· ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากผลประกอบการภาคบริษัทและการหยุดยิงทางตอนเหนือของซีเรียช่วยหนุนความเชื่อมั่นการลงทุน
แม้ว่าประเด็นการเจรจาทางการค้าสหรัฐฯ-จีนและความไม่แน่นอนของ Brexit นั้นเป็นปัจจัยที่กดดันความต้องการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงก็ตาม
โดยดัชนี MSCI ที่ไม่รวมหุ้นญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น 0.3% ขณะที่ดัชนี Nikkei เพิ่มขึ้น 0.55% หลังจากที่ปรับตัวสูงขึ้นไปแตะระดับสูงสุดในรอบ 1 ปี ด้านหุ้นออสเตรเลียเพิ่มขึ้น 0.3%
ความต้องการสินทรัพย์เสี่ยงเพิ่มสูงขึ้น หลังจากที่นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีโดนัลด์ เปิดเผยว่า สหรัฐฯ ยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรตุรกี ที่ออกเพื่อลงโทษกรณียกทัพโจมตีชาวเคิร์ดในภาคเหนือของซีเรีย หลังจากตุรกีบรรลุข้อตกลงกับรัสเซีย เพื่อขยายเวลาหยุดยิงในซีเรียออกไปอีก โดยนายทรัมป์ระบุว่า ข้อตกลงนี้เป็นความสำเร็จครั้งใหญ่
· ตลาดหุ้นญี่ปุ่นปรับตัวสูงขึ้นทำระดับสูงสุดในรอบมากกว่า 1 ปี โดยได้แรงหนุนจากตลาดหุ้นสหรัฐที่ปิดในแดนบวกเมื่อคืนนี้ หลังจากบริษัทจดทะเบียนเปิดเผยผลประกอบการที่สดใส
โดยดัชนี Nikkei เพิ่มขึ้น 0.55% ที่ระดับ 22,750.60 จุด หลังจากช่วงก่อนหน้าขึ้นไปทำระดับสูงสุดที่บริเวณ 22,780.99 จุด ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่ 18 ต.ค.ปี 2018 ที่ผ่านมา
ซึ่งตลาดหุ้นปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องติดต่อกัน 4 วันทำการ เนื่องจากนักลงทุนที่เพิ่งเทขายหุ้นเทคโนโลยีของญี่ปุ่นกลับกลายเป็นนักต่อรองราคาหลังจากที่Microsoft Corp คาดการณ์ยอดขายที่สูงเกินคาดสำหรับบริการคลาวด์คอมพิวติ้ง
ทั้งนี้ค่าเงินเยนปรับอ่อนค่าลงเล็กน้อย จึงช่วยหนุนหุ้่นกลุ่มส่งออกของญี่ปุ่น
· ตลาดหุ้นจีนเคลื่อนไหวทรงตัว เนื่องจากเหล่านักลงทุนรอคอยการประชุมครั้งสำคัญของเจ้าหน้าที่ระดับสูงของพรรคคอมมิวนิสต์จีน ในเดือนต.ค.นี้ เพื่อหารือเกี่ยวกับการปรับปรุงการบริหารงานและแก้ไขระบบสังคมนิยมของประเทศจีนให้มีความสมบูรณ์ที่สุด ขณะที่ประเทศกำลังเผชิญกับปัญหาต่าง ๆ ตั้งแต่เศรษฐกิจชะลอตัวจนถึงความไม่สงบในฮ่องกง
โดยดัชนี Shanghai Composite ทรงตัวบริเวณ 2,940.92 จุด
· ตลาดหุ้นยุโรปปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากเหล่าเทรดเดอร์ยังคงให้ความสนใจไปยังความไม่แน่นอนของข้อตกลง Brexit ท่ามกลางช่วงประกาศผลประกอบการภาคบริษัท
โดยดัชนี Stoxx600 เพิ่มขึ้น 0.3% ขณะที่หุ้นยานยนต์เพิ่มขึ้น 1.1% ด้านหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีลดลง 1%
สำนักข่าวอินโฟเควสท์
-นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการ รฟท. กล่าวว่า การลงนามสัญญาครั้งนี้ถือเป็นอีกก้าวสำคัญของการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศไทย ภายใต้การกำกับดูแลอย่างรัดกุมของคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก และนับเป็นครั้งแรกของรัฐบาลที่ได้ผลักดันโครงการรถไฟความเร็วสูงในรูปแบบการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน (PPP Net Cost) ที่มีมูลค่าสูงถึง 224,544 ล้านบาท โดยที่ประเทศไทยได้ประโยชน์สูงสุดจากข้อตกลงสัญญาสัมปทานโดยมีกรอบวงเงินที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติ 119,425 ล้านบาท (มูลค่าปัจจุบัน) ปรากฎว่ากลุ่มเอกชนเสนอกรอบวงเงินที่รัฐร่วมลงทุน 117,226 ล้านบาท (มูลค่าปัจจุบัน) ส่งผลให้รัฐประหยัดค่าใช้จ่ายได้ถึง 2,200 ล้านบาท ภายใต้สัญญาร่วมลงทุน 50 ปี อีกทั้งทรัพย์สินทั้งหมดจะเป็นกรรมสิทธิ์ของรัฐเมื่อสิ้นสุดสัญญา
สำหรับโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน มีแนวเส้นทางเชื่อมโยงท่าอากาศยานสำคัญของประเทศ โดยเริ่มต้นที่ท่าอากาศยานดอนเมือง วิ่งตรงเข้าสู่สถานีกลางบางซื่อ ผ่านสถานีมักกะสัน เลี้ยวเข้าสู่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ มุ่งหน้าต่อไปตามแนวทางรถไฟสายตะวันออก ผ่านแม่น้ำบางปะกง เข้าสู่สถานีฉะเชิงเทรา สถานีชลบุรี สถานีศรีราชา สถานีพัทยา และเข้าสู่ท่าอากาศยานอู่ตะเภาเป็นสถานีสุดท้าย ระยะทางรวม 220 กิโลเมตร (กม.) โดยขบวนรถสามารถทำความเร็วสูงสุดได้ถึง 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
-นายกกิตติมศักดิ์สมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร กล่าวถึงกรณีกระทรวงการคลังออกมาตรการลดภาระให้กับผู้ซื้อที่อยู่อาศัย
ว่า เชื่อว่ามาตรการที่ออกมาจะมีผลดีค่อนข้างมากต่อภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และภาคธุรกิจที่เชื่อมโยงเนื่องจากรัฐบาลมีการขยาย
ระยะเวลา โดยนับตั้งแต่วันที่ประกาศกระทรวงมหาดไทยมีผลบังคับใช้ถึงวันที่ 24 ธันวาคม 2563 จากครั้งเดิมที่กำหนดระยะเวลา
เพียง 6 เดือน ดังนั้นระยะเวลารวม 1 ปี จะมีปัจจัยดีใน 2 ส่วน โดยส่วนที่ 1 คือ ช่วยกระตุ้นตลาด ในการจำหน่ายอสังหาริม
ทรัพย์ที่ค้างสต๊อกออกไปได้
-"สมคิด" เห่กล่อม 500 นักลงทุนเสิ่นเจิ้นที่เป็นอันดับหนึ่งด้านเทคโนโลยีระดับโลกเข้ามาหาโอกาสลงทุนที่ดีที่สุดในประเทศ
ไทย "กอบศักดิ์" สำทับจีนจะย้ายฐานทั้งทีเหมือนแต่งงาน ต้องเลือกคนที่ใช่ ลุ้นวันที่ 25 ต.ค.นี้ ธนาคารโลกประกาศอันดับ อำนวยความ
สะดวกธุรกิจ Doing Business ขยับดีขึ้นแน่ "สุริยะ" เผยต่างชาติเชื่อมั่น "เมดอินไทยแลนด์" พร้อมจัดหานิคมฯรองรับนักลงทุน