· ค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่าลงจากข้อมูลยอดค้าปลีกสหรัฐฯที่ออกมาแย่ลงและดูจะเพิ่มแรงกดดันทางภาพรวมของเศรษฐกิจสหรัฐฯ และดูเหมือนจะยิ่งสนับสนุนการปรับลดดอกเบี้ยของเฟด
โดยดัชนีดอลลาร์ปรับลง 0.3% ที่ระดับ 97.998 จุด หลังข้อมูลยอดค้าปลีกสหรัฐฯร่วงลงเป็นครั้งแรกในรอบ 7 เดือนในเดือนก.ย. สะท้อนว่าความอ่อนแอของภาคการผลิตมีส่วนฉุดรั้งภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศ ขณะที่อีก 2 สัปดาห์จะเข้าสู่การประชุมเฟดที่อาจเห็นเฟดจำเป็นต้องลดดอกเบี้ยลงเป็นครั้งที่ 3 ของปีนี้
ค่าเงินหยวนอ่อนค่าขึ้นแตะ 7.1030 ดอลลาร์/ยูโร โดยเป็นระดับอ่อนค่ามากที่สุดตั้งแต่ 10 ต.ค. หลังจากที่จีนตำหนิกฎหมายใหม่ของสหรัฐฯที่เป็นการสนับสนุนกลุ่มผู้ประท้วงในฮ่องกง
ค่าเงินปอนด์แกว่งตัวใกล้ระดับสูงสุดรอบ 5 เดือน โดยติดตามประเด็น Brexit เป็นหลัก ที่มีแนวโน้มอาจทำข้อตกลงร่วมกันได้
· รายงานจาก Wall Street Journal เผยว่า ข้อตกลงการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีนมีสาระสำคัญมากมายที่ดูเหมือนจะยังติดปัญหาบางประการอยู่ โดยเฉพาะกรณีที่จีนสัญญาจะเข้าซื้อสินค้าเกษตรจากสหรัฐฯเพิ่ม ที่ยังสร้างความไม่แน่นอนให้แก่ตลาดในเวลานี้ เนื่องจากถึงจีนจะมีการระบุว่าจะทำการเข้าซื้อสินค้าเกษตรดังกล่าวเพิ่ม แต่ก็ยังปราศจากรายละเอียดของระยะเวลาและจำนวนที่จะเข้าซื้อจริงตามที่ได้สัญญาไว้
สำหรับการเจรจาระหว่างสหรัฐฯและจีนในสัปดาห์ที่แล้ว นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ เผยถึงการที่จีนจะเข้าซื้อสินค้าเกษตรเพิ่ม 4-5 หมื่นล้านเหรียญเป็นเวลาอย่างน้อย 2 ปี แต่ก็ยังมีความไม่ชัดเจนว่าสหรัฐฯและจีนจะบรรลุข้อตกลงร่วมกันได้หรือไม่ เพราะหากไม่เกิดขึ้นการขึ้นภาษีในเดือนธ.ค. ก็จะมีผลบังคับใช้
อย่างไรก็ดี กำหนดการที่สหรัฐฯจะขึ้นภาษีสินค้านำเข้าจีนรอบใหม่อีก 15% มูลค่ารวมกว่า 1.5 แสนล้านเหรียญ มีกำหนดการในวันที่ 15 ธ.ค. นี้
· เมื่อวานนี้ นายสตีเวน มนูชิน รัฐมนตีกระทรวงการคลังสหรัฐฯ เผยว่า การเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีนกำลังไปด้วยดีสำหรับการร่างข้อตกลง “เฟส 1” สำหรับประธานาธิบดีสหรัฐฯและจีน เพื่อให้เกิดการร่วมลงนามกันในเดือนหน้า ขณะที่เขาเตรียมเดินทางไปยังจีนเพื่อหารืออีกครั้งหากจำเป็น
· นายเดวิด มัลพาส ประธานธนาคารโลก หรือ World Bank กล่าวให้สัมภาษณ์ก่อนเริ่มการประชุมประจำปีของธนาคารโลก และไอเอ็มเอฟ โดยกล่าวว่า อาจมีการปรับลดแนวโน้มการเติบโตทางเศรษฐกิจโลกอีกครั้ง หลังจากที่ได้ทำการปรับลดคาดการณ์ไปในเดือนมิ.ย. โดยเขาระบุถึงความไม่แน่นอนของข้อตกลงการค้า และเม็ดเงินลงทุน พร้อมกันนี้ เขาเรียกร้องให้สหรัฐฯและจีนร่วมมือการหาทางแก้ไข Trade War ที่เกิดขึ้น
ทั้งนี้ ธนาคารโลกเคยปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจในเดือนมิ.ย. ของปีนี้ลง 0.3% สู่ระดับ 2.6% ซึ่งเป็นระดับการขยายตัวเดียวกันในปี 2016
ขณะที่ ไอเอ็มเอฟ มีการเปิดเผยรายงานคาดการณ์เศรษฐกิจใหม่เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา โดยระบุถึงการเติบโตทางเศรษฐกิจโลกที่กำลังดิ่งลงสู่ระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ปี 2008-2009 ในช่วงเกิดวิกฤตทางการเงิน อันเป็นผลจากข้อขัดแย้งทางการค้า
· รายงานจาก ไอเอ็มเอฟ เมื่อวานนี้ เผยว่า ความตึงเครียดทางการระหว่างสหรัฐฯและจีน ดูจะสร้างความเสี่ยงให้แก่เศรษฐกิจโลก รวมทั้งตลาดการเงิน และสร้างความเสียหายให้แก่ประเทศเศรษฐกิจของกลุ่มตลาดเกิดใหม่ด้วย โดยเป็นผลสะท้อนในเชิงโดมิโน สำหรับประเทศเศรษฐกิจขนาดเล็กกว่า
· รายงานแนวโมเศรษฐกิจของเฟด ระบุว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯขยายตัวได้ในระดับปานกลางในช่วงเดือนก.ย. จนถึงต้นเดือนต.ค. แต่หลายๆบริษัทก็มีการปรับลดมุมมองการขยายตัวลงมากขึ้น โดยรายงานล่าสุดถือเป็นสัญญาณของผลกระทบจากนโยบายการค้าสหรัฐฯที่บั่นทอนการเติบโตของเศรษฐกิจภายในประเทศ โดยภาคธุรกิจมีการหดตัวลงกว่าที่คาด และหลายๆบริษัทดูจะหั่นแนวโน้มการขยายตัวในช่วง 6 – 12 เดือน
· นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ กล่าวเมื่อวานนี้ว่า การเพิ่มภาษีสินค้านำเข้ายุโรปอาจไม่เกิดขึ้นหากสามารถเกิดการแก้ไขปัญหาได้ทันทีระหว่างสหรัฐฯและยุโรป และเขาเองก็ยังไม่พร้อมจะทำการเพิ่มภาษีใดๆกับทางยุโรป
ทั้งนี้ รายงานจากรอยเตอร์ส ระบุว่า นายทรัมป์ คาดหวังจะเกิดการเจรจากับคนรุ่นใหม่ของยุโรปเกี่ยวกับปัญหาการค้า และแสดงความคาดหวังว่าการหารือร่วมกันอาจประสบความสำเร็จ ขณะที่ประธานาธิบดีอิตาลี เรียกร้องให้นายทรัมป์หลีกเลี่ยงการขึ้นภาษีสินค้าระหว่างกัน โดยหวังว่าทั้งสองฝ่ายจะร่วมมือกันทางการค้าได้ และหลีกเลี่ยงการตอบโต้ทางภาษีซึ่งกันและกัน
· รัฐมนตรีกระทรวงวัฒนธรรมอังกฤษ เผยว่า ณ ขณะนี้ดูจะเป็นโอกาสดีที่จะเห็นอังกฤษและอียูสามารถบรรลุข้อตกลงร่วมกันได้ แต่ก็ยังไม่มีข้อตกลงหรือการประกาศข้อตกลงใดๆ ดังนั้น โอกาสในเวลานี้ที่หลายๆฝ่ายมองก็อาจไม่เกิดขึ้นได้ ซึ่งทุกคนควรรอคอยผลที่ชัดเจน
· เจ้าหน้าที่อาวุโสของธนาคารกลางออสเตรเลีย กล่าวว่า ภาคอสังหาริมทรัพย์ของออสเตรเลียปรับตัวลงโดยได้รับผลกระทบจากการอุปโภคบริโภคของภาคครัวเรือน และถือเป็นปัจจัยใหญ่ที่ฉุดรั้งการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ขณะที่เงินเฟ้อดูจะมีแนวโน้มชะลอตัวต่อ แม้ว่าจะเห็นการปรับลดดอกเบี้ยจากธนาคารไปแล้วถึง 3 ครั้ง
· น้ำมันดิบปิดปรับขึ้นจากความคาดหวังที่ว่ากลุ่มโอเปกและประเทศพันธมิตรที่ผลิตน้ำมันรายใหญ่ส่งสัญญาณจะจำกัดภาวะอุปทานต่อในการประชุมเดือนธ.ค. ขณะที่ดอลลาร์อ่อนค่า และมีการปิดสถานะ Short ก่อนทราบการประกาศรายงานสต็อกน้ำมันดิบสหรัฐฯ
น้ำมันดิบ Brent ปิดปรับขึ้น 68 เซนต์ หรือ +1.16% ที่ระดับ 59.42 เหรียญ/บาร์เรล ทางด้านน้ำมันดิบ WTI ปิดปรับขึ้น 55 เซนต์ หรือ +1.04% ที่ระดับ 53.36 เหรียญ/บาร์เรล
ภาพรวมตลาดน้ำมันถูกจำกัดการปรับขึ้นหลังทราบรายงานสต็อกน้ำมันดิบสหรัฐฯที่ออกมาเพิ่มขึ้นกว่าที่คาด โดยสถาบัน API เผยข้อมูลน้ำมันในสัปดาห์ที่แล้วปรับขึ้นแตะ 432.5 ล้านบาร์เรล ภาพรวมตลาดรอคอยข้อมูลจากรัฐบาลสหรัฐฯหรือกระทรวง EIA คืนนี้ ที่ถูกคาดว่าจะเห็นการปรับขึ้นประมาณ 2.8 ล้านบาร์เรล ในสัปดาห์ที่ผ่านมา
การประชุมโอเปกมีกำหนดการจะจัดขึ้นร่วมกับกลุ่มผู้ผลิตน้ำมันนอกโอเปก ระหว่าง 5 – 6 ธ.ค. ณ กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรเลีย เพื่อปรับทบทวนเรื่องนโยบายการผลิตน้ำมัน