· รายงานจาก CNBC ระบุว่า เดือนต.ค. มักเป็นเดือนแห่งความผั
นผวนของตลาดการลงทุนในหุ้นแต่
ละปี ซึ่งไม่ว่าจะเป็นหุ้น, พันธบัตร หรือแม้แต่ดอลลาร์ที่ร่วงลงเมื่
อคืนนี้จากข้อมูลภาคการผลิตที่
ออกมาแย่กว่าที่คาดได้จุ
ดประกายความกังวลในเรื่
องเศรษฐกิจสหรัฐฯ แต่ก็เชื่อว่าหุ้นจะสามารถกลั
บมาฟื้นตัวได้อีกครั้
งจากความหวังในการเจรจาสหรัฐฯ-
จีนสัปดาห์หน้า ที่อาจนำมาซึ่งความคืบหน้าของข้
อตกลงการค้าได้
· ดัชนีตลาดหุ้นทั่วโลกปรั
บลดลงทำระดับต่ำสุดในรอบ 1 เดือน ท่ามกลางแรงกดดันหลั
งการประกาศตัวเลขภาคอุ
ตสาหกรรมสหรัฐฯที่ออกมาอ่อนแอที่
สุดในรอบกว่าทศวรรษ จึงยิ่งตอกย้ำความกังวลเกี่ยวกั
บการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ซึ่งเป็นผลกระทบจากสงครามการค้
าระหว่างสหรัฐฯและจีน
ทั้งนี้ ดัชนี MSCI ที่รวมตลาดหุ้นทั่วโลกกว่า 49 ตลาด ปรับลดลง 0.06% ทำระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ต้นเดือน ก.ย. ต่อเนื่องจากช่วงตลาดเมื่อวานนี้ที่ปรับลดลง 0.83% ขณะที่ดัชนี MSCI ที่รวมตลาดหุ้นในเอเชีย ยกเว้นตลาดหุ้นญี่ปุ่น ปรับลดลง 0.6%
· ตลาดหุ้นญี่ปุ่นปิดแดนลบ ท่ามกลางแรงกดดันจากตั
วเลขภาคการผลิตของสหรัฐฯที่
ออกมาลดลงมากที่สุดในรอบกว่
าทศวรรษ จึงยิ่งตอกย้ำการชะลอตั
วของเศรษฐกิจที่เกิ
ดจากผลกระทบของสงครามการค้าสหรั
ฐฯ-จีน
ทั้งนี้ ดัชนี Nikkei ปิด -0.49% ที่ระดับ 21,778.61 จุด
· ตลาดหุ้นยุโรปปรับตัวลดลง หลังจากข้อมูลภาคการผลิตสหรั
ฐฯออกมาอ่อนแอ ส่งผลกระทบต่อความไม่แน่นอนต่
อเศรษฐกิจ
โดยดัชนี Stoxx600 ลดลง 0.7% ด้านหุ้นทรัพยากรลดลง 1.6% ท่ามกลางตลาดภูมิภาคส่วนใหญ่ที่เคลือ่นไหวในแดนลบ ขณะที่หุ้นท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น 0.7%
ทั้งนี้ นายบอริส จอห์สัน นายกรัฐมนตรีอังกฤษจะทำการเปิดเผย Final Brexit ที่เป็นข้อเสนอต่อทางอียูในวันนี้ เพื่อสร้างความชัดเจนว่าหากอียูเห็นด้วยกับข้อตกลงดังกล่าว ทางอังกฤษจะเจรจาต่อเพื่อออกจากอียูในวันที่ 31 ต.ค.นี้หรือไม่
· จากผลสำรวจโดย Refinitiv บรรดาบริษัทในยุโรปถูกคาดการณ์
ว่าจะมีผลประกอบการรายไตรมาสที่
ย่ำแย่ลงเป็นไตรมาสแรกนับตั้
งแต่ต้นปี 2018 จึงอาจยิ่งกดดันความกังวลเกี่
ยวกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจยุ
โรป
โดยบรรดาบริษัทจดทะเบียนในดัชนี STOXX 600 ถูกคาดการณ์ว่าจะมีผลประกอบการลดลงเฉลี่ย -2.2% ในไตรมาสที่ 3/2019 มากกว่าที่คาดการณ์ไว้เมื่อสัปดาห์ก่อนที่ -1.9% และเป็นการปรับลดลงรายไตรมาสที่ย่ำแย่ที่สุดนับตั้งแต่ไตรมาสที่ 3/2016
· อ้างอิงจากสำนักข่าวอินโฟเควสท์
- นายกลินท์ สารสิน ประธานกรรมการหอการค้าไทย และประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ในฐานะประธานคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) แถลงว่า ที่ประชุมกกร. ได้ปรับลดคาดการณ์อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจ (GDP) ปี 62 มาที่ 2.7-3.0% จากเดิมคาด 2.9-3.3% พร้อมปรับลดเป้าส่งออกปีนี้เหลือ -2.0% ถึง 0.0% จากเดิมคาด -1.0% ถึง 1.0% ภายใต้สถานการณ์ความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก สงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีนที่ยืดเยื้อ, ประเด็น Brexit และทิศทางเงินบาทที่แข็งค่า
- นายชาญกฤช เดชวิทักษ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำนายกรัฐมนตรีไทย (ปฎิบัติงานกระทรวงการคลัง) เปิดเผยถึงมาตรการ "100 เดียวเที่ยวทั่วไทย" จะเป็นการดึงผู้ประกอบการท่องเที่ยวมาร่วมจัดแพ็กเกจราคาพิเศษ เช่น ตั๋วเครื่องบิน ที่พัก ร้านอาหาร และสินค้าบริการ ด้วยราคาเพียง 100 บาทต่อ 1 รายการ ในรูปแบบชิงโชคให้ 4 หมื่นคนผ่านการลงทะเบียนเพื่อรับสิทธิซื้อแพคเกจ
สำหรับขั้นตอนง่ายกว่ามาตรการ "ชิม ช้อป ใช้" เพื่อหวังต่อยอดจากมาตรการ "ชิม ช้อป ใช้" ซึ่งเป็นช่วงที่ประชาชนเริ่มออกไปใช้สิทธิ์ท่องเที่ยวในช่วงแรก นับว่าเป็นโปรโมชั่นอีกด้านหนึ่งที่หนุนให้เกิดการท่องเที่ยว เงินกระจายออกสู่ต่างจังหวัด
- นายอุตตม สาวนายน รมว.การคลังของไทย กล่าวภายหลังเป็นประธานการเปิดสัมมนาของบริษัท ฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) ในหัวข้อ "Global Risks & Thailand’s Economic Outlook ว่า ฟิทช์ฯ ยังมองว่าเศรษฐกิจไทยในระยะยาวยังมีโอกาสที่ดีจากการที่รัฐบาลเดินหน้าแผนการพัฒนาประเทศตามยุทธศาสตร์ทั้งในด้านเศรษฐกิจและสังคม ทำให้ประเทศไทยยังมีความน่าสนใจและได้รับความสนใจจากนักลงทุนในระดับโลก สะท้อนจากตัวเลขการขอรับการส่งเสริมการลงทุนจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ที่พบว่านักลงทุนต่างชาติยื่นขอลงทุนในไทยเพิ่มขึ้น
ทั้งนี้ จากปัจจัยดังกล่าวส่งผลให้ในเดือน ก.ค.ที่ผ่านมา ฟิทช์ฯ ได้ปรับเครดิตของประเทศไทยขึ้นไปอยู่ในระดับที่มุมมองเป็นบวกจากเดิมอยู่ในระดับที่มีเสถียรภาพ แม้ว่าเศรษฐกิจโลกจะมีความผันผวนรุนแรง และหลายประเทศถูกปรับลดหรือคงอันดับเครดิตไว้เท่าเดิม ถือว่าไทยเป็นกลุ่มประเทศส่วนน้อยที่ฟิทซ์ฯ ปรับเครดิตของประเทศให้ดีขึ้น
- นายลวรณ แสงสนิท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) คาดว่า มาตรการ"ชิมช้อปใช้"จะส่งผลกระตุ้นเศรษฐกิจปีนี้ให้ขยายตัวเพิ่มได้ไม่ต่ำกว่า 0.2-0.3% จากเป้าหมาย 3% เนื่องจากคาดจะมีเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจประมาณ 6 หมื่นล้านบาท โดยเป็นการอุดหนุนจากรัฐ 1.9 หมื่นล้านบาท ส่วนที่เหลือเป็นการใช้จ่ายจากประชาชนในกระเป๋า 2 เพื่อขอรับเงินแคชแบ็คคืน 15%
พร้อมยืนยันว่า มาตรการชิมช้อปใช้ ไม่ได้เอื้อประโยชน์ให้ผู้ประกอบการรายใหญ่ เพราะจากการใช้จ่ายในช่วง 5 วันแรกอยู่ที่ 628 ล้านบาท มีการใช้จ่ายผ่านห้างขนาดใหญ่แค่ 142 ล้านบาทหรือ 22% เท่านั้น