· ตลาดหุ้นสหรัฐฯปิดปรับตัวสูงขึ้นหลังจากที่สหรัฐฯมีการเปิดเผยว่าเข้าใกล้การบรรลุขั้นสุดท้ายของข้อตกลงเฟสแรกกับทางจีน ประกอบกับตลาดตอบรับรายงานผลประกอบการที่แข็งแกร่งจึงช่วยหนุนความเชื่อมั่นผู้บริโภค และทำให้ดัชนี S&P500 ปิดทำระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในรอบ 3 เดือนบริเวณ 3,022.55 จุด หรือปิด +0.41% ทางด้านดัชนีดาวโจนส์ปิด +152.53 จุด หรือ +0.57% ที่ระดับ 26,958.06 จุด และดัชนี Nasdaq ปิด +0.7% ที่ระดับ 8,243.12 จุด
· ตลาดหุ้นยุโรปปิดปรับขึ้นหลังจากที่ทราบรายงานผลประกอบการล่าสุด ประกอบกับตลาดจับตาความชัดเจนของ Brexit และข้อตกลงการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีน โดยดัชนี Stoxx600 ปิด +0.12% ท่ามกลางหุ้นกลุ่มค้าปลีกที่ปรับขึ้นกว่า 1.1% จึงชดเชยการปรับลงของหุ้นกลุ่มอาหารและเครื่องดื่มที่ปิด -1.7%
· ตลาดหุ้นเอเชียเปิดบวกตอบรับการที่สหรัฐฯและจีนมีความคืบหน้าในการทำข้อตกลงการค้าเฟสแรกมากขึ้น โดยดัชนี S&P/ASX200 เปิด +0.24% ทางด้านดัชนีนิกเกอิเช้านี้เปิด +0.3% และดัชนี Kospi ของเกาหลีใต้เปิด +0.61%
ตลาดสิงคโปร์, อินเดีย, มาเลเซีย และนิวซีแลนด์ ปิดทำการในวันนี้
ภาพรวมดัชนี MSCI ที่ไม่รวมญี่ปุ่นเปิด +0.14%
· อ้างอิงจากสำนักข่าวอินโฟเควสท์
- นักบริหารเงินคาดว่าสัปดาห์นี้ค่าเงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 30.15 – 30.25 บาท/ดอลลาร์ โดยเงินบาทภาพรวมยังเป็นผู้นำแข็งค่าในภูมิภาค และมีการทำสถิติใหม่ในรอบกว่า 6 ปี นับตั้งแต่ 31 พ.ค. 2556 โดยมีสาเหตุหลักจากการที่เงินบาทหลุดแนวรับสำคัญ ขณะที่ปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ การประชุมเฟด 29-30 ต.ค., ความคืบหน้าการค้าสหรัฐฯ-จีน, การประชุม BOJ และความชัดเจนของ Brexit
- ศูนย์วิจัยกสิกรไทย รายงานความเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทว่า เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา เงินบาทแตะระดับแข็งค่าสุดในรอบกว่า 6 ปีครั้งใหม่ โดยเงินบาทแข็งค่าขึ้นในช่วงต้นสัปดาห์สอดคล้อง กับทิศทางของสกุลเงินอื่นๆ ในเอเชียและสถานะซื้อสุทธิพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติ ขณะที่เงินดอลลาร์ฯ เผชิญแรงขายต่อเนื่อง หลังจากข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่มีสัญญาณอ่อนแอตอกย้ำโอกาสการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐฯ ในช่วงปลายเดือนตุลาคมนี้ เงินบาทเพิ่มช่วงบวกและทำสถิติแข็งค่าสุดในรอบกว่า 6 ปี ครั้งใหม่ที่ 30.16 บาทต่อดอลลาร์ฯ ท่ามกลางแรงหนุนจากปัจจัยทางเทคนิคหลังเงินบาทแข็งค่าทะลุแนว 30.20 บาทต่อดอลลาร์ฯ ได้ในช่วงปลายสัปดาห์
"แนวโน้มค่าเงินบาทอาจจะแข็งค่า แตะระดับ 28-29 บาทต่อดอลลาร์ ได้ การแข็งค่าในระดับดังกล่าวจะไม่เป็นผลดีต่อภาคการส่งออก การจ้างงานการขยายตัวทางเศรษฐกิจโดยรวม มีความจำเป็นที่ธปท.อาจต้องนำผลการศึกษา เรื่องการนำเอาทุนสำรองระหว่างประเทศ จำนวนหนึ่งมาจัดตั้ง กองทุนเพื่อความมั่งคั่ง แห่งชาติ ที่เคยทำไว้กลับมาพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง" ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเศรษฐกิจฯ มหาวิทยาลัยรังสิต ในฐานะ อดีตกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) กล่าว
- รองผู้อำนวยการฝ่ายเอเชียและแปซิฟิก กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ประเมินว่า ในปีนี้เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวได้ 2.9% ซึ่งเป็นการปรับประมาณการลดลงจากเดิมที่เคยประเมินไว้เมื่อเดือน เม.ย.62 ที่ระดับ 3.5% เนื่องจากผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกชะลอตัวจากผลของสงครามการค้าระหว่างสหรัฐและจีน รวมถึงปัญหาด้านภูมิรัฐศาสตร์ ขณะที่ปี 63 คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวได้ราว 3%
- รมว.พาณิชย์ กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนด้านการพาณิชย์ (กรอ. พาณิชย์) ว่า ได้มีการแลกเปลี่ยนความเห็นระหว่างกระทรวงพาณิชย์หน่วยงานภาคราชการที่เกี่ยวข้องและภาคเอกชน ในประเด็นสำคัญ คือ การเพิ่มตัวเลขการส่งออก ภายใต้สถานการณ์ที่ได้รับผลกระทบสงครามการค้า Brexit และ เรื่องค่าเงินบาทที่แข็งขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งได้ข้อสรุปร่วมกันว่าอย่างน้อยในช่วงระยะเวลาถ้าจากนี้ไปจะบุกตลาดไปด้วยกันทั้งภาครัฐและเอกชนใน10 ตลาดใหญ่ที่เห็นว่ามีศักยภาพ ประกอบด้วยตลาดจีน อินเดีย ตุรกี เยอรมัน ศรีลังกา บังคลาเทศ ตะวันออกกลาง แอฟริกาใต้ อังกฤษ ยุโรป เป็นต้น