ดัชนีเซี่ยงไฮ้คอมโพสิตปิดทรงตัว ขณะที่ดัชนีนิกเกอิเปิด +0.1% ทางด้านKoospi ปิดอ่อนตัวลง และ HSI ปิด +0.8% หลังจากที่ช่วงต้นตลาดพุ่งไปกว่า +1.1% จากการที่หุ้นกลุ่มเรียลเอสเตทท์ฟื้นตัวตอบรับกับการที่ นางแครี่ ลาม ผู้ว่าการเขตปกครองพิเศษฮ่องกง เผยถึงมาตรการผ่อนคลายกฎหมายการจดจำนอง รวมทั้งการสนับสนุนการซื้อที่อยู่อาศัย
· ตลาดหุ้นญี่ปุ่นปรับตัวลดลง ท่ามกลางแรงเทขายทำกำไร หลังจากปรับตัวสูงขึ้นทำระดับสูงสุดมากกว่า 10 เดือน เนื่องจากเหล่านักลงทุนรอคอยสัญญาณการเจรจาทางการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีน รวมทั้งประเด็นข้อตกลง Brexit
โดยดัชนี Nikkei เพิ่มขึ้น 0.1% ที่ระดับ 22,451.86 จุด ขณะที่ดัชนี Topixลดลง 0.45% ที่ระดับ 1,624.16 จุด
ขณะทีเ่หล่านักลงทุนบางส่วนทำกำไรหลังจากที่ดัชนีปรับตัวสูงขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ก่อนหน้าฤดูการประกาศผลประกอบการกลาางปีของญี่ปุ่น
· ตลาดหุ้นจีนเคลื่อนไหวทรงตัว ท่ามกลางการซื้อขายที่เบาบาง เนื่องจากมีความระมัดระวังโดยเหล่านักลงทุนรอรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อตกลงการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐฯ
ดัชนี Shanghai Composite ลดลง 0.1% ที่ระดับ 2,977.33 จุด
· ตลาดหุ้นยุโรปปรับตัวลดลง เนื่องจากเหล่านักลงทุนยังคงมีความกังวลและรอคอยผลประชุม Brexit ในวันนี้ และวันพรุ่งนี้ ว่าจะส่งผลให้อังกฤษมีข้อตกลงการออกจากอียูภายในกำหนดเวลาหรือไม่ หรือจะเป็นการออกจากอียูแบบ No-deal หรือท้ายที่สุดจะมีการเลื่อนกำหนดเส้นตายออกไป
โดยดัชนี Stoxx600 ลดลง 0.2% ขณะที่ตลาดภูมิภาคส่วนใหญ่เคลื่อนไหวในแดนลบ
สำนักข่าวอินโฟเควสท์
- รมว.การท่องเที่ยวและกีฬา เปิดเผยว่า กระทรวงกำลังพิจารณาการออกมาตรการทางการท่องเที่ยวเพิ่มเติมมาช่วยเสริม
มาตรการ "ชิม ช้อป ใช้" ระยะที่ 2 หรือเฟส 2 โดยการออกมาตรการเสริม เช่น มาตรการร้อยเดียวเที่ยวทั่วไทย คาดว่าจะสร้างเงิน
หมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ 300-400 ล้านบาท
- ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลังเปิดเผยว่า ที่ประชุม รมว.คลังเอเปก (APEC FMM) ครั้งที่ 26 ที่ประชุมมีความ
เห็นร่วมกันว่าเศรษฐกิจของภูมิภาคเอเปกมีแนวโน้มขยายตัวชะลอลงตามภาวะเศรษฐกิจโลก แต่ความเชื่อมั่นของนักลงทุนและผู้บริโภคที่เข้ม
แข็งยังเป็นปัจจัยสนับสนุนที่สำคัญต่อการเติบโตของเอเปก และธนาคารพัฒนาเอเชีย คาดว่าเศรษฐกิจของภูมิภาคเอเปกปีนี้จะขยายตัว
3.2% ชะลอตัวลงจากปีที่ผ่านมาที่ขยายตัว 3.7%
- ประธานสภาธุรกิจตลาดทุนไทย (FETCO) กล่าวถึงภาพรวมเศรษฐกิจไตรมาส 4 ว่ามีแนวโน้มดีขึ้นกว่าไตรมาส 3 เนื่อง
จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐที่เริ่มส่งผลชัดเจนขึ้น ซึ่งช่วง 2 เดือนกว่าของปีนี้ ยังคงต้องพึ่งพาปัจจัยในประเทศเป็นหลัก โดย
ฝากความหวังว่า มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐจะช่วยให้เศรษฐกิจฟื้นขึ้นมาบ้าง ขณะที่การส่งออกในไตรมาสนี้ ก็ยังคงติดลบ
เพราะเศรษฐกิจโลกยังไม่ดีขึ้น ปัจจัยต่างประเทศยังไม่เปลี่ยนแปลง แม้จะมีข่าวดีว่าจีนและสหรัฐฯจะสามารถเจรจาตกลงกันได้ แต่ยังคง
ต้องจับตากันต่อไป