· เฟดในสัปดาห์นี้ ท่ามกลางกระแสคาดการณ์ที่ว่าเฟดจะตัดลดดอกเบี้ยต่อ ซึ่งถือเป็นการตอกย้ำทิศทางการผ่อนคลายทางการเงินต่อไป
ค่าเงินปอนด์ปรับอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์และยูโร จากกระแสคาดการณ์เกี่ยวกับช่วงค่ำวันนี้ว่าจะมีข้อตกลงการเลื่อนกำหนดเวลา Brexit ออกไปจากกำหนดการเดิม 31 ต.ค. หลังจากที่นายบอริส จอห์นสัน นายกรัฐมนตรีอังกฤษล้มเหลวในการคว้าชัยในเรื่องกำหนดเวลาอออกากอียู
ตลาดให้ความสำคัญกับการประชุมเฟดในวันที่ 30 ต.ค.นี้ ขณะที่บีโอเจจะมีการประชุมในวันที่ 31 ต.ค. โดยเฟดถูกคาดว่าจะเห็นการปรับลดดอกเบี้ยครั้งที่ 3 ในการประชุมวาระนี้
· ค่าเงินเยนทรงตัวที่ 108.72 เยน/ดอลลาร์ โดยปิดวันศุกร์ที่ 108.94 เยน/ดอลลาร์ ทำให้ระดับล่าสุดเป็นระดับแข็งค่าที่สุดตั้งแต่ 1 ส.ค. ในส่วนของดัชนีดอลลาร์แข็งค่าขึ้นมาเล็กน้อย 97.882 จุด โดยใกล้กับระดับสูงสุดในรอบกว่า 1 สัปดาห์
ค่าหยวนแข็งค่ากลับลงมาที่ 7.0523 หยวน/ดอลลาร์ ซึ่งเป็นแข็งค่ามากที่สุดตั้งแต่ 14 ต.ค. อย่างไรก็ดี เงินหยวนแข็งค่าลงในช่วงต้นตลาดทำแข็งค่ามากที่สุดตั้งแต่ 13 ก.ย. ที่ 7.0450 หยวน/ดอลลาร์
ค่าเงินปอนด์อ่อนค่าลง 0.17% ที่ระดับ 1.2815 ดอลลาร์/ปอนด์ ทางด้านอียูมีกำหนดการจะหารือเรื่องการขยายเวลา Brexit ออกไปให้แก่อังกฤษเป็นเวลา 3 เดือน จาก 31 ต.ค.นี้ โดยจะหารือและพิจารณาร่วมกันในวันนี้
· ทางด้านบีโอเจน่าจะคงดอกเบี้ยต่อในการประชุมสัปดาห์นี้ แต่การตัดสินใจดูจะใกล้ปรับนโยบาย เนื่องจากเศรษฐกิจได้รับผลกระทบจากแนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่ผันผวนตาม Trade War สหรัฐฯและจีน รวมทั้ง Brexit
· จับตาปัจจัยสำคัญทางเศรษฐกิจสหรัฐฯในช่วงสัปดาห์นี้
ท่ามกลางสัญญาณของสงครามการค้าที่เริ่มจะผ่อนคลายลง ขณะที่ Brexit ก็มีแนวโน้มที่จะถูกขยายเวลาออกไปอีกครั้ง ตลาดจะให้ความสำคัญกับปัจจัยทางเศรษฐกิจสัปดาห์นี้มากเป็นพิเศษ โดยเฉพาะการประชุมเฟดเดือน ต.ค. และ ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตรสหรัฐฯ
โอกาสเฟดปลดดอกเบี้ยในการประชุมเดือนนี้
ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา เฟดถูกคาดการณ์ว่าจะทำการปรับลดดอกเบี้ยในการประชุมเดือนนี้อย่างหนาแน่น เนื่องจากตลาดกังวลว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯกำลังได้รับผลกระทบจากสงครามการค้า แต่ในช่วงต้นสัปดาห์นี้ กลับมีข่าวดีเกี่ยวกับการเจรจาการค้า ส่งผลให้กระแสคาดการณ์ว่าจะเห็นเฟดลดดอกเบี้ยในการประชุมเดือนนี้เริ่มลดน้อยลงไป แต่กลับเพิ่มโอกาสที่จะเห็นเฟดปรับดอกเบี้ยในช่วงต้นปีหน้าแทน
โดยโอกาสที่เห็นเฟดคงดอกเบี้ยเดือนนี้ ตามผลสำรวจของ Daily Fx ล่าสุดอยู่ที่ 90% เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนที่ 88% เทียบกับเมื่อ 1 เดือนก่อนที่ 52% ส่วนโอกาสที่เฟดจะลดดอกเบี้ยในเดือน ม.ค. ปี 2020 เพิ่มขึ้นมาเป็น 51% และโอกาสที่จะเห็นเฟดลดดอกเบี้ยเพิ่มเติมหลังจากเดือน ม.ค. อยู่ที่ 35%
· หลังจากที่ทั้งสหรัฐฯและจีน ต่างส่งสัญญาณว่าข้อตกลงการค้าในเฟสแรกใกล้ที่จะบรรลุแล้ว เมื่อช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา และตลาดก็ต่างตอบรับในเชิงบวก นักวิเคราะห์จาก National Australia Bank มีมุมมองว่า สหรัฐฯและจีนจำเป็นต้องมีข้อตกลงการค้าร่วมกันที่ชัดเจนยิ่งกว่านี้ จึงจะสามารถช่วยฟื้นฟูความเชื่อมั่นของตลาดกลับขึ้นมาได้อย่างมั่นคง
ขณะที่นักวิเคราะห์จากสถาบัน Eastspring Investments มีมุมมองว่า สิ่งที่ตลาดต้องการมากที่สุดจากการเจรจาการค้า คือความชัดเจนว่าจะยกเลิกการขึ้นภาษีเมื่อใด รวมถึงปัญหาด้านการละเมิดลิขสิทธ์หรือการบังคับถ่ายทอดเทคโนโลยีว่าจะได้รับการแก้ไขเมื่อใด
ทั้งนี้ เชื่อว่าทั้งสองฝ่ายจะยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้ภายในสิ้นปีนี้อย่างแน่นอน
· รายงานจาก CNBC ระบุว่า บรรดาเอกอัคราชทูตในอียูจะมีการประชุมร่วมกันในวันนี้ เกี่ยวกับการขยายเวลา Brexit ให้กับอังกฤษ โดยในเบื้องต้น เอกสารประกอบการประชุมที่ลงนามเมื่อวันที่ 27 ต.ค. ที่ผ่านมา ระบุว่าทางอียูจะขยายเวลา Brexit ไปจนถึงวันที่ 31 ต.ค. และจะไม่ยอมรับการเจรจาขอขยายเวลาเพิ่มเติมอีกในอนาคต
· ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา จะเห็นได้ถึงรายงานข่าวเกี่ยวกับเหตุการประท้วงที่เกิดขึ้นทั่วทุกมุมโลก ไม่ว่าจะเป็นฮ่องกง เลบานอน ชิลี และแคว้นคาตาลันของสเปน ซึ่งทุกประเทศที่กำลังเผชิญการประท้วง มีจุดเริ่มต้นเป็นการชุมนุมเพียงกลุ่มเล็กๆเท่านั้น ก่อนที่จะเริ่มขยายตัวบานปลายจนเกิดเป็นความรุนแรงระดับประเทศ ที่สะท้อนถึงความไม่พึงพอใจของสาธารณชนต่อระบบการปกครอง ความไม่เท่าเทียม การโกงกิน และการไม่สามารถทำตามสัญญาของภาครัฐ
โดยในฮ่องกง การประท้วงเกิดขึ้นจากความไม่พอใจในนโยบายส่งตัวผู้ร้ายคดีฆาตกรรมข้ามแดน
ในเลบานอน การประท้วงเกิดขึ้นจากการขึ้นภาษี WhatsApp
ในชิลี การประท้วงเกิดขึ้นจากการขึ้นค่าโดยสารรถไฟใต้ดิน
ในแคว้นคาตาลันของสเปน แม้การประท้วงจะดำเนินมาอย่างสงบโดยตลอดช่วงไม่กี่ปีมานี้ แต่เมื่อสัปดาห์ก่อนกลับขยายตัวการเป็นความรุนแรง หลังรัฐบาลสเปนประกาศให้จำคุกผู้นำการชุมนุมปลดแอดแค้นคาตาลันทั้ง 9 คนที่พยายามปลดแอดแคว้นออกจากสเปนเมื่อปีก่อน
· เลขาธิการด้านการคลังแห่งฮ่องกง ระบุว่า เศรษฐกิจฮ่องกงได้เข้าสู่ภาวะถดถอยอย่างเต็มตัว หลังจากที่เผชิญการชุมนุมประท้วงต่อเนื่องถึง 5 เดือน และยังไม่สัญญาณที่จะคลี่คลายลงโดยเร็ว ขณะที่การประกาศยอด GDP รายไตรมาสวันพฤหัสบดีนี้ มีแนวโน้มที่จะออกมาชะลอตัวติดต่อกันเป็นไตรมาสที่ 2 ซึ่งจะทำให้ภาครัฐไม่สามารถบรรลุเป้าหมายการเติบโตของเศรษฐกิจรายปีได้
· IMF คาดการณ์ยอดขาดดุลของอิหร่านว่าจะมียอดขาดดุลในปีนี้อยู่ที่ 4.5% และ 5.1% สำหรับปีหน้า ท่ามกลางการถูกสหรัฐฯคว่ำบาตรการส่งออกน้ำมัน ซึ่งการที่อิหร่านจะสามารถปรับสมดุลของดุลการค้ากลับมาในภาวะปกติได้ ราคาน้ำมันจะต้องขึ้นไปสูงถึง 194.6 เหรียญ/บาร์เรล เมื่อพิจารณาจากการค้าของประเทศที่พึ่งพาการส่งออกน้ำมันเป็นหลัก
· นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ส่งสัญญาณว่า เขาต้องการทำข้อตกลงกับ ExxonMobil หรือบรรดาบริษัทน้ำมันรายใหญ่ในสหรัฐฯ เพื่อขยายฐานการผลิตน้ำมันออกไปสู่คลังน้ำมันของซีเรีย
· ราคาน้ำมันปรับตัวลดลงหลังจากที่ปรับสูงขึ้นเมื่อสัปดาห์ ท่ามกลางตัวเลขเศรษฐกิจจีนที่ประกาศออกมาบ่งชี้ถึงการชะลอตัวของเศรษฐกิจ แม้จะมีแรงหนุนราคาน้ำมันบางส่วนจากสัญญาณเชิงบวกของการเจรจาการค้าก็ตาม
โดยราคาน้ำมันดิบ Brent ปรับลดลง 0.4% แถว 61.76 เหรียญ/บาร์เรล หลังจากที่ปรับสูงขึ้นได้ 4% ในภาพรวมสัปดาห์ก่อน ซึ่งการปรับขึ้นที่มากที่สุดนับตั้งแต่วันที่ 20 ก.ย.
ขณะที่ราคาน้ำมันดิบ WTI ปรับลดลง 0.5% แถว 56.39 เหรียญ/บาร์เรล หลังจากที่ปรับสูงขึ้นได้ 5% ในภาพรวมสัปดาห์ก่อน ซึ่งการปรับขึ้นที่มากที่สุดนับตั้งแต่วันที่ 20 ก.ย.