· ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวลดลงมากที่
สุดในรอบสัปดาห์ เนื่องจากข้อพิพาททางการค้
าระหว่างสหรัฐฯและจีนที่ส่งสั
ญญาณที่จะสามารถยุติลงได้เพี
ยงเล็กน้อย จึงส่งผลต่อการเติบโตทางเศรษฐกิ
จโลก
ดัชนี MSCI ที่ไม่รวมตลาดหุ้นญี่ปุ่นลดลง 0.61% หลังจากร่วงลงไปทำระดับต่ำสุดในรอบ 5 สัปดาห์
· ตลาดหุ้นญี่ปุ่นปรับตัวลดลง ท่ามกลางความไม่แน่นอนเกี่ยวกั
บสงครามการค้าระหว่างสหรั
ฐฯและจีนเกี่ยวกับการเจรจาระดั
บสูงของตัวแทนการค้าในวันที่ 10– 11 ต.ค.นี้ ณ กรุงวอชิงตัน รวมทั้งความเชื่อมั่นของเหล่านั
กลงทุนที่อ่อนแอลง
โดยดัชนี Nikkei ลดลง 0.61% ที่ระดับ 21,456.38 จุด ขณะที่ดัชนี Topixลดลง 0.30% ที่ระดับ 1,581.70 จุด
ประธานบริษัท Kansai Electric Power ประกาศลาออกจากตำแหน่ง เพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อกรณีรับเงินใต้โต๊ะที่สร้างความเสียหายให้กับความน่าเชื่อถือของบริษัทซึ่งเป็นบริษัทเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 2 ของญี่ปุ่น
· ตลาดหุ้นจีนปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากหุ้
นภาคธนาคารและภาคอสังหาริมทรั
พย์เพิ่มสูงขึ้น ขณะที่เหล่านักลงทุนระมัดระวั
งการลงทุนก่อนหน้
าการเจรจาทางการค้าระหว่างสหรั
ฐฯและจีนในช่วงปลายสัปดาห์นี้ โดยดัชนี Shanghai Compositeเพิ่มขึ้น 0.4% ที่ระดับ 2,924.86 จุด
· ตลาดหุ้นยุโรปส่วนใหญ่ปรับตั
วลดลง เนื่องจากแรงเทขายอย่างต่อเนรื่
องในตลาด ท่ามกลางความหวังที่
เบาบางลงไปเกี่ยวกั
บการเจรจาทางการค้าระหว่างสหรั
ฐฯและจีน
โดยดัชนี Stoxx600 ลดลง 0.2% หุ้นยานยนต์ลดลง 0.6% เนื่องจากจลาดภูมิภาคส่วนใหญ่เคลื่อนไหวในแดนลบ
· คาดการณ์ดัชนีดาวโจนส์: ดัชนีส่งสัญญาณย่อตัวลง
ดัชนีดาวโจนส์เมื่อคืนปิดแดนลบท่ามกลางมุมมองเกี่ยวกับการเจรจาการค้าสหรัฐฯ-จีนที่ไม่ค่อยสดใสนักตามหลังถ้อยแถลงของกระทรวงพาณิชย์จีน มุมมองดังกล่าวยิ่งอ่อนแอลงไปอีก หลังจากสหรัฐฯสั่งขึ้นบัญชีดำหน่วยงานรัฐและบริษัทเอกชนของจีนจำนวน 28 แห่ง ความเคลื่อนไหวดังกล่าวเป็นอีกครั้งหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงความไม่แน่นอนของสงครามการค้า แม้ก่อนหน้านี้ทั้งสองฝ่ายจะส่งสัญญาณที่ดีต่อการเจรจาการค้าก็ตาม
กราฟดัชนีดาวโจนส์รายวัน (ม.ค. 2018 – ต.ค. 2019)
ดัชนีได้ย่อตัวลงมาเมื่อคืน แต่ยังเคลื่อนไหวเหนือเส้นแนวรับสำคัญที่ 25,900 จุดขึ้นมาประมาณ 300 จุด หรือประมาณ 1.5% แต่ในกรณีที่ดัชนีย่อตัวหลุดแนวรับดังกล่าวลงมา ดัชนีจะมีแนวรับถัดไปที่ 25,200 จุด ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบกว่า 20 เดือน
· อ้างอิงจากสำนักข่าว Business day
- ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยรายงานการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ครั้งที่ 6/62 เมื่อวันที่ 25 ก.ย. 62 มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 1.50% เหตุผลที่กนง.คงดอกเบี้ย แม้จะยอมรับว่าเศรษฐกิจไทยชะลอตัว แต่ต้องการเก็บ”กระสุน”เอาไว้ยามจำเป็นในภาวะความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจสูงขึ้น
กนง. มีเหตุผลดังนี้
- เศรษฐกิจไทยในภาพรวมมีแนวโน้มขยายตัวต่ำกว่าประมาณการเดิมและต่ำกว่าระดับศักยภาพ กนง.เห็นว่าการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยเผชิญกับความไม่แน่นอนสูงขึ้นจากปัจจัยต่างประเทศเป็นสำคัญ ซึ่งอาจกระทบต่อแนวโน้มการขยายตัวของเศรษฐกิจในระยะต่อไป
- อัตราเงินเฟ้อทั่วไปมีแนวโน้มต่ ากว่าขอบล่างของกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อในปี 62
- ความเสี่ยงในระบบการเงินที่อาจสร้างความเปราะบางให้กับเสถียรภาพระบบการเงินในอนาคตได้รับ การดูแลไปแล้วบางส่วนด้วยมาตรการดูแลเสถียรภาพระบบการเงินที่ได้ด าเนินการไป อาทิ ความเสี่ยง ในภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ปรับดีขึ้นหลังหลักเกณฑ์การก ากับดูแลสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยที่ปรับปรุงใหม่ (loan-tovalue: LTV) มีผลบังคับใช้
- กนง.เห็นถึงความจำเป็นที่ต้องรักษาขีดความสามารถในการดำเนินนโยบายการเงิน (policy space) เพื่อรองรับความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจที่อาจเกิดขึ้นในระยะข้างหน้า และเห็นควรให้ติดตามผลของการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายและมาตรการกระตุ้น เศรษฐกิจของภาครัฐที่จะส่งผ่านไปสู่เศรษฐกิจจากการประชุมครั้งที่ผ่านมา
- นายยรรยง ไทยเจริญ รองผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสูงสุด EIC ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า อีไอซีคงมุมมองคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีโอกาสลดดอกเบี้ยอีก 1 ครั้งในช่วงไตรมาสที่ 4/62 สู่ระดับ 1.25% ซึ่งเป็นระดับที่ต่ำที่สุดในประวัติศาสตร์ และจะคงอัตราดอกเบี้ยตลอดปี 63 แม้ในช่วงเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา กนง. จะได้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงแล้ว 1 ครั้ง และล่าสุดในการประชุมเดือนกันยายนได้ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจของทั้งปี 62 และปี 63 แต่ในระยะถัดไป ความเสี่ยงด้านต่ำจากทั้งในและนอกประเทศที่มีสูงขึ้น จะทำให้ กนง. มีโอกาสปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 63 ที่คาดว่าจะโตถึง 3.3% ลงได้อีก
ประกอบกับแนวโน้มเงินเฟ้อที่จะยังอยู่ต่ำกว่ากรอบเป้าหมายทั้งในปีนี้และปีหน้า น่าจะทำให้ กนง. พิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอีก 1 ครั้งในไตรมาสที่ 4/62 และจะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับ 1.25% ตลอดทั้งปี 63 เพื่อประคับประคองกำลังซื้อในประเทศผ่านช่องทางการลดต้นทุนทางการเงิน ซึ่งแม้อาจจะไม่กระตุ้นให้เกิดการกู้ยืมใหม่ได้มากนักภายใต้ความไม่แน่นอนที่ยังอยู่ในระดับสูง
· อ้างอิงจากสำนักข่าวอินโฟเควสท์
- นายอุตตม สาวนายน รมว.คลัง กล่าวถึงความคืบหน้ามาตรการชิมช้อปใช้ เฟส 2 ว่า คาดว่าจะนำเสนอเข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้ภายในเดือนต.ค.นี้ โดยขณะนี้กระทรวงการคลังอยู่ระหว่างการพิจารณา เพราะต้องให้สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ธนาคารกรุงไทย (KTB) ตลอดจนทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าไปดูรายละเอียดโครงการให้ชัดเจน เนื่องจากอาจให้สิทธิไม่ถึง 10 ล้านคนเหมือนเฟสแรก อาจจะให้สิทธิเพียง 5 ล้านคน มีการปรับเปลี่ยนรายละเอียดและเงื่อนไข รวมทั้งจะปรับเวลาลงทะเบียนมาเป็นช่วงกลางวันด้วย ส่วนงบประมาณที่จะใช้ในเฟส 2 นั้น กำลังดูในรายละเอียดก่อน