· ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวสูงขึ้นแตะระดับสูงุสดในรอบ 3 เดือน เนื่องจากสินทรัพย์เสี่ยงได้รับแรงหนุนจากความหวังของข้อตกลงการค้าระหว่างสหรัฐฯกับจีนในเดือนหน้า ขณะที่ค่าเงินดอลล่าร์เริ่มชะลอตัวเพื่อจับตาการประชุมเฟดในช่วงสิ้นเดือนนี้
โดยดัชนี MSCI ที่ไม่รวมหุ้นญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น 0.3% ซึ่งเพิ่มขึ้นติดต่อกัน 3 วันทำการ
การเพิ่มขึ้นของตลาดหุ้นได้รับแรงหนุนจากตลาดหุ้นยุโรปและตลาดหุ้นสหรัฐฯเมื่อคืนที่ผ่านมา ขณะที่เหล่านักลงทุนกำลังรอคอยการประกาศผลประกอบการบริษัท Alphabet Inc (GOOGL.O), Apple (AAPL.O), Facebook (FB.O) และExxon (XOM.N).
สำหรับเหตุการณ์สำคัญในช่วงปลายสัปดาห์นี้ คือ การประชุมเฟดประจำเดือนต.ค.ซึ่งตลาดคาดว่าเฟดจะทำการปรับลดดอกเบี้ยในการประชุมครั้งนี้ และมีการประชุมบีโอเจในวันพฤหัสบดี ขณะที่ในวันศุกร์จะมีการเปิดเผยตัวชี้วัดสำหรับการผลิตของจีนและสหรัฐฯ
· ตลาดหุ้นญี่ปุ่นปรับตัวสูงขึ้
นทำระดับสูงสุดในรอบ 1 ปี ท่ามกลางเหล่านักลงทุนย้
ายการลงทุนออกจากหุ้นที่เคลื่
อนไหวตามกระแสอุปสงค์ เข้าสู่กลุ่มหุ้นวัฏจักร ท่ามกลางความคาดหวังว่าจะเห็นข้
อตกลงการค้าเกิดขึ้น
โดยดัชนี Nikkei เพิ่มขึ้น 0.30% ที่ระดับ 22,867.27 จุด แตะระดับสูงสุดในรอบ 1 ปี ขณะที่ดัชนี Topix เพิ่มขึ้น 0.09% ที่ระดับ 1,648.43 จุด
ทั้งนี้ ความเชื่อมั่นของเหล่านักลงทุนได้รับแรงหนุนจากรัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์จีน เผยว่า นายหลิว เห่อ รองนายกรัฐมนตรีจีน ได้มีการพูดคุยผ่านทางโทรศัพท์กับเจ้าหน้าที่ตัวแทนการค้าของสหรัฐฯ โดยทั้งสองประเทศมีการยืนยันถึงการพูดคุยว่ามีความคืบหน้ามากขึ้น และข้อตกลงเฟสแรกบางส่วนตกลงกันได้โดยสมบูรณ์
· ตลาดหุ้นจีนปิดปรับตัวสูงขึ้น โดยได้รับแรงหนุนจากหุ้นกลุ่
มเทคโนโลยีหลังจากที่รัฐบาลจี
นให้คำมั่นว่าจะให้การสนับสนุ
นแก่ภาคส่วนมากขึ้น ท่ามกลางความหวังเกี่ยวกั
บการเจรจาทางการค้าระหว่างสหรั
ฐฯ-จีน
โดยดัชนี Shanghai Composite เพิ่มขึ้น 0.9% ที่ระดับ 2,980.05 จุด
· ตลาดหุ้นยุโรปเคลื่อนไหวผสมผสาน เนื่องจากเหล่าเทรดเดอร์กำลั
งรอคอยข้อตกลงการเลื่
อนกำหนดเวลา Brexit ออกไปจากกำหนดการเดิม 31 ต.ค. หลังจากที่นายบอริส จอห์นสัน นายกรัฐมนตรีอังกฤษล้
มเหลวในการคว้าชัยในเรื่
องกำหนดเวลาอออจากอียู รวมทั้งการประชุมเฟดในช่
วงปลายสัปดาห์นี้
โดยดัชนี Stoxx600 เคลื่อนไหวทรงตัว ด้านหุ้มกลุ่มอาหารและเครื่องดื่มลดลง 0.6% ขณะที่หุ้นกลุ่มยานยนต์เพิ่มขึ้น 0.9%
· อ้างอิงจากสำนักข่าวอินโฟเควสท์
- กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ไทย ลงพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่จัดสัมมนารับฟังความเห็นการฟื้นการเจรจาเอฟทีเอไทย-อียูเมื่อวันที่ 22 ต.ค. 62 เผยภาคเอกชนอยากให้ฟื้นเจรจาฯ ขยายตลาดสินค้าไทย หวั่นเสียโอกาสให้ประเทศอื่นที่มีเอฟทีเอกับอียูแล้ว กรมฯ เตรียมลงพื้นที่ซาวด์เสียงที่สงขลาและขอนแก่นต่อ ก่อนรวบรวมผลความเห็นเสนอ ครม. เคาะ กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ 22 ต.ค. 62
- สำนักงานเศรษฐกิจการคลังของไทย (สศค.) ปรับคาดการณ์อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (GDP) ของไทยในปี 62 ลงเหลือเติบโตราว 2.8% จากเดิมที่เคยคาดว่าจะเติบโตได้ถึง 3% เนื่องจากล่าสุดประเมินว่าการส่งออกทั้งปีนี้อาจติดลบถึงราว 2.5% มากกว่าเดิมที่คาดว่าจะติดลบราว 0.9% ขณะที่คาดว่า GDP ในช่วงครึ่งหลังของปีนี้จะเติบโตราว 3.1%
- นายกีรติ รัชโน ผู้ตรวจราชการกระทรวงพาณิชย์ รักษาราชการแทนอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ไทย กล่าวถึงกรณีที่สหรัฐฯ ประกาศระงับการให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (GSP) สินค้าไทยชั่วคราว ซึ่งจะมีผลในอีก 6 เดือนข้างหน้า โดยยืนยันว่าการระงับสิทธิ GSP สินค้าไทย 573 รายการนั้นไม่ได้หมายความว่าไทยจะไม่สามารถส่งออกสินค้าดังกล่าวไปยังสหรัฐฯได้อีก หรือไม่ได้หมายความว่าไทยจะสูญเสียมูลค่าการได้รับสิทธิ GSP ไปทั้งหมด 40,000 ล้านบาท ทั้งนี้ ไทยยังสามารถส่งออกสินค้าไปยังสหรัฐได้ตามปกติ เพียงแต่ต้องเสียภาษีในอัตราปกติ (MFN Rate) เฉลี่ยที่ประมาณ 4.5% หรือคิดเป็นมูลค่าไม่เกิน 1,800 ล้านบาท
- นายสมเด็จ สุสมบูรณ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงพาณิชย์ รักษาราชการแทนอธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กล่าวว่า กรณีที่สหรัฐฯ ประกาศตัดสิทธิประโยชน์ทางภาษีศุลกากรทางการค้า (GSP) ที่เคยให้กับสินค้าไทยบางรายการเมื่อวันที่ 25 ต.ค.ที่ผ่านมานั้น มาตรการดังกล่าวไม่น่าจะกระทบต่อเป้าส่งออกสินค้าไทยไปยังสหรัฐฯ ในปี 2562 ที่วางไว้ว่าจะขยายตัว 4% เนื่องจากสินค้าส่วนใหญ่มีคำสั่งซื้อไว้ล่วงหน้าและทยอยส่งมอบไปแล้ว ขณะที่ยอดส่งออก 9 เดือนแรกของปีนี้คิดเป็น 73-75% ของทั้งปี อย่างไรก็ตาม คาดว่าช่วงนี้ผู้นำเข้าจะเร่งซื้อสินค้าก่อนมาตรการจะมีผลบังคับใช้ อย่างไรก็ตาม กรมฯ ได้เตรียมมาตรการรองรับและเพิ่มกิจกรรมหาตลาดทดแทน พร้อมทั้งได้หารือกับภาคเอกชนเพื่อกำหนดตลาดและกิจกรรมด้วยแล้ว โดยในเบื้องต้นมี 7 มาตรการรองรับ
- พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหมของไทย กล่าวถึงกรณีสหรัฐฯเตรียมระงับการให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (จีเอสพี) สินค้าส่งออกบางประเภทจากไทย โดยอ้างเหตุผลกรณีที่รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังไม่สามารถยกระดับสิทธิแรงงานให้เทียบเท่ามาตรฐานสากล รวมถึงเสรีภาพในการชุมนุมเรียกร้องสิทธิเพื่ออำนาจการต่อรองของแรงงานว่า เป็นการพิจารณาของทางการสหรัฐฯ ซึ่งรัฐบาลรู้อยู่แล้วว่าจะมีปัญหาตรงนี้ โดยกระทรวงพาณิชย์พยายามเจรจาต่อรองมาโดยตลอด และภายใน 6 เดือนก็พยายามเจรจาต่อไป จึงไม่อยากให้มีการคาดเดาว่าปัญหามาจากสาเหตุใดจนนำไปสู่ปัญหาทางการเมือง ซึ่งต้องคำนึงถึงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศด้วย เพราะสหรัฐฯยังถือเป็นหนึ่งในประเทศคู่ค้าที่สำคัญของไทย พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า สิ่งสำคัญคือ ต้องมีการแก้ปัญหาภายในของไทยด้วย เช่น เรื่องแรงงาน ซึ่งไทยจะพยายามแก้ปัญหาให้ดีที่สุด
- บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ยืนยันไม่มีผลกระทบกับการดำเนินงานของบริษัทฯ หลังจากที่สำนักงานผู้แทนการค้าสหรัฐอเมริกา (USTR) ประกาศเพิกถอนสิทธิพิเศษภาษีศุลกากรสินค้า (GSP) สำหรับสินค้านำเข้าจากประเทศไทยไปยังประเทศสหรัฐฯ หลายรายการ ซึ่งครอบคลุมถึงสินค้าอาหารทะเลจากไทยบางรายการด้วย ทั้งนี้มาตรการดังกล่าวจะส่งผลกระทบให้ภาษีนำเข้าของสินค้าบางรายการที่ส่งออกไปยังสหรัฐฯ ปรับตัวสูงขึ้น โดยจะเริ่มบังคับใช้ใน 6 เดือนข้างหน้า เนื่องจากสินค้าอาหารทะเลหรืออาหารสัตว์ที่ไทยยูเนี่ยนจำหน่ายในประเทศสหรัฐฯ ไม่ได้อยู่ภายใต้ GSP ดังนั้นมาตรการที่ประกาศในครั้งนี้ จึงไม่มีผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจของกลุ่มบริษัทไทยยูเนี่ยน
- นายชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจธุรกิจและเศรษฐกิจฐานราก ธนาคารออมสิน เผย"ผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นเศรษฐกิจฐานราก (GSI) ประจำไตรมาส 3 ปี 62 พบว่า ดัชนี GSIไตรมาส 3 ปี 62 อยู่ที่ระดับ 44.9 ปรับเพิ่มขึ้นจากไตรมาส 2 ปี 62 ที่อยู่ระดับ 42.4 เนื่องจากประชาชนฐานรากมีการปรับตัวให้สอดรับกับภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน โดยระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้นและมีปัจจัยบวกจากผลผลิตและราคาสินค้าเกษตรที่ปรับตัวสูงขึ้นประกอบกับค่าจ้างแรงงานเฉลี่ยทั้งในภาคเกษตรกรรมและนอกภาคเกษตรกรรมเพิ่มสูงขึ้นเล็กน้อย