรือสภาผู้ส่งออก กล่าวว่า สรท.ปรับลดคาดการณ์การส่งออกในปี 62 หดตัว -1.5% บนสมมติฐานค่าเงินบาท 33 (บวก/ลบ 0.5) บาท/ดอลลาร์ จากก่อนหน้าได้ปรับลดคาดการณ์ส่งออกปีนี้มาที่ -1% จากเดิมที่เคยคาดโต 1% เมื่อต้นเดือน ก.ค.ที่ผ่านมา ส่วนปี 63 คาดว่าการส่งออกจะขยายตัวที่ระดับ 0-1% บนสมมติฐานค่าเงินบาท 30.50 บาท/ดอลลาร์
สำหรับความเสี่ยงที่อาจเป็นอุปสรรคสำคัญประกอบด้วย 1) อัตราแลกเปลี่ยนที่มีแนวโน้มแข็งขึ้นอย่างต่อเนื่องจากท่าทีการดำเนินนโยบายที่ผ่อนคลายของประเทศต่างๆ เช่น สหภาพยุโรป ที่ดำเนินมาตรการซื้อพันธบัตรมูลค่า 200,000 ล้านยูโรต่อเดือน และ การปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% ของเฟด จาก 2.00-2.25% สู่ระดับ 1.75-2.00%