• สรุปข่าวเศรษฐกิจ (ภาคค่ำ) ประจำวันที่ 7 ตุลาคม 2562

    7 ตุลาคม 2562 | Economic News

· วันนี้ค่าเงินเยนปรับแข็งค่าขึ้นเล็กน้อย ขณะที่เงินหยวนอ่อนค่าลง ท่ามกลางกลุ่มนักลงทุนที่ค่อนข้างกังวลและรอคอยผลเจรจาสหรัฐฯ-จีนในสัปดาห์นี้เกี่ยวกับสัญญาณว่าทั้ง 2 ประเทศจะสามาถรลดความตึงเครียดระหวา่งกันได้ หรือยิ่งเดินหน้าลงโทษกันทาง Trade War



ความเสี่ยงดังกล่าวมีขึ้น หลังจากที่สำนักข่าว Bloomberg รายงานว่า ทางการจีนส่งสัญญาณที่ดูเหมือนจะไม่ยอมจำนวนต่อการเห็นด้วยกับข้อตกลงของนายทรัมป์มากขึ้น



ค่าเงินเยนแข็งค่ากลับมาในฐานะ Safe-Haven โดยปรับแข็งค่าอีก 0.1% ที่ 106.79 เยน/ดอลลาร์ ขณะที่เงินหยวนอ่อนค่าลงตามสภาวะ Trade War ที่เกิดขึ้น โดยล่าสุดอ่อนค่าลงไปอีก 0.3% ที่ระดับ 7.1356 หยวน/ดอลลาร์ ท่ามกลางตลาดจีนท่ียังคงปิดทำการเนื่องในวันเฉลิมฉลองวันชาติ



ค่าเงินออสเตรเลียดอลลาร์และค่าเงินวอนของเกาหลีอ่อนค่าลงจากความไม่มั่นใจว่าการเจรจาครั้งนี้จะเป็นไปได้ด้วยดีหรือไม่


· สำหรับกำหนดการเจรจาทางการค้าของสหรัฐฯและจีน คือ

วันนี้ - พรุ่งนี้ จะเป็นการเจรจาระดับ Deputy-Level

วันพฤหัสบดี และวันศุกร์ จะเป็นการเจรจาระดับ High-Level ที่นำโดย นายหลิว เฮ่อ รองนายกรัฐมนตรีีจีน ขณะที่ทางสหรัฐฯ นำโดย นายโรเบิร์ต ไลท์ไธเซอร์ ตัวแทนเจรจาการค้าสหรัฐฯ และนายสตีเวน มนูชิน รัฐมนตรีกระทรวงการคลังสหรัฐฯ



ตลาดโลกค่อนข้างมีความผันผวนอย่างมากในปีนี้ ท่ามกลางความคาดหวังต่อข้อตกลงการค้าที่ดูจะเกิดขึ้นและก็เบาบางลงไป ขณะเดียวกันข้อมูลเศรษฐกิจไม่ว่าจะเป็นยุโรป สหรัฐฯ และจีนก็ดูเหมือนจะยิ่งอ่อนแอ และเป็นหลักฐานตอกย้ำว่าภาวะ Trade War ได้ฉุดแนวโน้มการขยายตัวทางเศรษฐกิจโลก



ดัชนีดอลลาร์ทรงตัวที่ 98.818 จุด และยังคงเคลื่อนไหวต่ำกว่าระดับสุูงสุดในสัปดาห์ที่แล้ว



นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ มีการประกาศเลื่อนการเก็บภาษีมูลคา่ 2.5 แสนล้านเหรียญในกลุ่มสินค้านำเข้าจีนที่จะมีผล 1 ต.ค. เป็น 15 ต.ค. หลังจากที่นายทรัมป์ มีมุมมองตอบรับท่าทีเชิงบวกจากจีน ขณะที่จีนก็มีการเริ่มต้นกลับเข้าซื้อสินค้าเกษตรสหรัฐฯ



ค่าเงินยูโรทรงตัวที่ 1.0979 ดอลลาร์/ยูโร โดยมีการปรับแข็งค่าขึ้นประมาณ 0.3% ในตลาดเอเชีย และถือเป็นการฟื้นตัวกลับได้หลังไปทำระดับต่ำสุดรอบ 2 ปีครึ่งเมื่อวันอังคารที่แล้วบริเวณ 1.0879 ดอลลาร์/ยูโร



ค่าเงินปอนด์ยังคงทรงตัวไม่เปลี่ยนเปลงที่ 1.2325 ดอลลาร์/ปอนด์ จากความไม่แน่นอนของ Brexit ที่ยังเป็นปัจจัยที่นักลงทุนเฝ้าคอยดูอยู่ ซึ่ง Brexit มีกำหนดเส้นตายในวันที่ 31 ต.ค.น่ี้ ท่ามกลางนายบอริส จอห์นสัน นายกฯอังกฤษที่ดูจะพยายามหาทางเปลี่ยนแปลงเพื่อใหเ้กิดข้อตกลงเกี่ยวกับพรมแดนไอร์แลนด์

· คาดการณ์ดัชนีดอลลาร์ไตรมาส 4/2019: ดัชนียังมีโอกาสอ่อนค่า




นักวิเคราะห์จาก Daily FX มุมมองว่า สำหรับไตรมาสที่ 4/2019 ดัชนีดอลลาร์ยังมีสัญญาณของการกลับตัวเป็นขาลงระยะยาวได้ เนื่องจากดัชนีมีการก่อตัวเป็นลักษณะ rising wedge ติดต่อกันในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ประกอบการที่ดัชนียังไม่สามารถทำจุดสูงสุดใหม่ๆได้ แต่หากถามว่าดัชนีจะเริ่มย่อตัวลงเมื่อไหร่นั้น ยังไม่สามารถตอบได้

ทั้งนี้ สำหรับช่วงต้นเดือน ต.ค. เชื่อว่าดัชนีจะเคลื่อนไหวในทิศทางขาขึ้นต่อจนกว่าจะเริ่มกำลัง สอดคล้องกับแรงหนุนจากปัจจัยพื้นฐาน โดยเฉพาะการที่เฟดยังมีแนวโน้มจะผ่อนคลายนโยบายลง



· นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ที่กำลังเผชิญแรงกดดันจากสภาคองเกรสในการไต่สวน ได้กล่าวต่อว่าพรรคเดโมแครตอย่างหนัก พร้อมประกาศว่า นางแนนซี เพโลซี โฆษกประจำสภาคองเกรส ผู้ประกาศเดินหน้ากระบวนการไต่สวนในสภาผู้แทนราษฎร ว่าเธอจะถูกฟ้องในข้อหากบฏ



· ยอดคำสั่งซื้อภาคอุตสาหกรรมของเยอรมนีปรับลดลงมากกว่าที่คาดในเดือน ส.ค. โดยคำสั่งซื้อสินค้า “Made in Germany”ปรับลดลง 0.6% จากเดือนก่อน ขณะที่ปริมาณอุปสงค์ในสินค้าปรับลดลง 1.6% บ่งชี้ถึงทิศทางของเศรษฐกิจเยอรมนีในไตรมาสที่ 3/2019 ที่ไม่ค่อนสดใสนัก


· ดัชนีรวมปัจจัยชี้วัดทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่นปรับลดลงในเดือน ส.ค. ขณะที่ภาครัฐบาลญี่ปุ่นลดคาดการณ์ต่อเศรษฐกิจลงมาในระดับ “กำลังถดถอย” บ่งชี้ถึงทิศทางที่เศรษฐกิจญี่ปุ่นกำลังมุ่งหน้าเข้าสู่ภาวะถดถอย ท่ามกลางปัจจัยกดดันจากสงครามการค้าสหรัฐฯ-จีน และปริมาณอุปสงค์ในสินค้าญี่ปุ่นจากภายนอกประเทศที่อ่อนแอลง



ทั้งนี้ ดัชนีรวมปัจจัยชี้วัดทางเศรษฐกิจ ซึ่งรวมตัวเลจทางเศรษฐกิจสำคัญอย่าง อัตราผลผลิตภาคอุตสาหกรรม การจ้างงาน และยอดค้าปลีก ปรับลดลง 0.4 จุด ในเดือน ส.ค. ขณะที่ดัชนีรวมตัวเลขภาคตำแหน่งงานว่างและความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจปรับลดลง 2.0% จากเดือน ก.ค.


· ข้อตกลงการค้าระหว่างสหรัฐฯ-ญี่ปุ่น ที่ผู้นำของทั้งสองประเทศร่วมลงนามไปเมื่อไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา แม้รายละเอียดของข้อตกลงจะยังไม่ถูกเปิดเผยออกสู่สาธารณะ แต่บรรดาที่ปรึกษาในสภาคองเกรสกลับมีความเห็นต่อข้อตกลงดังกล่าวว่า ข้อตกลงจะมอบสิทธิ์เกี่ยวกับการที่สินค้าเกษตรของสหรัฐฯจะเข้าถึงตลาดญี่ปุ่นได้ไม่ดีเท่ากับข้อตกลง Trans-Pacific Partnership (TPP) ที่นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ พาสหรัฐฯถอนตัวออกไปเมื่อปี 2017


· หลังจากที่รัฐบาลฮ่องกงประกาศแบนหน้ากากและมีผลบังคับใช้เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา แต่สถานการณ์ความรุนแรงจากการประท้วงในเมืองฮ่องกงก็ยังคงไม่ทุเลาลงแต่อย่างใด หนำซ้ำกลับมีการเคลื่อนไหวเพื่อต่อต้านการใช้กฏหมายฉุกเฉินเพื่อแบนหน้ากาก เกิดเป็นความรุนแรงระลอกใหม่โดยที่ผู้ชุมนุมต่างสวมหน้ากากเพื่อปิดบังใบหน้าและป้องกันแก๊สน้ำตาจากตำรวจ



รถไฟใต้ดินในฮ่องกงยังคงไม่สามารถกลับมาเปิดให้บริการได้อย่างเต็มที่ในวันนี้ โดยระบบรถไฟใต้ดินมีเพียงบางส่วนเท่านั้นที่สามารถใช้งานได้ ขณะที่โครงสร้างของระบบได้รับความเสียหายอย่างหนัก จากความรุนแรงของการประท้วงในเมืองเมื่อช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ที่ทางกองทัพจีนได้มีการออกประกาศเตือนเป็นครั้งแรก


· ราคาน้ำมันเคลื่อนไหวผสมผสาน ท่ามกลางกลุ่มนักลงทุนที่ยังมีความระมัดระวังต่อการรีบาวน์ของราคาหลังจากที่ราคาน้ำมันปิดตลาดสัปดาห์ก่อนลดลงไปกว่า 5% จากตัวเลขภาคอุตสาหกรรมที่อ่อนแอลงทั้งในสหรัฐฯและจีน ขณะที่ตลาดจะจับตาการเจรจาการค้าระหว่างทั้งสองประเทศที่จะเกิดขึ้นภายในสัปดาห์นี้



โดยราคาสัญญาน้ำมันดิบ Brent ปรับลดลง 1 เซนต์ แถว 58.36 เหรียญ/บาร์เรล ขณะที่ราคาสัญญาน้ำมันดิบ WTI ปรับสูงขึ้น 4 เซนต์ แถว 52.85 เหรียญ/บาร์เรล



อีกปัจจัยที่กดดันการฟื้นตัวของราคาน้ำมัน มาจากการฟื้นตัวของปริมาณการผลิตน้ำมันของซาอุดิอาระเบียที่เร็วกว่าที่คาด หลังเกิดเหตุโจมตีโรงกลั่นน้ำมันเมื่อวันที่ 14 ก.น. ที่ผ่านมา ขณะที่ความตึงเครียดในตะวันออกกลางก็ยังถือว่าอยู๋ในระดับสูง


บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com