· ตลาดหุ้นสหรัฐฯปิดแดนลบในคืนวันศุกร์ ท่ามกลางหุ้น Boeing และJohnson & Johnson ที่ปรับลดลงอย่างหนัก ขณะที่หุ้น Netflix ปรับลดลง ก็เป็นปัจจัยกดดันหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีในภาพรวม
ทั้งนี้ ดัชนีดาวโจนส์ปิด -255.68 จุด หรือ 0.95% ที่ระดับ 26,770.20 จุด โดยหุ้น Boeing ปรับลดลงถึง -6.8% นับเป็นอัตราปรับลดลงรายวันที่มากที่สุดนับตั้งแต่เดือน ก.พ. ปี 2016 หลังมีรายงานว่า Boeing อาจมีระบบตรวจสอบความปลอดภัยเครื่องบินรุ่น 737 Max ที่บกพร่อง ขณะที่หุ้น Johnson & Johnsonปรับลดลง 6.2% หลังมีรายงานว่า ทางบริษัทเรียกคืนแป้งฝุ่นสำหรับเด็กทารก หลังตรวจสอบพบแร่ใยหินปนเปื้อนในแป้งฝุ่นที่เป็นต้นเหตุของโรคปอด
การปรับลดลงของดัชนีดาวโจนส์เมื่อวันศุกร์ ทำไมภาพรวมรายสัปดาห์ของดัชนีปิด -0.2% แม้ว่าในช่วงต้นสัปดาห์ดัชนีจะปรับสูงขึ้นมาได้ก็ตาม
ด้านดัชนี S&P 500 ปิด -0.4% ที่ระดับ 2,986.20 จุด ขณะที่ดัชนี Nasdaq ปิด -0.8% ที่ระดับ 0.8% ส่วนหุ้นรายใหญ่อย่าง Netflix ปรับลดลงกว่า 6%, Facebook ลดลง 2.2%, Amazon ปรับลดลง 1.6% และ Alpahabet ปรับลดลง 0.4%
· ตลาดหุ้นยุโรปปิดในแดนลบ ท่ามกลางกลุ่มนักลงทุนที่ยังจั
บตาความคืบหน้าของกรณี Brexit ว่าข้อตกลงจะผ่านการลงมติในรั
ฐสภาไปได้หรือไม่ โดยดัชนีStoxx 600 ปิด -1.15% นำโดยหุ้นกลุ่มยานยนต์ที่ลดลง 1.45% ขณะที่หุ้นกลุ่มทรัพยากรพื้
นฐานปรับสูงขึ้น 0.33%
· ตลาดหุ้นเอเชียเปิดผสมผสาน ท่ามกลางความไม่แน่นอนของกรณี Brexit ในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา
โดยในภาพรวม ดัชนี MSCI ที่ไม่รวมตลาดญี่ปุ่น เปิดค่อนข้างทรงตัว ส่วนในตลาดญี่ปุ่น ดัชนี Nikkei เปิด +0.19% ขณะที่ดัชนี Topix เปิด +0.35% ทางด้านดัชนี Kospi ของเกาหลีใต้เปิด +0.2% ขณะที่ดัชนี ASX 200 ของออสเตรเลียเปิด -0.29%
· อ้างอิงจากสำนักข่าวอินโฟเควสท์
- นักบริหารการเงินประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทในสัปดาห์นี้ไว้ที่ระหว่าง 30.20-30.40 บาท/ดอลลาร์
- สถานการณ์โดยรวมของเศรษฐกิจไทยในเวลานี้ เรียกว่ายังไม่เห็นทิศทางของการฟื้นตัวที่ชัดเจน ทั้งเรื่องการส่งออก เรื่องสงครามการค้าที่ยังไม่ได้ข้อยุติ และค่าเงินบาทที่แข็งค่าในภูมิภาค ทั้งหมดล้วนส่งผลกระทบโดยเฉพาะต่อเศรษฐกิจที่พึ่งพาการส่งออกเป็นเครื่องยนต์หลัก ซึ่งเมื่อภาวะเศรษฐกิจโตต่ำกว่าที่คาดการณ์ จึงส่งผลมายังตลาดหุ้นที่ยังคงซึมเซา แกว่งตัวใน กรอบแคบๆ และวอลุ่มที่ไม่หนาตามากนัก
โดยในมุมมองของสถาบันวิจัยต่างๆ ก็มีการวิเคราะห์เกี่ยวกับปัจจัยต่างๆ ของเศรษฐกิจไทย เพื่อมาทบทวนทิศทางตลาด และแผนการลงทุนที่แม่นยำที่สุด โดยศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS แบงก์กรุงไทย (KTB) มองค่าเงินบาทปีหน้าจ่อหลุด 28 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ หากสงครามการค้ายืดเยื้อ คาดหุ้นไทยปีนี้แตะ 1,710 จุด ส่วนปีหน้าแตะ 1,760 จุด กลยุทธ์ลงทุนแนะลงทุนในสินทรัพย์ทางเลือกอย่างอินฟราฯ, รีท มากขึ้น มองหุ้นแบงก์และอสังหาริมทรัพย์ยังน่าสนใจ
- สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมเดือนก.ย.62 อยู่ที่ระดับ 92.1 ลดลงจากเดือนส.ค.ซึ่งอยู่ที่ระดับ 92.8 โดยดัชนีฯ ปรับลดลงต่ำสุดในรอบ 12 เดือน นับตั้งแต่ ต.ค.62 เนื่องจากผู้ประกอบการยังมีความกังวลต่อสถานการณ์เศรษฐกิจโลก และเศรษฐกิจภายในประเทศที่ยังคงชะลอตัว