โดยดัชนี Nikkei เพิ่มขึ้น 1.0% ที่ระดับ 21,587.78 จุด ขณะที่ดัชนี Topix เพิ่มขึ้น 0.9% ที่ะรดับ 1,586.50 จุด ท่ามกลางการซื้อขายที่ค่อนข้างเบาบางเนื่องจากเหล่านักลงทุนชะลอการลงทุนก่อนหน้าการเจรจาทางการค้าครั้งสำคัญ
ทั้งนี้ ความเชื่อมั่นของนักลงทุนได้รับแรงหนุนจากการเคลื่อนไหวที่แข็งแกร่งจากตลาดหุ้นฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้กลับมาเปิดทำการ หลังจากที่ปิดทำการในช่วงหนึ่งสัปดาห์ที่ผ่านมาเนื่องจากวันหยุดประจำชาติ
· ตลาดหุ้นจีนปรับตัวสูงขึ้น ท่ามกลางตลาดที่กลับมาเปิดทำการอีกครั้งหลังปิดทำการไปในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาเนื่องในวันหยุดประจำชาติ ขณะที่ผลสำรวจภาคบริการที่อ่อแอช่วยเสริมความหวังที่ว่าจีนจะออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม
เหล่าเทรดเดอร์กลับมาให้ความสนใจเกี่ยวกับการเจรจาทางการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีน โดยดัชนี Shanghai Composite เพิ่มขึ้น 0.3% ที่ะรดับ 2,913.57 จุด
· ตลาดหุ้นยุโรปปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากเหล่านักลงทุนรอคอยการเจรจาทางการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีนในระดับ high-level
โดยดัชนี Stoxx600 เพิ่มขึ้นประมาณ 0.1% ด้านหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีเพิ่มขึ้น0.8% ขณะที่หุ้นกลุ่มการเงินลดลง 0.7%
อ้างอิงจากสำนักข่าวไทยโพสต์
- นายวิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยถึงผลการประเมินภาคการเงิน (Financial Sector Assessment Program - FSAP)ของประเทศไทย โดยคณะผู้ประเมินจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund - IMF) และธนาคารโลก (World Bank) เมื่อปี2561 - 2562 ซึ่งเป็นการเข้ารับการประเมินโดยสมัครใจของไทย หลังจากการประเมินครั้งแรกเมื่อปี 2550 ในภาพรวมพบว่า ระบบการเงินของไทยมีเสถียรภาพ มีความมั่นคงสามารถรองรับความผันผวนได้ดี และการกำกับดูแลภาคการเงินของไทยมีประสิทธิภาพสูง เป็นไปตามมาตรฐานสากลเทียบเคียงได้กับประเทศชั้นนำ
- ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB EIC) ปรับลดคาดการณ์อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (GDP) ของไทยในปี 62 ลงเหลือ 2.8%จากเดิม 3% เนื่องจากการส่งออกหดตัวแรง ขณะที่การใช้จ่ายเอกชนชะลอตัว และการลงทุนภาครัฐเกิดความล่าช้า พร้อมทั้งประเมินว่า GDP ปีหน้าจะเติบโตได้ราว 2.8% โดยยังเผชิญความเสี่ยงจากปัจจัยภายในประเทศและต่างประเทศ โดยเฉพาะปัจจัยภายนอก ส่งผลกระทบทำให้การส่งออกฟื้นตัวได้ช้า และการลงทุนภาคเอกชนยังชะลอตัว
SCB EIC ยังคาดว่าคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% มาที่ 1.25% ในรอบการประชุมเดือน พ.ย.นี้ จากนั้นจะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ตลอดทั้งปี 63 ขณะที่คาดว่าค่าเงินบาทจะทรงตัวในทิศทางแข็งค่าที่ 30-31 บาท/ดอลาร์สหรัฐในปี 63 ใกล้เคียงปีนี้ เนื่องจากดุลบัญชีเดินสะพัดของไทยยังเกินดุลสูงถึง 6% ของ GDP