· ตลาดหุ้นเอเชียปิดแดนลบ แม้จะปรับตัวสูงขึ้นได้บ้างในช่
วงต้นตลาด หลังการประกาศ GDP จีนออกมา พบว่าเศรษฐกิจขยายตัวได้ด้วยอั
ตราที่อ่อนแอที่สุดในรอบเกือบ 3 ทตศวรรษ แม้ตลาดจะมีความเชื่อมั่นที่ดี
ขึ้น หลังจากที่อังกฤษสามารถหาข้
อตกลง Brexit ร่วมกับอียูได้ก็ตาม
โดยดัชนี MSCI ที่ไม่รวมตลาดหุ้นญี่ปุ่น ปรับลดลง 0.3% ขณะที่ดัชนีหุ้นออสเตรเลยปรับลดลง 0.52%
· ตลาดหุ้นญี่ปุ่นปรับตัวสูงขึ้
นแตะระดับสูงสุดในรอบ 10 เดือน หลังจากที่บริษัทเทคโนโลยีปรั
บตัวสูงขึ้นจากผลประกอบการที่
ออกมาแข็งแกร่งของTaiwan’s TSMC ขณะที่ณะที่ตลาดภาพรวมปรับตัวลง ทำให้เกิดแรงขายทำกำไรหลังจากข้
อมูลจีดีพีของจีนที่อ่อนแอเกิ
นคาด
โดยดัชนี Nikkri เพิ่มขึ้น 0.18% ที่ะรดับ 22,492.68 จุด ทำระดับสูงสุดใหม่นับตั้งแต่ต้นเดือนธ.ค.ที่ผ่านมา สำหรับภาพรวมรายสัปดาห์ดัชนีปรับตัวสูงขึ้น 3.18%
· ตลาดหุ้นจีนร่วงลงโดยลดลงอย่
างหนักที่สุดในรอบ 1 เดือนจนสุดสัปดาห์นี้ เนื่องจากการเติบโตของจีดีพี
ของจีน ที่อ่อนแอเกินคาดทำให้ความกั
งวลเกี่ยวกับการเติ
บโขของเศรษฐกิจ ท่ามกลางสงครามการค้าที่ยืดเยื้
อมากกว่าหนึ่งปี
ทั้งนี้ ดัชนี Shanghai Composite ลดลง 1.3% ที่ระดับ 2,938.14 จุด
· ตลาดหุ้นยุโรปปรับตัวลดลง เนื่องจากเหล่าเทรดเดอร์มองหาสั
ญญาณว่าข้อตกลง Brexit โดยดัชนี Stoxx600 ลดลง 0.4% ด้านหุ้นกลุ่มยานยนต์ลดลง 2.3% ขณะที่หุ้นกลุ่มสื่อและสาธารณู
ปโภคหุ้นเพิ่มขึ้น 0.4%
· อ้างอิงจากสำนักข่าวอินโฟเควสท์
- นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศของไทย เปิดเผยถึงกรณีที่อังกฤษและสหภาพยุโรป (อียู) สามารถบรรลุข้อตกลงฉบับใหม่ว่าด้วยการถอนตัวจากการเป็นสมาชิกอียูได้แล้วและจะต้องนำข้อตกลงดังกล่าวเสนอให้รัฐสภายุโรป และรัฐสภาอังกฤษเห็นชอบ ภายในวันที่ 19 ต.ค.นี้ เพื่อให้ทันกำหนดที่อังกฤษจะต้องออกจากการเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป ในวันที่ 31 ต.ค. 62 ว่า หากข้อตกลงฉบับนี้ ได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาของทั้งสองฝ่าย ก็จะสามารถออกจากการเป็นสมาชิกอียูได้ แต่จะมีระยะเวลาเปลี่ยนผ่านจนถึงสิ้นปี 63 ก่อนที่อังกฤษจะแยกตัวออกจากอียูอย่างสมบูรณ์
- สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมเดือนก.ย.62 อยู่ที่ระดับ 92.1 ลดลงจากเดือนส.ค.ซึ่งอยู่ที่ระดับ 92.8 โดยดัชนีฯ ปรับลดลงต่ำสุดในรอบ 12 เดือน นับตั้งแต่ ต.ค.62 เนื่องจากผู้ประกอบการยังมีความกังวลต่อสถานการณ์เศรษฐกิจโลก และเศรษฐกิจภายในประเทศที่ยังคงชะลอตัว
ทั้งนี้ ผู้ประกอบการส่วนใหญ่กว่า 70% ยังกังวลปัญาหาสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนที่ยังไม่มีท่าจะคลี่คลายลง นอกจากนี้ผู้ประกอบการกว่า 50% กังวลเรื่องเงินบาทที่แข็งค่าต่อเนื่อง โดยในเดือนก.ย.62 เงินบาแข็งค่าแตะระดับต่ำสุดที่ 30.76 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่ากว่า 5% เมื่อเทียบกับก.ย.61 ทำให้ผู้ประกอบการส่งออกได้รับผลกระทบ ขณะที่ราคาขายปลีกน้ำมันภายในประเทศที่ปรับเพิ่มขึ้น ส่งผลกระทบต่อต้นทุนการดำเนินธุรกิจด้วยเช่นเดียวกัน