· ดัชนี S&P500 พุ่งขึ้นทำระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์เมื่อวานนี้ ขณะที่ดัชนี Nasdaq ก็ปิดบวกเช่นกันทำระดับสูงสุดตั้งแต่ช่วงปลายเดือนก.ค. อันเป็นผลจากถ้อยแถลงของสหรัฐฯและจีนที่ช่วยหนุนความคาดหวังที่จะเห็นความเป็นไปได้ของข้อตกลงการค้ามากขึ้น ท่ามกลางกลุ่มนักลงทุนที่ก็ยังรอคอยว่าเฟดจะปรับลดดอกเบี้ยเช่นไรในการประชุมครั้งนี้
ดัชนีดาวโจนส์ปิดปรับขึ้น 132.25 จุด หรือ +0.49% ที่ระดับ 27,090.31 จุด ทางด้าน S&P500 ปิด +0.56% ที่ 3,039.34 จุด และดัชนี Nasdaq ปิด +1.01% ที่ 8,325.99 จุด
· หุ้นยุโรปปิดบวกโดย Stoxx600 ปิด +0.3% ขณะที่หุ้นกลุ่มผู้ผลิตรถยนต์ปิด +1.9% จากการที่ผู้นำสหรัฐฯแสดงความคาดหวังที่จะลงนามในข้อตกลงการค้ากับจีนได้ก่อนกำหนด ขณะที่ทางยุโรปอียูพิจารณาขยายเวลา Brexit ออกไป ประกอบกับตลาดให้ความสำคัญกับรายงานผลประกอบการต่างๆ ทางด้านหุ้นกลุ่มธนาคารยุโรปปิดแดนลบ หลังผลประกอบการของ HSBC ออกมาน่าผิดหวัง
· ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากเหล่านักลงทุนที่ให้ความสนใจไปยังประเด็นการเจรจาทางการค้าระหว่าสหรัฐฯและจีน หลังจากกระทรวงพาณิชย์จีนออกแถลงการณ์เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมาว่า จีนและสหรัฐใกล้จะบรรลุข้อตกลงบางส่วน
โดยดัชนี Nikkei เพิ่มขึ้น 0.42% ขณะที่ดัชนี Topix เพิ่มขึ้น 0.65% ด้านดัชนี Kospi ของเกาหลีใต้เพิ่มขึ้นเช่นเดียว 0.31% ด้านดัชนี S&P/ASX 200 ออสเตรเลียเพิ่มขึ้น 0.2% ท่ามกลางตลาดหุ้นภูมิภาคที่เคลื่อนไหวผสมผสานกัน
· อ้างอิงจากสำนักข่าวอินโฟเควสท์
นักบริหารการเงินประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทไว้ที่ระหว่าง 30.13-30.26 บาท/ดอลลาร์ โดยค่าเงินบาททรงตัวแกว่งในกรอบแคบๆ ตามแรงซื้อขาย แต่ยังไร้ปัจจัยใหม่เข้ามา สำหรับกรณี Brexit ล่าสุดมีความชัดเจนมากขึ้นที่จะเลื่อนกำหนดออกไปจาก ต.ค.62 เป็นเดือน ม.ค.63 ขณะที่เศรษฐกิจไทยในปี 63 คาดว่าเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวเร่งขึ้นจากปีก่อนหน้า มาอยู่ที่ 3.3% (ช่วงคาดการณ์ อย่างไรก็ตาม กรมฯ ได้เตรียมมาตรการรองรับและเพิ่มกิจกรรมหาตลาดทดแทน พร้อมทั้งได้หารือกับภาคเอกชนเพื่อกำหนด) ทั้งนี้ ตลาดจับตามองเป็นการประชุมเฟด ในวันที่ 29-30 ต.ค.นี้ โดยตลาดคาดการณ์ว่าเฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีก 0.25%
- ผู้อำนวยการ สำนักงานเศรษฐกิจการคลังของไทย (สศค.) ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า สศค. ได้ปรับลดคาดการณ์ GDP ในปี 62 ลงเหลือ 2.8% โดยมีช่วงคาดการณ์อยู่ที่ 2.6-3.0% ชะลอตัวลงจากคาดการณ์เดิมที่ 3.0% โดยมีสาเหตุมาจากปัจจัยนอกประเทศเป็นสำคัญ จากการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า ที่คาดว่าจะขยายตัวลดลงมาอยู่ที่ 3.3% จากคาดการณ์เดิมที่ 3.5% โดยเฉพาะจีน สหรัฐฯ ญี่ปุ่น มาเลเซีย และเวียดนาม และปริมาณการค้าโลก ซึ่งได้รับผลกระทบจากปัญหาสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน ส่งผลกระทบต่อภาพรวมการส่งออกของไทยในปีนี้ให้ขยายตัว -2.5% โดยมีช่วงคาดการณ์อยู่ที่ -2.7ถึง -2.3% จากคาดการณ์เดิมที่ -0.9% ที่ 2.8 - 3.8%) โดยได้รับแรงสนับสนุนจากการใช้จ่ายภาคเอกชนและการใช้จ่ายภาครัฐ ทั้งจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 63 จำนวน 3.2 ล้านล้านบาท ที่คาดว่าจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ในช่วงต้นปีหน้า และการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนาดใหญ่ของรัฐวิสาหกิจ ทั้งนี้ การลงทุนภาครัฐที่เพิ่มขึ้นยังจะช่วยสร้างความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจ และช่วยกระตุ้นการลงทุนภาคเอกชนในประเทศได้มากขึ้น
- ผู้อำนวยการ สศค. เปิดเผยรายงานภาวะเศรษฐกิจการคลังประจำเดือนกันยายน 2562 และไตรมาสที่ 3 ปี 2562 พบว่า เศรษฐกิจไทยมีสัญญาณการชะลอตัวจากการส่งออกสินค้า โดยมีสาเหตุมาจากความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก อย่างไรก็ดี ในด้านการผลิตพบว่าเศรษฐกิจไทยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากภาคการท่องเที่ยวจากต่างประเทศที่ขยายตัวสูงสุดในรอบ 15 เดือน และภาคการเกษตรที่ยังคงขยายตัวได้ต่อเนื่อง ส่วนเสถียรภาพเศรษฐกิจยังอยู่ในเกณฑ์ดี
- ผู้ตรวจราชการกระทรวงพาณิชย์ของไทย รักษาราชการแทนอธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กล่าวว่า กรณีที่สหรัฐฯประกาศตัดสิทธิประโยชน์ทางภาษีศุลกากรทางการค้า (GSP) ที่เคยให้กับสินค้าไทยบางรายการเมื่อวันที่ 25 ต.ค.ที่ผ่านมานั้น มาตรการดังกล่าวไม่น่าจะกระทบต่อเป้าส่งออกสินค้าไทยไปยังสหรัฐฯ ในปี 2562 ที่วางไว้ว่าจะขยายตัว 4% เนื่องจากสินค้าส่วนใหญ่มีคำสั่งซื้อไว้ล่วงหน้าและทยอยส่งมอบไปแล้ว ขณะที่ยอดส่งออก 9 เดือนแรกของปีนี้คิดเป็น 73-75% ของทั้งปี อย่างไรก็ตาม คาดว่าช่วงนี้ผู้นำเข้าจะเร่งซื้อสินค้าก่อนมาตรการจะมีผลบังคับใช้ตลาดและกิจกรรมด้วยแล้ว
- ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจธุรกิจและเศรษฐกิจฐานราก ธนาคารออมสิน เผย"ผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นเศรษฐกิจฐานราก (GSI) ประจำไตรมาส 3 ปี 62 พบว่า ดัชนี GSI ไตรมาส 3 ปี 62 อยู่ที่ระดับ 44.9 ปรับเพิ่มขึ้นจากไตรมาส 2 ปี 62 ที่อยู่ระดับ 42.4 เนื่องจากประชาชนฐานรากมีการปรับตัวให้สอดรับกับภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน โดยระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้นและมีปัจจัยบวกจากผลผลิตและราคาสินค้าเกษตรที่ปรับตัวสูงขึ้นประกอบกับค่าจ้างแรงงานเฉลี่ยทั้งในภาคเกษตรกรรมและนอกภาคเกษตรกรรมเพิ่มสูงขึ้นเล็กน้อย
- นายชวลิต ทิพพาวนิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ (GPSC) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทได้มีมติให้ดำเนินการจัดทำหนังสือเพื่อขออนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เพื่อดำเนินการขอเป็นผู้ทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ที่เหลือทั้งหมด (Tender Offer) ของ บมจ.โกลว์ พลังงาน (GLOW) จำนวน 69,530,219 หุ้น คิดเป็น 4.75% ในราคาหุ้นละ 90.8136 บาท เพื่อนำไปสู่ แผนการเพิกถอนหลักทรัพย์ GLOW ออกจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนใน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประ เทศไทย คาดว่าจะสามารถดำเนินการในช่วงปลายปี 62 นี้